9 สายพันธุ์มะเขือเปราะยอดนิยมที่ควรปลูก

9 สายพันธุ์มะเขือเปราะยอดนิยมที่ควรปลูก-เฟสบุ๊ก แก้ไข2

มะเขือเปราะเป็นผักคู่ครัวไทยมานาน และนิยมนำมาประกอบอาหารหลายๆๆ เมนู และเป็นวัตถุดิบประกอบอาหารในเมนูแกงเผ็ด แกงป่า ผัดผัก ทอด หรือต้ม ทำได้หลากเมนู  มะเขือเปราะมีรสหวาน และกรอบ นอกจากนี้แล้วยังมีหลากสายพันธุ์ ที่มีขนาดและสีสันที่ต่างกัน มารู้ที่มา และสายพันธุ์ต่างๆของมะเขือเปราะที่นิยมทาน พร้อมทั้งวิธีการปลูกให้ดก และปลูกอย่างไรให้รอดจากแมลงและโรคต่างๆ

มารู้จักมะเขือเปราะกันเถอะ

• ถิ่นกำเนิดของมะเขือเปราะ

  • มะเขือเปราะมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
  • มะเขือเปราะเป็นพืชในวงศ์ SOLANACEAE หรือวงศ์มะเขือ เช่นเดียวกับ 🍆มะเขือยาว  ✅มะเขือพวง 🍅มะเขือเทศ
  • มะเขือเปราะมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Eggplant หรือ Brinjal
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum melongena Linn.
  • นอกจากนี้มะเขือเปราะยังมีชื่อเรียกที่ต่างกันในแต่ละภูมิภาค
    • ภาคกลาง เรียกว่า มะเขือเสวย, มะเขือขื่น
    • ภาคเหนือ เรียกว่า มะเขือคางกบ , มะเขือขันคำ, มะเขือแจ้
    • ภาคใต้ เรียกว่า เขือหิน

• ลักษณะทั่วไปของมะเขือเปราะ

ลักษณะทรงต้นมะเขือเปราะ

ลักษณะทรงต้น

ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเขียว ทั่วทั้งลำต้น

ลักษณะทรงดอกมะเขือเปราะ

ลักษณะดอก

เป็นช่อบนลำต้นระหว่างข้อดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5-10 กลีบ มีกลีบดอกสีม่วงอ่อน5กลีบ มีเกสรสีเหลือง

ลักษณะทรงใบมะเขือเปราะ

ลักษณะใบ

ใบเดี่ยวกลมรี ออกแบบสลับ ขอบใบหยักเว้าเป็นแฉกหลาย โคนไม่เท่ากัน

ลักษณะทรงผลมะเขือเปราะ

ลักษณะผล

ผลกลมแป้น เปลือกสีเขียวมีริ้วสีขาว เมื่อแก่เปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมล็ดภายในสีน้ำตาล

• สายพันธุ์ของมะเขือเปราะที่นิยม

สายพันธุ์ของมะเขือเปราะที่นิยมทานในไทยมีหลากชนิด เช่น สีขาว สีม่วง สีเขียว และสีเขียวลายขาว

นอกจากนี้ยังมีลักษณะทรงที่ต่างกันเช่น ทรงกลม ทรงรี หรือทรงฟักทอง นิยมนำมาทานเป็นผักสดกับน้ำพริกชนิดต่างๆ  หรือนำมาปรุงอาหารในประเภทต่างๆ เช่น แกงเผ็ด แกงป่า และอื่นๆ มีดังนี้

มะเขือเปราะเจ้าพระยา

(Chao phaya eggplant)

เป็นชนิดที่นิยมนำประกอบอาหารไทยมากที่สุด เช่น แกงเขียวหวานไก่หรือหมู มะเขือเปราะผัดพริกแกง หรือ ทานสด

ลักษณะของมะเขือเปราะเจ้าพระยา ผลสีขาวผสมลายเขียวอ่อนๆ ลูกกลมๆ รสชาติหวานกรอบ

มะเขือเปราะคางกบ

(Thai green round eggplant)

มีลักษณะคล้ายมะเขือเปราะเจ้าพระยา แต่มีลายสีเขียวที่เข้มและชัดเจนมากกว่า นิยมนำทำอาหารคล้ายกับมะเขือเปราะเจ้าพระยา

มะเขือเปราะตอแหล (Thai mini eggplant)

