โหระพาสมุนไพรในครัว

โหระพาสมุนไพรในครัว

ความเป็นมาของโหระพา1

โหระพากับกะพราเป็นกลุ่มสายพันธุ์ของพืชในวงศ์มิ้นท์ ประกอบด้วยสปีชี่ส์ย่อย ประมาณ 35 สปีชี่ส์ แต่ละสปีชี่ส์มีรายละเอียดต่างๆแตกต่างกันไป

โหระพาเป็นพืชที่ปลูกอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นไทย มาเลเซีย และอินโดนิเซีย ต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี

  • โหระพา มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum basilicum อยู่ในวงศ์ Labiatoe
  • ชื่อภาษาอังกฤษ Sweet basil
  • ชื่ออื่น Common Basil , กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน เรียกว่า ห่อกวยซวย ห่อวอซุ ,ฉาน- แม่ฮ่องสอน เรียกว่า อิ่มคิมขาว , จีนแต้จิ๋ว เรียกว่า หล่อเล็ก , จีนกลางเรียกว่า หลัวเล่อ
  • ถิ่นกำเนิด ทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

โหระพาเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ตระกูลเดียวกับแมงลัก และกะเพรา

ลำต้นและก้าน

เป็นสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวแกมม่วง มีจนอ่อนปกคลุม ทรงพุ่งสูง 5-10 เซนติเมตร

ใบโหระพาไทย

ใบสีเขียว

รูปไข่หรือวงรี ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ปลายแหลมขอบเป็นฟันเลื่อยห่างๆยาวประมาณ 1-3 นิ้ว

ต้นโหระพาไทย

ต้นโหระพา

Shop now
ดอกโหระพาไทย

ดอก

ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งลักษณะเป็นชั้นคล้ายฉัตร ดอกสีขาว ม่วง หรือสีชมพูอ่อน

เมล็ดโหระพาไทย

ผล

มี 4 เมล็ด ลักษณะเมล็ดเป็นรูปกลมรียาวประมาณ 2 มม. มีเมล็ดเล็กเท่ากับเมล็ดงามีสีน้ำตาลเข้ม

โหระพาที่ปลูกในไทยมีกี่สายพันธุ์

โหระพาไทย (Thai Basil)

เป็นที่นิยมทานในไทยมาก ใบมีสีเขียว มีกลิ่นหอม โตเร็ว นิยมใส่ในอาหารประเภท ผัด ต้ม แกง

Shop ต้นกล้า Shop เมล็ดพันธุ์

โหระพาแดง

โหระพาแดง

Red Basil

โหระพาอิตาลี (Italian Basil)

มีลักษณะใบใหญ่กว่าโหระพาไทย มีรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาทำเพสโต้

การปลูกและการขยายพันธุ์โหระพา

โหระพาพืชผักสวนครัวชนิดนี้ปลูกไม่ยากเลย เป็นพืชล้มลุกมีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี ปลูกครั้งเดียวเก็บทานได้ยาว

มี 3 วิธี

1.การเพาะเมล็ด คัดเลือกเมล็ดโหระพาที่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถหาซื้อได้จากร้านขายเมล็ดพันธุ์ทั่วไป นำมาปลูกในกระถาง หรือแปลงปลูก โดยการพรวนดินกลบเบาๆจากนั้นรดน้ำทุกวันประมาณ 1-2 สัปดาห์ เมล็ดโหระพาจะแตกต้นอ่อนออกมา

2.ปลูกโดยใช้ต้นกล้า เป็นวิธีที่นิยมกันมากเพราะได้ผลผลิตสูง และสะดวกรวดเร็วร่นเวลาในการเพาะเมล็ด การซื้อต้นกล้าสำเร็จในถุงดำที่มีอายุประมาณ 1-2 เดือนมาลงในกระถาง หรือแปลงปลูก ควรปลูกตอนเย็นเพราะต้นกล้าจะถูกแสงแดดน้อยและต้นกล้าตั้งตัวได้เร็ว

3.การปักชำด้วยต้นหรือกิ่งแก่ ตัดกิ่งที่แก่โตเต็มที่ ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แล้ว   ปลิดใบออกให้หมด นำไปปักชำในแปลง ใช้ระยะปลูก 20*20 เซนติเมตร เอาฟางแห้งคลุมหน้าดิน รดน้ำให้ชุ่ม จนกระทั่งดินรัดรากดี บำรุงด้วยปุ๋ยทิ้งระยะ 15 วัน หลังจากปลูกได้ 30-35 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

