พริกเป็นพืชที่นิยมทานในประเทศไทยมาก เนื่องจากพริกมีรสเผ็ด และการปลูกไม่ยาก เนื่องจากเหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทย 📌อ่านเพิ่ม วิธีการปลูกพริกให้ดก , ชนิดของพริกต่างๆที่ควรปลูก
สารอาหารในพริกมีอะไรบ้าง?
พริกกินต้านโรคได้ เพราะพริกมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย เช่น
- อุดมได้ด้วยวิตามินเอ พริกมีสารสีอยู่หลายชนิด จึงมีสีสันสดใส ทั้งสีแดง เหลือง เขียว สารสีในพริกส่วนใหญ่คือ “เบต้าแคโรทีน”
เมื่อทานพริกเข้าไป เบต้าแคโรทีนจะถูกส่งไปที่ตับ เพื่อเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยบำรุงสายตา และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง และช่วยชะลอความแก่
- วิตามินซีสูง
วิตามินซีมีมากในพริกหวาน ซึ่งเป็นพริกที่มีวิตามินซีมากที่สุด เมื่อเทียบกับส้มที่มีน้ำหนักเท่ากันแล้ว พริกหวานมีวิตามินซีมากกว่า 3-4 เท่า
การกินวิตามินซีในปริมาณพอเหมาะ จะช่วยให้ผนังหลอดเลือดยืดหยุ่นและแข็งแรง การกินผักและผลไม้ที่มีวิตามินสูงๆ อย่างพริก จึงช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันได้
ประโยชน์ของพริกที่ดีต่อสุขภาพ
บำรุงสายตา
พริกมีสารเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตา ทำให้การมองเห็นดี และชัดเจน
บรรเทาอาการไข้หวัด
สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกช่วยลดน้ำมูก ที่มีเหตุมาจากเนื่องมาจากไข้หวัด ไซนัส หรือภูมิแพ้ต่างๆ
กระตุ้นให้อยากอาหาร
สารแคปไซซินช่วยกระตุ้นเนื้อเยื่อในจมูกและปุ่มรับรสในปากของเราให้เกิดความอยากอาหาร
ลดคลอเรสเตอรอล
สารแคปไซซินช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างคลอเรสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี ทำให้ LDL ต่ำ และขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการสร้างคลอเรสเตอรอลชนิดดี HDL
ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
วิตามินซีสูงในพริกช่วยป้องการเกิดมะเร็ง พร้อมทั้งสารเบต้าแคโรทีนในพริกช่วยลดอัตราการเสี่ยงของโรคมะเร็งในปอดและในช่องปาก
ช่วยบรรเทาอาการผื่นคัน
สารแคปไซซินในพริกถูกนำไปเป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้ง ใช้บรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคัน หรือผื่นแดงที่ผิวหนัง เส้นเอ็น หรือข้อต่อ
ช่วยทำให้อารมณ์ดี
สารแคปไซซินมีการส่งสัญญารไปยังต่อมใต้สมองที่สร้างสารเอ็นดอร์ฟิน ทำให้ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด และยังทำให้อารมณ์ดีอีกด้วย
ช่วยลดอาการไมเกรน
แคปไซซินจากพริกยังมีศักยภาพในการรักษาอาการปวดหัวและไมเกรน
ทำให้เส้นผมและผิวหนังสุขภาพดี
วิตามินซีในพริก ช่วยสร้างและรักษาคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญที่พบในเส้นผมและผิวหนังที่แข็งแรง
ทำไมพริกถึงเผ็ด?