หรือมะเขือสะดิ้ง เป็นมะเขือเปราะขนาดเล็ก ทรงกลม  นิยมทานผลสด เป็นผักแนมกับน้ำพริกต่างๆ  มีหลากสี

มะเขือเปราะตอแหลเขียว

มะเขือเปราะตอแหลเขียว

Shop now
มะเขือเปราะตอแหลขาว

มะเขือเปราะตอแหลขาว

Shop now

มะเขือไข่เต่า

(Thai turtle egg eggplant)

หรือมะเขือลาย เป็นมะเขือเปราะที่มีรูปทรงรี นิยมนำมาทานผลสด เป็นผักแนม

มะเขือไข่เต่าเขียว

มะเขือไข่เต่าเขียว

shop now

มะเขือจาน

(Thai ribbed eggplant)

เป็นมะเขือที่มีลักษณะผลเหมือนผลฟักทองซึ่งมีขนาดเล็ก ผิวเรียบ ขอบผลหยัก มีหลากสี

มะเขือจานขาว

มะเขือจานขาว

Shop now
มะเขือจานม่วง

มะเขือจานม่วง

Shop now

• การปลูกและการดูแลมะเขือเปราะให้ออกลูกดก

  • ผสมดินสำเร็จกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตราส่วน 2:1 นำต้นกล้ามะเขือเปราะ อายุ 1เดือนลงปลูกในกระถาง หรือแปลงที่เตรียมดินไว้กลบ
  • หลังจากย้ายกล้าลงในกระถาง หรือแปลงปลูกให้รดน้ำให้ชุ่ม ทุกเช้า – เย็น ไม่ควรรดให้แฉะมาก
  • เมื่อต้นกล้าตั้งตัวดีแล้วรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง
  • ช่วงที่ติดผลให้รดน้ำสม่ำเสมอ
  • การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมีขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ปลูก โดยเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งในการบำรุง

แบบที่ 1: การใส่ปุ๋ยอินทรีย์

  • หลังจากย้ายต้นกล้าใส่ปุ๋ยชีวภาพผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ/ น้ำ 20 ลิตร
  • หลังจากให้ปุ๋ย งดให้น้ำ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นลดการให้น้ำเหลือเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากเป็นช่วงอากาศร้อนก็ให้น้ำบ่อยขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
  • เมื่อต้นมะเขือปลูกได้ครบ 45 วันจะเริ่มติดดอกจึงพ่นฮอร์โมนชีวภาพเร่งดอกเร่งผล และดูแลด้วยการให้น้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ในอัตราส่วน 100 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นควบคู่ไปด้วยทุก 20-30 วัน
  • เมื่อต้นอายุครบ 100 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ ครั้งแรกที่ติดผลประมาณ 4-5 ผล/ต้น จากนั้นเมื่อบำรุงต้นไปเรื่อยๆ ด้วยการใส่ปุ๋ยคอกที่โคนต้น และใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตราส่วน 500 ซีซี / น้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมถึงการใช้ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเร่งดอกและขับไล่แมลงรบกวน

แบบที่2:บำรุงด้วยปุ๋ยเคมี

  • หลังย้ายต้นกล้าปลูก 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ย 40-0-0
  • หลังย้ายปลูก 30 วัน ให้ใส่ปุ๋ย 15-15-15
  • เมื่อออกดอกติดผลให้ใส่ปุ๋ย 13-13-21 หรือ 8-24-24 ทุก 20 วัน
  • เมื่ออายุ 65-70 วัน ผลผลิตเริ่มออก ควรเลือกเก็บผลผลิตขนาดที่เหมาะสม ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป และเก็บพร้อมติดขั้วด้วย
  • การเก็บผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ยาวนานถึง 9 เดือน ต้นจึงโทรม
  • มะเขือเปราะเป็นพืชที่ปลูกได้ทุกพื้นที่ ปลูกได้ตลอดปี

• โรคและแมลงศัตรูของมะเขือเปราะ

1. โรคต่างๆ และวิธีการป้องกัน

  • ป้องกันโดย ใส่หินปูนขาวรองก้นหลุม 1-2 ช้อนโต๊ะ และฉีดพ่นแคลเซียมระยะเติบโตจนถึงการเก็บเกี่ยว

2.แมลงศัตรูพืช และวิธีการป้องกัน

• สรรพคุณของมะเขือเปราะที่ดีต่อสุขภาพ

มะเขือเปราะ ประกอบด้วยโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมิน ไนอะซิน ไรโบฟลาวิน วิตามินเอ วิตามินซี

