เคล็บลับปลูกมะเขือยาวใหญ่ไร้โรค

เคล็ดลับปลูกมะเขือยาว เฟสบุ๊ค

ถิ่นกำเนิดของมะเขือยาว

ชื่อสามัญ : Long Eggplant

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum melongena var. serpentinum Linn.

ชื่ออื่น

  • ภาคเหนือเรียกว่า มะเขือหม้า มะแขวงคม มะแขวง มะเขือป้าว
  • ภาคกลางเรียกว่า มะเขือขาว
  • กรุงเทพฯ เรียกว่า มะเขือฝรั่ง
  • กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียกว่า สะกอวา ยังมูไล่

ถิ่นกำเนิด : แถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ประเทศอินเดียและพม่า 

มะเขือยาวเป็นพืชในวงศ์ SOLANACEAE หรือวงศ์มะเขือ เช่นเดียวกับ

👇คลิกอ่านเพิ่ม

✔️มะเขือเปราะ

✔️มะเขือพวง 

✔️มะเขือเทศ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ชนิดของมะเขือยาวที่นิยมทาน

แบ่งตามลักษณะของทรงผล และสี มีดังนี้

+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

มะเขือยาวเขียว,ม่วง, และ ขาวต่างกันอย่างไร?

ตารางแสดงการเปรียบเทียบ 

*หมายเหตุ: ทั้งนี้ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลทั่วไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยพิจารณาจากสายพันธุ์ที่ต่างกัน

ปลูกมะเขือยาวควรปลูกฤดูไหน?

วิธีการปลูก และดูแลมะเขือยาวให้ออกลูกดก2

  • มะเขือยาวปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมะเขือยาวที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี
  • เนื่องจากมะเขือยาวเป็นพืชผักยืนต้นที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน มีรากแก้วหยั่งลึกและมีรากฝอยกระจายตามผิวดิน การเตรียมดินปลูกจึงควรใช้ไถดินให้ลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร
  • ตากดินไว้ประมาณ 10-15 วันเพื่อฆ่าเชื้อโรคแมลงและวัชพืช หลังจากนั้นให้ทำการไถพรวนแล้วยกแปลงปลูกขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร ยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร ซึ่งทางเดินนี้อาจจะเปลี่ยนเป็นร่องน้ำก็ได้
  • หลังจากเตรียมแปลงปลูกเสร็จแล้วให้ขุดหลุมปลูก โดยใช้ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 80 เซนติเมตร ปลูกแปลงละ 2 แถว รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหลุมละ 1 กำมือ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนชา คลุกเคล้าดินและปุ๋ยให้เข้ากันดี รดน้ำเฉพาะที่หลุมปลูกให้ชุ่มแล้ว นำต้นกล้ามาปลูกลงในหลุม
  • การปลูก เมื่อต้นกล้ามะเขือยาวอายุได้ประมาณ 30-35 วันให้ ย้ายลงปลูกในแปลงที่ได้เตรียมไว้แล้ว ก่อนย้ายกล้าไปปลูกควรเตรียมต้นกล้าให้แข็งแรงด้วยการงดให้น้ำก่อนย้ายกล้าประมาณ 2-3 วัน
  • เมื่อถึงวันย้ายกล้าควรรดน้ำบนแปลงเพาะกล้าให้ชุ่มเพื่อให้เวลาถอนรากของต้นกล้าจะ ไม่กระทบกระเทือนมากนัก ในวันที่มีอากาศมืดครึ่ม ความระมัดระวัง เวลาย้ายปลูกที่เหมาะสมคือเวลาบ่ายถึงเย็น การย้ายกล้าควรขุดให้ดินติดรากมากๆ หลังจากปลูกเสร็จควรรดน้ำตามทันทีและควรใช้วัสดุบังแดดในระยะแรกสัก 2-3 วัน เพื่อให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น หลังปลูกหากมีต้นตายควรรีบซ่อมทันที เพื่อช่วยให้ต้นมะเขือยาวมีการเจริญเติบโตที่ใกล้เคียงกัน
  • ก่อนเพาะกล้าควรนำเมล็ดมะเขือยาวมาแช่น้ำ 1 คืน แล้วนำไปห่อผ้าขาวบางเก็บไว้ ในที่ร่มและชิ้นอีก 1-2 คืน เมื่อรากเริ่มงอกให้นำเมล็ดมาเพาะลงแปลงต่อไป
  • วิธีการเพาะกล้า โดยใช้ไม้ขีดหลังแปลงเพาะให้เป็นร่องลึก 1-1.5 เซนติเมตร ให้แต่ละร่องหรือแถวห่างกัน 15 เซนติเมตร โรยเมล็ดพันธุ์มะเขือ ยาวให้เป็นแถวแบบเรียงเมล็ด อย่าให้เมล็ดซ้อนกันมากเพราะต้นกล้าจะถี่ เกินไป ทำให้กล้าเน่าได้ง่าย จากนั้นจึงนำขี้เถ้าแกลบหรือปุ๋ยคอกมากลบ คลุม แปลงเพาะด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม ดูแลรักษาและรดน้ำให้ ความขึ้นอยู่เสมอไปจนกระทั่งต้นกล้ามะเขือยาวอายุได้ 30-35 วัน จึงย้ายไป ปลูกในแปลงปลูกต่อไป
  • ในช่วงแรกหลังจากปลูกควรใด้มีการให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรให้น้ำมากเกินไปจนเปียกแฉะเพราะจะทำให้มะเขือยาวเน่าเสียหายได้
  • ในระยะเริ่มออกดอกและติดผลมะเขือยาวจะต้องการน้ำมาก ถ้าขาดน้ำในช่วงนี้ดอกจะร่วงและไม่ติดผล หรือติดผลแต่ไม่สมบูรณ์ ผลมีขนาดเล็ก สีไม่สด ผลผลิตลดลง เพราะฉะนั้นจึงควรรดน้ำให้ความชื้นแก่มะเขือยาวอยู่เสมอตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว
  • ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก มะเขือยาวชอบแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ดังนั้น การปลูกมะเขือยาวในที่กลางแจ้งจะได้ผลดีกว่าการปลูกในร่มเงา แต่อย่างไร ก็ตามในประเทศไทยสามารถปลูกมะเขือยาวได้ตลอดทั้งปี
  • ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยไส้เดือน