พริกมีรสเผ็ดเพราะมีสารที่ชื่อว่า สารแคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งอยู่ในผลพริก ซึ่งอยู่ในบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว หรือเรียกว่ารก ในปริมาณมาก ส่วนในบริเวณเนื้อเปลือกหรือเมล็ดพริกจะมีสารแคปไซซิน เป็นสารที่ให้ความเผ็ดในพริก มีหน่วยเป็นสโควิลล์ (Scoville) โดยพริกที่มีความเผ็ดร้อยละ 1 จัดเป็นพริกที่มีความเผ็ดมากที่ 100% หรือมีค่าเท่ากับ 175000 สโควิลล์ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ชนิด คือ
- พริกเผ็กมาก เป็นพริกที่มีความเผ็ดในช่วง 70000-175000 สโควิลล์ พบได้ในพริกขนาดเล็ก มักนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เช่นพันธุ์ ตาบาสโก
- พริกที่มีความเผ็ดปานกลาง เป็นพริกที่มีความเผ็ดในช่วง 35000 – 70000 สโควิลล์ พริกชนิดนี้มักประกอบอาหาร เช่นพริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหัวเรือ พริกสีทน พริกช่อ
- พริกเผ็ดน้อย หรือไม่เผ็ด เป็นพริกที่มีความเผ็ดในช่วง 0-35000 สโควิลล์ มักเป็นพริกที่มีขนาดใหญ่ เนื้อหนา ผลมีลักษณะกลม สั้น มักนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เช่น พริกหยวก พริกหวาน เป็นต้น
เรียงลำดับความเผ็ดจากรายการพริกข้างบนระดับความเผ็ดจากมากไปน้อยดังนี้
- พริกขี้หนู (Thai Pepper) มีระดับความเผ็ดอยู่ที่ 100,000-350,000 SHU*
- พริกชี้ฟ้า (Cayenne) มีระดับความเผ็ดระดับปานกลาง 30,000- 50,000 SHU*
- พริกหยวก หรือ พริกหวาน (Bell pepper หรือ Italian Sweet) ไม่มีความเผ็ด = 0 SHU*
หมายเหตุ: *หน่วยวัดระดับความเผ็ดร้อนของพริก เรียกว่า Scoville heat unit หรือ SHU
🛒เมล็ดพันธุ์คลิก▶️
สารแคปซินคืออะไรและ มีประโยชน์อย่างไร
สารแคปไซซิน ซึ่งเป็นสารไม่มีสี ไม่มีกลิ่น พบมากในรกพริก
แคปไซซินคือต้นกำเนิดของความเผ็ด เมื่อเรากินพริกและสัมผัสพริก แคปไซซินจะออกฤทธิ์คล้ายการเผาไหม้ ทำให้เนื้อเยื่อที่สัมผัสพริก เช่นภายในช่องปากแสบและระคายเคืองเหมือนถูกเผา สมองจะตอบสนองต่อความเผ็ดด้วยการสั่งให้ร่างกายสร้างเมือกเคลือบผิวบริเวณนั้น เช่นน้ำลาย น้ำมูก น้ำตา เพื่อลดการระคายเคือง จึงเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมเวลาทานอาหารเผ็ด จึงมีน้ำมูกน้ำตาไหลออกมา
สารแคปไซซินมีประโยชน์ดังนี้
สารแคปไซซินนับเป็นสาระสำคัญในผลพริกที่น่าสนใจมาก จากงานวิจัยพบว่าแคปไซซินมีสรรพคุณต่างๆ เช่น
- บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก
- ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้น
- สมานแผลในกระเพาะอาหาร
- ลดคอเลสเตอรอล
นอกจากนี้แล้ว พริกยังมีประโยชน์โดยสารสกัดจากพริกไล่แมลงหรือนำใบมาถูบริเวณที่ถูกมดคันไฟกัด ก็ช่วยให้หายคันได้
ทำไมเผ็ดแต่มีความสุข?
