ผักชีลาวผักพื้นบ้านมากคุณค่า

ผักชีลาวผักมากคุณค่า

ลักษณะทั่วไปและถิ่นกำเนิดของผักชีลาว

  • ผักชีลาวมีหลายชื่อ ทางอีสานเรียกว่า ผักชี , ภาคเหนือ เรียกว่า ผักจี , ทั่วไปเรียกว่า ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เทียนตาตั๊กแตน และยังมีชื่ออื่นๆ เช่น เทียนข้าวเปลือก
  • ชื่ออังกฤษ : Dill
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Anethum graveolens
  • พืชในวงศ์  Apiaceae (Umbelliferae)  เช่น ผักชี ผักชีล้อม ยี่หร่า ขึ้นฉ่าย แครอท  ใบบัวบก พาสลีย์
  • ถิ่นกำเนิด แถบประเทศทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปเอเชีย และทางตอนใต้ของรัสเซีย

ลักษณะพฤกษศาสาตร์

ลำต้นของผักชีลาว

ผักชีลาวเป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับผักชี ลำต้นมีสีเขียวเข้มขนาดเล็ก

ใบของผักชีลาว

ใบ

เป็นประกอบแบบขนนกสีเขียวสดออกเรียงสลับกัน ใบย่อยเป็นเส้นริ้ว

ดอกของผักชีลาว

ดอก

มีขนาดเล็กสีเหลืองออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกมีลักษณะคล้ายซี่ร่ม

เมล็ดของผักชีลาว

ผลแก่

ผลแก่เป็นรูปสีน้ำตาลอมเหลือง

วิธีปลูกผักชีลาวด้วยเมล็ด

การเตรียมดิน

  • โดยการขุดแปลงพลิกหน้าดินตากทิ้งไว้ 1 สัปดาห์
  • ขนาดแปลง 1×4 เมตร ขุดลึกประมาณ 20 เซนติเมตร
  • ย่อยดินให้ร่วนซุยใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก หากมีเมล็ดสะเดาบดให้ใส่ลงไปด้วยเพื่อป้องกันแมลง ในอัตราส่วน 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน และรดน้ำให้ชุ่ม
การเตรียมดินปลูกผักชีลาว
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ผักชีลาว

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

  • นำเมล็ดไปบดให้ละเอียดแตกเป็นซีก
  • ลักษณะเมล็ดที่ดีจะนำมาใช้ปลูก ไม่ควรมีอายุเกิน 6 เดือน ไม่มีมอด เมล็ดหนัก เปลือกใส ข้างในสีขาว นำเมล็ดแช่น้ำประมาณ 2-3 ชม. ผึ่งลมให้แห้ง เคล้าด้วยทรายหรือขี้เถ้า เพื่อป้องกันการรบกวนของมด หรือซื้อเมล็ดพันธุ์ผักชีลาวสำเร็จรูป
  • หว่านเมล็ดลงในแปลงที่เตรียมไว้จากนั้นใช้หญ้าแห้งหรือฟางคลุมบางๆรดน้ำ ใช้ชุ่ม อย่าให้แฉะเกินไปเพียงไม่กี่วัน เมล็ดก็งอกเป็นต้น ผักชีลาวสามารถปลูกได้ทุกฤดู

การดูแล

  • ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอเพียงพอ อย่ามากเกินไปเพราะผักชีลาวไม่ชอบน้ำมาก
  • คอยดูแลใส่ปุ๋ยเพิ่มเติม เช่นปุ๋ยคอก ปุ๋ยมูลไส้เดือน เดือนละครั้ง
  • กำจัดวัชพืชใช้มือถอนออก อย่าปล่อยให้ลุกลามแย่งอาหาร
  • แมลงศัตรู ได้แก่ เพลี้ยชนิดต่างๆ ให้ฉีดพ่นโดยใช้น้ำหมักสะเดา ข่าแก่ และตะไคร้หอม อย่างละ 1 กิโลกรัม ตำละเอียด แช่น้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาหัวเชื้อ 1 ลิตร ผสมน้ำ 18 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน หรือใช้สมุนไพรสกัดเมล็ดสะเดาสำเร็จรูป หลังปลูกอายุ 40-50 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้โดยถอนทั้งต้นและรากดังนั้น จึงต้องรดน้ำให้ชุ่มก่อนเก็บเกี่ยว และควรเก็บเกี่ยวก่อนผักจะออกดอก
การดูแลผักชีลาว

โรคในผักชีลาว

  • โรค เช่น โรคใบเหลือง โรคเน่า ป้องกันด้วยการพ่นอาหารเสริม และการป้องกันกำจัดเชื้อเช่น แมนโคเซบ
  • แมลงศัตรูพืช เช่นเพลี้ย แต่ผักชีลาวไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องแมลงที่ทำลายมากนัก