การใช้ปุ๋ยขี้วัวและปุ๋ยไส้เดือนบำรุงต้นมะเขือยาวเพื่อบำรุงต้น ควรใส่ในอัตราดังนี้

  • ปุ๋ยขี้วัว ใส่ในอัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น โรยรอบโคนต้นให้ห่างจากลำต้นประมาณ 5-10 เซนติเมตร ทุก 15-20 วัน
  • ปุ๋ยไส้เดือน ใส่ในอัตรา 1-2 ช้อนโต๊ะต่อต้น โรยรอบโคนต้นให้ห่างจากลำต้นประมาณ 5-10 เซนติเมตร ทุก 15-20 วัน

ปุ๋ยขี้วัวและปุ๋ยไส้เดือนเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช มีคุณสมบัติในการปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี ช่วยให้รากพืชสามารถชอนไชและแพร่กระจายได้กว้าง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ใบเขียวเข้ม และติดผลดก

  • กรณีใส่ปุ๋ยเคมี: ขณะเตรียมหลุมปลูกให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหลุมละ 1 กำมือ และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนชารองก้นหลุมก่อนปลูก เมื่อต้นมะเขือยาวอายุได้ 15 วันให้ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ โดยหว่านหรือโรยรอบๆโคนต้นแล้วพรวนดินกลบ และใส่ปุ๋ยครั้งที่สามโดยไม่ ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ โดยหว่านหรือโรยรอบๆโคนต้นแล้วพรวนดินกลบ หลังจากใส่ปุ๋ยจะต้องรดน้ำตามทุกครั้ง เพื่อให้ต้นมะเขือยาวได้ดูดธาตุอาหารจากปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้นและลดการสูญเสียของปุ๋ย
  • ในระยะที่ต้นมะเขือยาวยังเล็กอยู่ควรทําการพรวนดินพูนโคนต้น เพื่อให้ดินร่วนโปร่ง ระยาบน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี  การพูนโคนจะทำให้ต้นมะเขือไม่ล้มง่าย และให้กำจัดวัชพืชด้วย อย่าปล่อยให้วัชพืชเจริญเติบโตจนแย่งน้ำและอาหารจากต้นมะเขือยาวได้ แต่เมื่อมะเขือยาวเจริญเติบโตจนคลุมแปลงแล้วไม่ควรทำการพรวนดินอีก เพราะจะไปกระทบกระเทือนต่อรากได้ง่าย
  • ในช่วงฤดูแล้งควรนำฟางข้าวหรือหญ้าแห้งมาคลุม โคนต้นหรือคลุมแปลงไว้ เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน คลุมวัชพืชในแปลง และยังช่วยรองผลมะเขือยาวไม่ให้เปื้อนดิน ผลไม่สกปรก และไม่ถูกเชื้อโรคเข้าทำลาย
  • ในระยะแรกของการเจริญเติบโตควรมีการตัดแต่งกิ่ง แขนงโดยเฉพาะกิ่งโคนต้นออกบ้าง เหลือไว้เฉพาะกิ่งกระโดง เพื่อให้ต้นมะเขือยาวเจริญเติบโตแข็งแรงและได้รูปทรงที่ดี เมื่อออกดอกติดผลจะได้กระจายไปทั่วต้น และเมื่อต้นมะเขือยาวเจริญเติบโตมากแล้วควรตัดแต่งใบที่อยู่ด้านล่างออกเสียบ้าง
  • หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือยาวไปได้ระยะหนึ่ง ต้นอาจจะสูงเกินไปหรือสังเกตเห็นว่าผลผลิตลดลง ขนาดผลเริ่มไม่ได้มาตรฐาน ถ้าสามารถทำได้ควรตัดแต่งต้นมะเขือลงเหลือความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ตัดแต่งใบออกให้หมด ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ พรวนดินและ ให้น้ำสม่ำเสมอ ต้นมะเขือยาวก็จะแตกยอดขึ้นมาใหม่และสามารถเก็บเกี่ยว ผลผลิตได้อีกโดยไม่ต้องปลูกใหม่
  • อายุการเก็บเกี่ยวของมะเขือยาวจะแตกต่างกันใน แต่ละพันธุ์คือประมาณ 60-80 วันหลังย้ายปลูกลงแปลง
  • ควรเลือกเก็บในขณะที่ผลไม่อ่อนหรือแก่เกินไป เพราะถ้าผลอ่อนเกินไปจะได้น้ำหนักน้อย และเก็บไว้ได้ไม่นาน ถ้าผลค่อนข้างแก่จะมีคุณภาพต่ำ ถ้าหากมีการดูแลรักษาต้นมะเขือยาวดีจะสามารถทยอยเก็บเกี่ยวผลได้ นาน 6-8 เดือน

โรคและแมลงศัตรูของมะเขือยาว

โรครากและโคนเน่า

  • สาเหตุเกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการ โคนต้นและ รากจะเน่าเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ในดินบริเวณโคนต้นจะมีเส้นใยราสีขาว บางส่วนจะเจริญไปเกาะตามโคนต้นและราก จะสังเกตเห็นเม็ดราสีขาว น้ำตาลอ่อน และน้ำตาลแก่ขนาดเท่าเมล็ดผักกาดเกิดปะปนกับเส้นใยรา ต้นมะเขือจะแสดง อาการใบเหลืองและเหี่ยวตาย

▶️การป้องกันกำจัด ไม่ควรปลูกมะเขือซ้ำที่เดิม ขุดต้นมะเขือที่เป็นโรคและดินบริเวณที่เป็นโรคไปเผาทำลาย

โรคใบไหม้

  • สาเหตุเกิดจากเชื้อรา ระบาดในช่วงที่ฝนตกติดกันหลายวันหรือในช่วงที่มีหมอกลงจัด หากมะเขือเกิดโรคนี้จะทำให้ส่วนของใบอ่อน ดอก และผล เน่าเป็นสีน้ำตาลไหม้

▶️การป้องกันกำจัด ถ้าพบไม่มากควรตัดกิ่งที่เป็นโรคไปเผาทำลาย

โรคผลเน่า

  • สาเหตุเกิดจากการขาดธาตุแคลเซียมและการให้น้ำไม่สม่ำเสมอ ผลจะเกิดอาการเน่าที่ปลายผล เน่าแบบแห้งหรือเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อจะนุ่มลึกลงไปต่ำกว่าระดับผิวผลเล็กน้อย ขนาดแผลจะขยายใหญ่ขึ้น เรื่อยๆ ในที่สุดผลจะเน่าและร่วงหล่น

▶️การป้องกันกำจัด

  • ป้องกันโดยใช้สารชีวภัณฑ์ เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือ เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส
  • ถ้ารุกรามมาก ป้องกันกำจัดแบบเคมี : โดยให้น้ำแก่มะเขือยาวในช่วงติดดอกออกผลอย่างสม่ำเสมอ ฉีดพ่นด้วยสารละลายแคลเซียมโดยใช้แคลเซียมไนเตรทหรือ แคลเซียมคลอไรด์ อัตรา 1-0.2 เปอร์เซ็นต์ ฉีดพ่น 7-14 วัน/ครั้ง และ ใช้น้ำปูนใสเจือจางฉีดพ่นประมาณ 7-14 วัน/ครั้ง ในช่วงตั้งแต่ติดดอกออกผล จนถึงเก็บเกี่ยว