นอกจากแคปไซซินจะกระตุ้นให้น้ำมูกน้ำตาไหลแล้วยังกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขที่เรียกว่า เอนดอร์ฟิน (endorphin) ออกมา เพื่อผ่อนคลายความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากพริก นี่จึงเป็นเหตุผลที่บางคนชอบกินอาหารเผ็ด เพราะแม้จะเจ็บปวด แต่มีความสุข
ชนิดพริกที่เป็นแชมป์แห่งความเผ็ด คือ พริกบุตโจโลเกีย (Bhut Jolokia) จากประเทศอินเดีย พริกชนิดนี่มีชื่อไทยว่า พริกพิโรธ มีความเผ็ดมากถึง 1,001,304 สโกวิลล์ ซึ่งเผ็ดกว่าพริกขี้หนูของประเทศไทยประมาณ 10 เท่า
ควรทานเผ็ดระดับไหนถึงดีต่อสุขภาพ?
พริกช่วยทำให้เราเจริญอาหาร แต่ก็ควรมีปริมาณในการทานที่เหมาะสม คือรับประทานพริกอย่างน้อย 20 กรัม โดยเริ่มรับประทานแต่น้อยก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณ ทั้งนี้เพื่อให้ระบบทางเดินอาหารสามารถปรับตัวรับความเผ็ดร้อนได้ดังนั้นการรับประทานอาหารรสเผ็ด ควรคำนึงว่าพริกแต่ละชนิดมีระดับความเผ็ดไม่เท่ากัน รวมทั้งร่างกายของแต่ละคน มีความทนต่อความเผ็ดที่ต่างกัน ควรรับประทานแต่พอเหมาะเพื่อสุขภาพของคุณ
วิธีการแก้ความเผ็ด
นม,ไอศรีม, โยเกิร์ต และ ชีส
เครื่องดื่มแก้เผ็ดที่ดีที่สุด คือ นม เพราะนมมีโปรตีนที่ชื่อว่า เคซีน (casein) ซึ่งละลายแคปไซซินได้ การดื่มนมจึงช่วยชะล้างแคปไซซินออกไปได้ แต่ถ้าไม่มีนมก็กินอาหารที่มีส่วนผสมของนมแทน เช่น ไอศรีม โยเกิร์ต หรือชีส
ส่วนใครที่แสบมือเพราะพริก ให้แช่มือในน้ำนมสัก 1 ชั่วโมง จะช่วยให้หายแสบได้
น้ำตา
ถ้าพริกกระเด้นเข้าตา หรือเผลอใช้มือจับพริกมาขยี้ตา วิธีแก้ที่ดีที่สุดคือร้องไห้ เพราะน้ำตาจะชะล้างแคปไซซินออกจากตาได้ดีและปลอดภัยที่สุด
ข้อควรระวัง อย่าถูหรือขัดมือที่แสบแรงๆ เพราะจะทำให้ผิวหนังอักเสบและผลักแคปไซซินให้ซึมลงในผิวหนังมากขึ้น
เกลือ
ช่วยดูดซํบแคปไซซินได้ ถ้าลองเอาเกลือป่นมาถูกมือ หรือแช่มือในน้ำเกลืออาการแสบร้อนก็จะลดลง
น้ำมันพืช
สารแคปไซซิน จะละลายได้ดีในไขมัน ดังนั้น ถ้ากินอาหารเผ็ดแล้วหานมมาดื่มไม่ได้ ให้บ้วนปากด้วยน้ำมันพืช หรือถ้าแสบมือ ให้เอาน้ำมันพืชทามือแล้วทิ้งไว้สักพัก ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้
น้ำเปล่า
คนส่วนใหญ่มักจะดื่มน้ำเปล่าเพื่อดับความเผ็ดของอาหาร แต่รู้ไหม การดื่มน้ำเปล่านอกจากจะไม่ช่วยให้หายเผ็ดแล้ว อาจทำให้เผ็ดกว่าเดิม เพราะแคปไซซินไม่ละลายน้ำ แต่จะถูกน้ำชะกระจายไปทั่ว จึงเท่ากับว่าทำให้ความเผ็ดแพร่ไปทั่วปาก
เมนูน้ำพริก 4 ภาค
น้ำพริกหนุ่มจากภาคเหนือ
วิธีทำ
นำหอมแดง กระเทียม และพริกหนุ่ม ไปย่างบนเตาถ่านจนสุก พักไว้ให้เย็นแล้วปอกเปลือก นำทั้งหมดไปโขลกพอแหลก ปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อย กินกับแคบหมูกรอบๆ
น้ำพริกกะปิจากภาคกลาง
วิธีทำ