อายุการเก็บเกี่ยวโหระพา

เมื่ออายุ 30-35 วันหลังปลูก การเก็บเกี่ยวก็ใช้มีดคมๆตัดต้นหรือกิ่ง ห่างจากยอดลงมาประมาณ 10-15 ซม. หลังตัดต้นโหระพาก็จะแตกยอดและกิ่งก้านออกมาใหม่ การเก็บเกี่ยวทำได้ทุกๆ 15-20วัน ไปจนถึงอายุ 7-8 เดือน

วิธีการบำรุงต้นโหระพา

โดยการบำรุงโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ , ปุ๋ยคอก , หรือปุ๋ยไส้เดือนใส่ที่โคนต้นเดือนละครั้ง

โรคและศัตรูของต้นโหระพา

ผีเสื้อหนอนห่อใบ (Syngamia abruptalis Walker) เป็นศัตรูสำคัญของต้นโหระพา หนอนชนิดนี้กัดกินใบอ่อนและใบแก่ ยอดอ่อน และช่อดอกของโหระพา ลักษณะการทำลายของหนอนจะขับเส้นใยออกมายึดขอบใบด้านบนทั้งสองข้างให้ติดกัน และอาศัยอยู่ภายในโดยกินคลอโรฟิลล์ที่ผิวใบ บางครั้งหนอนจะกินยอดอ่อนบริเวณส่วนปลายสุดแล้วนำใบที่อยู่บริเวณรอบๆ ยอดอ่อนมาห่อนรวมกันด้วยเส้นใย หนอนกัดกินผิวใบอยู่ภายในใบที่ห่อ

นอกจากหนอนกินใบและยอดอ่อนแล้ว พบว่าหนอนทำลายดอกช่อโดยกันกินดอกย่อยและก้านช่อดอก พร้อมทั้งขับเส้นใยออกมานำดอกช่อมารวมกัน จากการศึกษาพบว่า ใบที่หนอนห่อแต่ละใบ แต่ละยอดอ่อนจะมีหนอนเพียง 1 ตัวเท่านั้น ขณะที่ดอกช่อจะมีจำนวนหนอนหลายตัวหลายช่อดอก

ซึ่งวงจรชีวิตของหนอนที่เป็นศัตรูของโหระพา ซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกับ กะเพรา แมงลัก และสะระแหน่ ศัตรูและโรคที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพวกเดียวกัน ถ้าปลูกรับประทานเองควรใช้สารสกัดชีวภาพชนิดกำจัดหนอน แมลง และโรคต่างๆ จะดีกว่า เช่น ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส  เนื่องจากไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมีตกค้าง

โรคราน้ำค้างโหระพา (Downy mildew)2

สาเหตุจาก เชื้อรา Peronospora belbahrii

อาการ มีสีเหลืองด้านบนใบเป็นแถบด้านใต้ใบพบกลุ่มสปอร์สีเท่า เป็นขุยฟู ต่อมาเนื้อยใบส่วนที่เป็นสีเหลืองจะตาย เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ  อาการของโรคจะเกิดขึ้นกับใบแก่ที่อยู่ส่วนล่างของทรงพุ่มก่อน

การแพร่ระบาด เชื้ออาศัยอยู่กับเศษซากพืช วัชพืชในแปลกปลูก หรือติดไปกับเมล็ด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อโรค ได้แก่ สภาพอากาศ มีความชื้นสูง หมอกลงจัด หรือมีฝนพรำ

การจัดการกับโรค

  • ปลูกโหระพาให้มีระยะห่างระหว่างต้นและหมั่นตัดแต่งทรงพุ่มไม่ให้แน่นทึบ เพราะความชื้นในทรงพุ่มสูงจะทำให้เกิดโรคและแพร่ระบาดได้ง่าย
  • ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ หรือแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 52-55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20-30 นาที

การฉีดป้องกันก่อนและหลังเกิดโรคมี2 วิธี

  1. ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโครเดอร์มา (Trichoderma asperellum) หรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส
  2. ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไซมอกซานิล + แมนโคเซบ (cymoxanil + mancozeb) ไดเมโทมอร์ฟ (dimethomorph)
ใบโหระพาไทย_2

คุณค่าทางอาหาร

โหระพาไทย 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 44 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย3

  • โปรตีน 3.3 กรัม
  • ไขมัน 1 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 5.4 กรัม
  • แคลเซียม 165 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 2.84 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 9.12 มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 22 มิลลิกรัม
  • เบต้าแคโรทีน 452.16 ไมโครกัม
  • เส้นใย 3.90 กรัม
Shop

สาระสำคัญในโหระพา

สาระสำคัญในโหระพาส่วนใหญ่อยู่ในรูปของน้ำมันหอมระเหย ใบโหระพาสดนั้นจะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.1-1.5% ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้