ช่วยบำรุงหัวใจ
ลดความดันโลหิต
ช่วยต้านมะเร็ง
บรรเทาอาการโรคเบาหวาน
ช่วยขับพยาธิ
ลดอาการอักเสบ
ช่วยขับปัสสาวะ
ช่วยระบบย่อยให้ดีขึ้น
ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อ

• เมนูอาหารยอดนิยมจากมะเขือเปราะ

แกงเขียวหวานไก่ เป็นเมนูยอดนิยมที่คนไทยนิยมทานกับขนมจีน หรือข้าวสวยร้อนๆๆ  มีกลิ่นหอมของเครื่องแกง และความมันจากกะทิ มีรสเผ็ดจากพริก ทำให้เจริญอาหารได้ดี วิธีทำไม่ยากมีดังนี้

แกงเขียวหวานไก่

เครื่องปรุง

  • ไก่ 1 ขีด
  • หัวกะทิ 1 ถ้วย
  • หางกะทิ ½ ถ้วย
  • ใบโหระพา 1 ช้อนโต๊ะ
  • ใบมะกรูด 1 ช้อนโต๊ะ
  • ลูกมะเขือพวง 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
  • พริกชี้ฟ้าแดง 3 เม็ด
  • มะเขือเปราะ 6-8 ลูก หั่นเป็น 4 ส่วนและแช่ในน้ำเกลือ เพื่อไม่ให้มะเขือเปราะดำ
  • พริกแกงเขียวหวานสำเร็จ 100 กรัม หรือ ทำเครื่องแกงเขียวหวานทำเอง ดังสูตรข้างล่างนี้
เครื่องแกงเขียวหวานทำเอง
  • พริกชี้ฟ้าสด 10 เม็ด
  • พริกขี้หนู 10 เม็ด
  • เกลือป่น ½ ช้อนโต๊ะ
  • พริกไทยเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ
  • รากผักชี 1 ช้อนโต๊ะ
  • ข่า 1 ช้อนโต๊ะ
  • ตะไคร้ 1 ต้น
  • หอมแดง 2 หัว
  • กระเทียม 10 กลีบ
  • กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
  • ผิวมะกรูด 1 ช้อนโต๊ะ
  • ลูกผักชีคั่ว ½ ช้อนโต๊ะ
  • ยี่หร่า 1 ช้อนชา
แกงเขียวหวานไก่มะเขือเปราะในถ้วย

วิธีทำ: แกงเขียวหวาน

  • โขลกน้ำพริกแกงให้ละเอียด หรือใช้เครื่องแกงสำเร็จ
  • หั่นไก่เป็นชิ้นขนาดพอควร
  • คั้นกะทิ หัว 1 ถ้วย หางกะทิ 2 ถ้วย
  • เคี่ยวหัวกะทิให้แตกมัน ใส่พริกแกง ผัดพอหอม และแตกมัน
  • ต้มไก่กับหางกะทิพอสุก ใส่น้ำพริกแกงที่ผัดไว้ลงเคี่ยวพอสุก ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ชิมรสเค็มหวาน
  • ใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง ต้มพอสุกปิดไฟ โรยหน้าด้วยใบมะกรูด ใบโหระพา และพริกชี้ฟ้าแดงหั่นแฉลบ

• สรุป

มะเขือเปราะ เป็นผักที่นิยมทาน เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญในเมนูยอดนิยมต่างๆๆ ในอาหารไทยหลายเมนูนอกจากนี้ยังมีสารอาหารที่สำคัญที่ดีต่อสุขภาพ

มะเขือเปราะมีหลายสายพันธุ์ และมีสีสันหลากหลาย ทำให้มีประโยชน์แตกต่างกัน เนื่องจากสารไฟโตนิวเทรียนท์ในผักสีต่างๆ มีสารต้านอนุมูลอิสระแตกต่างกันในแต่ละสีผัก

นอกจากนี้ควรรู้จักเลือกประเภทผักที่ลดโรคได้เพื่อทำให้มีสุขภาพที่ดี

Anndagarden ฝากกด like เพจด้วยนะคะ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆจากเรา

สินค้าที่น่าสนใจ

บทความที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️

ปลูกแวววิเชียรให้ออกดอกทั้งปี

การบำรุงแวววิเช...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

เทคนิคการปลูกแววมยุราอย่างมืออาชีพ

เคล็ดลับการปลูก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น

ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน

มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ทำไมผักแพงในฤดูฝน?

ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู

ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️