โขลกกระเทียม พริกขี้หนู และกะปิให้ละเอียด ใส่กุ้งแห้งลงไปตำพอแหลก ใส่มะเขือพวงลงไปโขลกเบาๆให้เข้ากัน ปรุงด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา และน้ำตาลปี๊บตามใจชอบ ตักใส่ถ้วย กินกับปลาทูทอดผักต้ม และผักสด
น้ำพริกปลาร้าจากภาคอีสาน
วิธีทำ
ย่างปลาช่อน หอมแดง และกระเทียมจนสุก แกะเนื้อปลาออกมาพักไว้ คั่วพริกชี้ฟ้าในกระทะจนพริกแห้ง จากนั้นนำทุกอย่างมาโชลกรวมกัน เติมน้ำปลาร้าต้มสุก เนื้อปลาร้าและน้ำมะนาวตามใจชอบ เมนูนี้กินกับช้าวเหนียว ผักสด หรือผักต้ม
น้ำพริกกุ้งเสียบภาคใต้
วิธีทำ
นำกุ้งมาเสียบไม้แล้วย่างไฟให้กรอบ พักไว้ โขลกพริกขี้หนู กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ และกะปิให้ละเอียด จากนั้นนำไปผัดด้วยไฟอ่อน ๆ จนมีกลิ่น ใส่กุ้งที่เตรียมไว้ลงไปผัดให้เข้ากัน กินกับข้าวสวยร้อน
สินค้าที่น่าสนใจ
ต้นโรสแมรี่เลื้อย
ต้นหญ้าหวาน|
69฿Original price was: 69฿.59฿Current price is: 59฿.ต้นเปปเปอร์มินต์ (Peppermint)
ต้นกะเพราแดง
ต้นพริกขี้หนู
ต้นสะระแหน่
ต้นวอเตอร์เครสเขียว
ต้นผักชีฝรั่ง
ต้นจิงจูฉ่าย
ต้นกระชายขาว
ต้นวอเตอร์เครสแดง
เมล็ดพันธุ์กะเพราแดง
เมล็ดพันธุ์โหระพา
เมล็ดผักสลัดบิ๊กเรดโอ๊ค
เมล็ดพันธุ์กะเพราป่า
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกท้อ
เมล็ดพันธุ์คะน้ายอด
เมล็ดพันธุ์แมงลัก เจียไต๋
เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ
เมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม
เมล็ดพันธุ์บวบงูสเน็กกี้
เมล็ดพันธุ์ผักกะหล่ำปลี
ไตรซาน ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม
สารชีวภัณฑ์เมทาซาน เมทาไรเซียม แอนิโซเพลีย
ชีวภัณฑ์บูเวริน บูเวเรีย บัสเซียน่า
น้ำส้มควันไม้ ทีพีไอ สูตรพรีเมียมโกลด์ ไร้กลิ่น
ไลซินัส พาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส
ไลท์นิ่งค์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส
ลาร์มิน่า บาซิลลัส ซับทิลิส
พีสมอส เอสทีมซุปเปอร์พีท (ตรานกเงือก)
บทความที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️
จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น
ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน
มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ดอกเดซี่ ดอกมากาเร็ต และดอกคัตเตอร์(แอสเตอร์)ต่างกันอย่างไร
ดอกไม้ยอดนิยม ข...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ทำไมผักแพงในฤดูฝน?
ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู
ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ออริกาโนเครื่องเทศปลูกง่าย
ออริกาโน มีต้นก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
3 ชนิดผักบุ้งที่นิยมทานในไทย
ชนิดผักบุ้งแต่ล...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️