🕷️เพลี้ยจักจั่นฝ้าย

  • เพลี้ยจักจั่นฝ้าย ตัวเต็มวัยมีรูปร่างยาวรี ขนาดเล็ก มีสีเขียวจาง ปีกโปร่งใส มีจุดสีดำอยู่กลางปีกข้างละจุด เคลื่อนไหวและบินได้รวดเร็วมาก เมื่อถูกรบกวน วางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ตามบริเวณเส้นใบหรือก้านใบ ตัวอ่อนที่ ฟักออกจากไข่มีสีเขียวอมเหลืองจาง เมื่อโตเต็มที่เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ทําลาย มะเขือโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบ ทำให้ใบไหม้และผลผลิตลดลง

▶️การป้องกันกำจัด

  • ป้องกันโดยใช้สารชีวภัณฑ์ เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือ เชื้อราเมตาไรเซียม
  • หากพบการระบาดให้ใช้สารเคมี เช่น เทลสตาร์, แอนดาลิน, คาราเต้, คัตเตอร์, ฟาร์ซอน เป็นต้น ฉีดพ่นทุก 5-7 วันติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
  • หมายเหตุ: ไม่ควรปลูกมะเขือยาวใกล้กับกระเจี๊ยบเขียวและ ฝ้าย

🐛หนอนเจาะผลมะเขือ

  • ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อ โดยผีเสื้อจะวางไข่ ตามยอดอ่อนหรือดอก ต่อมาเมื่อตัวหนอนออกจากไข่ก็จะกัดกินใบอ่อนและ ดอก เมื่อตัวหนอนมีขนาดใหญ่ขึ้นจะเจาะผลทำให้ผลเสียคุณภาพหรือเน่าเสีย จำหน่ายไม่ได้

▶️การป้องกันกำจัด

  • ป้องกันโดยฉีดพ่นผลด้วยน้ำสกัดเมล็ดสะเดา หรือ เชื้อแบคทีเรียบีที(บาซิลลัส ทูริงเยนซิส)
  • ป้องกันแบบเคมี: โพรไทโอฟอส (โตกุไธออน 50% EC). คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20% EC) ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน เมื่อพบยอดอ่อนถูก ทำลาย (เทียว) 3-5 เปอร์เซ็นต์ หรือผลอ่อนถูกทำลาย 5-10 เปอร์เซ็นต์ และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 7-10 วัน
  • หมายเหตุ: ไม่ควรปลูกมะเขือยาวใกล้กับฝ้าย ยาสูบ และ มะเขือเทศ

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว

คุณค่าของสารอาหารมะเขือยาว

คุณค่าทางอาหาร

  • มะเขือยาว 100 กรัม ให้พลังงาน 26 กิโลแคลอรี
  • ประกอบด้วย เส้นใย 2.30 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม แคลเซียม 15 มิลลิกรัม เหล็ก 0.40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามิน บี2 0.08 มิลลิกรัม วิตามินซี 4 มิลลิกรัม
Shop

บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️

9 สายพันธุ์มะเขือเปราะยอดนิยมที่ควรปลูก

รวมสายพันธุ์ยอด...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

วิธีการปลูกมะเขือเทศให้งาม

เรียนรู้วิธีปลู...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

10 สรรพคุณของมะเขือเทศ

สรรพคุณของมะเขื...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

มะเขือพวง ผักมหัศจรรย์ต้านโรคดี

มะเขือพวง ผักมา...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ปลูกพริกอย่างไรให้ได้ผลดก

มาเรียนรู้วิธีก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

4 ชนิดผักชีที่นิยมใช้ในครัวไทย

ผักชีเป็นสมุนไพ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน, นิดดา หงษ์วิวัฒน์, ทวีทอง หงส์วิวัฒน์, สุภาพรรณ เยี่ยมชัยภูมิ , สำนักพิมพ์แสงแดด, 2550, หน้า 197
  2. คู่มือการปลูกผัก, ชำนาญ เขียวอำไพ, สำนักพิมพ์เกษตรสยาม, 2557, หน้า 105-111
Anndagarden ฝากกด like เพจด้วยนะคะ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆจากเรา

สินค้าที่น่าสนใจ

+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

บทความที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️

จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น

ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน

มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ทำไมผักแพงในฤดูฝน?

ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู

ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ออริกาโนเครื่องเทศปลูกง่าย

ออริกาโน มีต้นก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

3 ชนิดผักบุ้งที่นิยมทานในไทย

ชนิดผักบุ้งแต่ล...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️