การบริโภคผักชีลาว

ผักชีลาวเป็นผักเครื่องปรุงในอาหารหลายชนิด ใช้ใบยอดอ่อนแต่งกลิ่นปรุงอาหาร และยังนำผักชีลาวสดๆ จิ้มน้ำพริกก็อร่อยดี หรือจะรับประทานร่วมกับอาหารประเภทลาบ ก้อย พล่า และใช้ดับกลิ่นคาวดีมาก จึงนำมาใช้กับอาหารที่รสจัดและมีกลิ่นคาว รากนำมาโขลกในเครื่องแกง นำมาต้มเป็นเครื่องปรุงรส เมล็ดก็สามารถนำมาทำเป็นเครื่องเทศเครื่องปรุงได้ให้รสชาติดีเช่นกัน

คุณค่าทางอาหารของผักชีลาว

คุณค่าทางอาหารของผักชีลาว

คุณค่าทางอาหาร

  • ผักชีลาว 100 กรัม
  • ประกอบด้วย เส้นใย 4 กรัม , แคลเซียม 22 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 41 มิลลิกรัม, โพแทสเซียม 413 มิลลิกรัม, วิตามินเอ 402 IU
Shop ต้นกล้าผักชีลาว

สารสำคัญในผักชีลาว

ในผักชีฝรั่งมีสารสำคัญดังนี้

  • ฟลาโวนอยด์(Flavonoids) สารประกอบจากพืชเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้ยังอาจมีบทบาทสำคัญในสุขภาพสมอง
  • เทอร์พีนอยด์ (Terpenoids) สารประกอบเหล่านี้พบในน้ำมันหอมระเหยและอาจป้องกันโรคตับ หัวใจ ไต และสมองได้
  • แทนนิน (Tannins) แทนนินมีส่วนรับผิดชอบต่อความขมในอาหารจากพืชหลายชนิด แสดงให้เห็นว่ามีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพ เช่นเดียวกับฤทธิ์ต้านจุลชีพ
  • นอกจากนี้ ผักชีลาวยังเป็นแหล่งวิตามินซีที่ดี ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง

สรรพคุณของผักชีลาว

ป้องกันโรคหัวใจของผักชีลาว

ป้องกันโรคหัวใจ

สารฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันสุขภาพหัวใจ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระและคุณสมบัติต้านการอักเสบ

ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผักชีลาว

ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

ผักชีฝรั่งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

ช่วยต้านมะเร็งของผักชีลาว

ช่วยต้านมะเร็ง

น้ำมันหอมระเหยในผักชีลาว มีสารโมโนเทอร์พีนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง d-limonene จึงอาจมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง

ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรงของผักชีลาว

ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง

ผักชีลาวมีแคลเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสำคัญต่อสุขภาพกระดูก

เมนูอาหารผักชีลาว

  • ใบและยอดอ่อนลำต้นของผักชีลาว สามารถนำมาแต่งกลิ่นอาหารและเป็นส่วนประกอบของการทำเครื่องปรุง
  • นอกจากนี้ภาคเหนือยังนิยมนำมาลวกแล้วกินเป็นผักแนมกับน้ำพริก นำมายำหรือทำลาบหมู ลาบไก่ ผัดคั่ว แกงอ่อม ต้มยำ
  • ส่วนชาวอีสานนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของแกงต่างๆ เช่น แกงอ่อม (ใส่ปลาร้าและกะปิ) หรือทำเป็นห่อหมกปลา เป็นต้น

บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️

4 ชนิดผักชีที่นิยมใช้ในครัวไทย

ผักชีเป็นสมุนไพ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

เคล็ดลับการปลูกผักชีให้มีทานประจำ

ปลูกผักชีให้ได้...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ปลูกผักชีฝรั่งให้กินยาวสำหรับมือใหม่

เทคนิคการปลูกผั...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ใบแมงลักผักสมุนไพรมากสรรพคุณ

ใบแมงลัก ผักสมุ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

โหระพาสมุนไพรในครัว

โหระพา น้ำมันหอ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

Anndagarden ฝากกด like เพจด้วยนะคะ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆจากเรา

สินค้าที่น่าสนใจ

บทความที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️

ปลูกแวววิเชียรให้ออกดอกทั้งปี

การบำรุงแวววิเช...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

เทคนิคการปลูกแววมยุราอย่างมืออาชีพ

เคล็ดลับการปลูก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น

ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน

มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ทำไมผักแพงในฤดูฝน?

ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู

ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️