  • สารเมทิลชาวิคอล (Methyl Chavicol)
  • ยูจีนอล (Eugenol)
  • สารกลุ่มเทอร์ปีน ได้แก่ ลินาลูล (Linalool) และซีนิออล (Cineol)
  • กรดคาเฟอิก (Caffeic acid)
  • กรดโรสมารินิก (Rosmarinic acid)

จากการทดสอบการสกัดน้ำมันหอมระเหยในใบโหระพา มีสารสำคัญที่มีคุณสมบัติดังนี้

มีสารต้านอนุมูลอิสระ

เมื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาด้วยเมทานอล พบว่า กรดไรสมารินิกในใบโหระพาช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ป้องกันความเสียหายจากการทำลายของอนุมูลอิสระได้ และในงานวิจัยของประเทศตรุกีพบว่า ชาโหระพามีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในปริมาณสูง

ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
ช่วยต้านการอักเสบ
ช่วยต้านมะเร็ง
ช่วยรักษาแผลกระเพราะอาหาร
ช่วยต้านการเติบโตของรา แบคทีเรียที่เกิด สิว ฝี หนอง
ช่วยกำจัดไรและแมลง

สรรพคุณทางยาของโหระพา

โหระพานอกจากใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิดแล้ว ยังช่วยเพิ่มกลิ่นหอมชวนรับประทาน โหระพาเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา สามารถใช้ประโยชน์ดังนี้

ต้น

  • แก้ปวดหัว หวัด ปวดท้องจากการเป็นโรคกระเพาะอาหาร
  • ช่วยขับลม ช่วยใหเจริญอาหาร
  • แก้จุกเสียด แน่นท้อง ท้องเสีย
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • พกช้ำ หกล้มหรือกระแทก
  • ผดผื่นคัน มีน้ำเหลือง
  • การเก็บทั้งต้นมาทำยาเมื่อเริ่มฤดูหนาวขณะเจริญเต็มที่มีดอก ผล ล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตากแห้งเก็บไว้ใช้

เมล็ด

  • ใช้เป็นยาระบาย (ใช้เมล็ด 4-12 กรัม แช่น้ำเย็นจนพอง ผสมน้ำหวาน เติมน้ำแข็งรับประทาน
  • ใช้แก้ตาแดง ขี้ตามาก ต้อตา
  • เมล็ดมีรสชุ่มเย็น ถูกน้ำจะพองตัวออกมา
  • การเก็บเมล็ดมาทำยา โดยการนำต้นไปเคาะ แยกเอาเมล็ดตากแห้งเก็บไว้ใช้ ระวังไม่ให้ถูกน้ำเพราะจะจับเป็นก้อน

ราก

  • แก้เด็กเป็นแผล มีหนองเรื้อรัง
  • การเก็บรากมาทำยา ใช้รากสดหรือตากแห้งเก็บไว้ใช้

ขนาดและวิธีใช้

  1. แก้อาการคลื่นใส้อาเจียน
  • โดยการคั้นน้ำจากใบโหระพาสดประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอ้อย 2 ช้อนโต๊ะ รับประทานวันละ 2 ครั้ง พร้อมกับน้ำอุ่น
  • ในกรณีที่เป็นเด็กเล็กเกิดอาการปวดท้อง ให้ใช้ใบโหระพา 20 ใบ ชงน้ำร้อนนำมาให้เด็กดื่มจะบรรเทาอาการลงได้
  1. แก้อาการฟกช้ำ
  • นำต้นสดมาตำแล้วคั้นเอาน้ำทาหรือพอกแผลฟกช้ำจากการกระแทก แผลที่เป็นหนองเรื้อรังจากการถูกแมลงสัตว์กัดต่อย แผลกลากเกลื้อน
  • รากสด หรือรากแห้งนำมาเผาไฟให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลเรื้อรัง แผลมีหนอง
  1. ยาขับปัสสาวะ และยาระบายอ่อนๆ
  • นำเมล็ดแห้ง ใช้เมล็ดแก่แช่น้ำให้พองตัวเต็มที่ รับประทานกับขนมหวานโดยการผสมน้ำหวานหรือน้ำแข็ง รับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ และยาระบายอ่อนๆ
  1. เหงือกอักเสบ
  • ใช้รักษาอาการเหงือกอักเสบเป็นหนอง โดยการบดโหระพาแห้งให้เป็นผงทาบริเวณที่เป็น
  1. อาการนอนไม่หลับ
  • นำใบโหระพาสดตามต้องการ ผัดกับน้ำมันหอยรับประทานตอนเย็นก่อนนอน ไม่ต้องกินกับข้าว หรือจะนำไปต้มกับน้ำประมาณ 1 แก้ว ดื่มก่อนนอน จะทำให้อาการนอนไม่หลับค่อยๆหายไป
  1. บำรุงเลือด
  • ใช้น้ำสับปะรดปั่นกับใบโหระพา มีสรรพคุณช่วยลดลมในตัวแก่อาการเลือดข้น ทำให้เลือดเลี้ยงสมองส่วนหน้าดีขึ้น ลดความดันโลหิตสูง บำรุงหัวใจ เพิ่มเม็ดเลือดแดง และลดอนุมูลอิสระ

 วิธีทำ: นำสับปะรด 1 หัว ปั่นรวมกับใบโหระพา 1 ขีด แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่มสดๆ

เมนูอาหารจากโหระพา

ไข่เจียวดอกโสนโหระพากุ้ง

ไข่เจียวดอกโสนโหระพากุ้ง

เครื่องปรุง

  • ไข่ไก่ 2 ฟอง
  • กุ้ง 3-5 ฟอง
  • ดอนโสน 1/3 ถ้วยตวง
  • มันหมูหั่นเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ
  • ซีอิ้วขาว 1-2 ช้อนโต๊ะ
  • โหระพา 8 ใบ

วิธีทำ

  1. ตอกไข่ไก่ลงถ้วยผสม ใส่ใบโหระพา สับกุ้งหยาบๆ ตามลงไป ใส่เครื่องปรุง ซีอิ๊ว และใส่ดอกโสน ตีไข่ให้ขึ้นฟูให้มีฟองอากาสมากจะช่วยให้ฟู
  2. ตั้งกระทะหั่นมันหมูชิ้นพอดี ประมาณ หนึ่งข้อนิ้วก้อย หนาครึ่งเซนติเมตร เจียวลงในกระทะไฟกลางค่อนไปทางอ่อน ซักพัก น้ำมันจะไหลออกมา
  3. เมื่อมันหมูสุก 70% (เหลืองอ่อนๆ เริ่มกรอบแข็ง) เพิ่มไฟเป็นไฟแรงจัด ใส่น้ำมันเพิ่มลงไปประมาณครึ่งถ้วยตวง เอียงกระทะให้น้ำมันไหลทั่วกระทะ
  4. พอเห็นว่าน้ำมันเริ่มร้อน มีควันเล็กน้อยให้รีบใส่ไข่ที่ตีไว้ลงไปทอดฟู สุกด้านหนึ่งแล้วกลับอีกด้านทอดต่อจนสุกดี ตักขึ้นเสด็จน้ำมัน พร้อมเสิร์ฟ
มะเขือยาวผัดโหระพา

มะเขือยาวผัดโหระพา

เครื่องปรุง

  • มะเขือยาว 3 ลูก
  • โหระพาเด็ดใบ ½ ถ้วย
  • พริกชี้ฟ้าเหลืองหั่นเฉียง 5 เม็ด
  • น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
  • ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
  • เต้าเจียว 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมัน 3 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  1. ล้างมะเขือยาวให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นใหญ่บางๆ แล้วแช่น้ำทันที
  2. ใส่น้ำมันในกระทะ ตั้งไฟให้ร้อน ใส่พริกชี้ฟ้า ผัดให้หอม ใส่เต้าเจี้ยว มะเขือยาว ผัดให้เข้ากัน
  3. ปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย ซีอิ๊วขาว ผัดให้เข้ากัน ใส่ใบโหระพา ผัดพอทั่ว ปิดไฟ ยกลง ตักใส่จาน

ข้อมูลอ้างอิง

1.ยากันครัว กะเพรา โหระพา แมงลัก สะระแหน่, มนตรี แสนสุข, สำนักพิมพ์แพลนบี , 2553, หน้า 44-63

2.รู้ทันโรคพืช คู่มือดูแลสุขภาพต้นไม้ด้วยตัวเอง, ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช , สำนักพิมพ์บ้านและสวน, 2563, หน้า 42-43

3.สมุนไพรในครัว…ประโยชน์ใกล้ตัวคุณ, มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร , สำนักพิมพ์ไพลิน, 2556 หน้า 51-61

Anndagarden ฝากกด like เพจด้วยนะคะ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆจากเรา

สินค้าที่น่าสนใจ

+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

บทความที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️

จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น

ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน

มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ทำไมผักแพงในฤดูฝน?

ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู

ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ออริกาโนเครื่องเทศปลูกง่าย

ออริกาโน มีต้นก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

3 ชนิดผักบุ้งที่นิยมทานในไทย

ชนิดผักบุ้งแต่ล...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️