รวมวิธีปลูกผักสลัดให้งาม

รวมวิธีปลูกสลัดให้งาม2

1. รู้จักสภาพแวดล้อมที่ผักสลัดต้องการ 1

  • ผักสลัดส่วนใหญ่ขอบอากาศอบอุ่นไปถึงอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตคือ 24 องศาเซลเซียส ถ้าในอุณหภูมิสูงทำให้การเจริญทางใบจะถูกจำกัด มีเส้นใยมาก เนื้อเยื่อเหนียว และมีรสขม ดังนั้นอุณหภูมิจะมีอิทธิพลต่อการเจริญของผักสลัดและสลัดบัตเตอร์มากกว่าสายพันธุ์อื่น
  • ช่วงแสง มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตทั้งต้น ใบ และดอก และการเจริญของดอก แสง เป็นปัจจัยสำหรับการสร้างอาหาร หรือขบวนการสังเคราะห์แสง การเจริญเติบโตของผักสลัดต้องการพลังงานแสง > 150 cal/cm2/วัน ถ้าในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดแสงแดดในช่วงเช้าจะมีความสำคัญมากที่สุด หรืออย่างน้อยต้องได้รับแสงในช่วงเช้าประมาณ 4-5 ชม./วัน
  • ดิน ที่เหมาะสมต่อการปลูกควรเป็นดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี และมีความอุดมสมบูรณ์ มีอินทรีวัตถุสูง หน้าดินลึกอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง ความเป็นกรด-ด่างของดินอยู่ระหว่าง 0-6.5

2. มารู้เมล็ดพันธุ์ผักสลัดและการเลือกเมล็ดพันธุ์

เมล็ดพันธุ์ของผักสลัดมีขนาดเล็กมาก เปลือกหุ้มเมล็ดบาง เมล็ดพันธุ์ผักสลัดจะมี 2 สี คือ สีขาว และสีดำ ในเมล็ด 1 กรัมจะมีประมาณ 800 เมล็ด

เมล็ดพันธุ์ผักสลัด

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์

หากเมล็ดพันธุ์สมบูรณ์ ต้นกล้ามีความแข็งแรงแล้วก็จะให้ผลผลิตที่ดีตามมาด้วย การเพาะเมล้ดแล้วไม่งอก มีหลายปัจจัยดังนี้

  1. เมล็ดพันธุ์ที่นำมาเพาะต้องเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือ
  2. ยังไม่หมดอายุ
  3. ควรเก็บเมล็ดพันธุ์ในตู้เย็น
  4. ซองบรรจุต้องสามารถป้องกันแสงและความชื้นได้

การเก็บพันธุ์ผักสลัด ใน 1 ปี สามารถเก็บได้ครั้งเดียว โดยพันธุ์ที่สามารถเก็บเมล็ดได้ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์แบบสายพันธุ์แท้ หรือ OP (Open pollinated variety) คือพันธุ์ผสมเปิด ที่ผสมระหว่างพันธุ์ที่มีลักษณะพันธุกรรมเหมือนกัน ลักษณะใกล้เคียงกัน สามารถปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์มาปลูกต่อได้ และเมล็ดพันธุ์รุ่นลูกที่ได้จะมีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์เดิม

เมล็ดพันธุ์แบบลูกผสม หรือไฮบริด (Hybrid variety-F1) จะไม่สามารถเก็บพันธุ์ได้ เนื่องจากพันธุ์พ่อแม่ที่มีความแตกต่างกัน จึงทำให้รุ่นลูกมีการกระจายพันธุ์สูงไม่สม่ำเสมอกัน แต่เมล็ดพันธุ์ Hybrid จะมีความสม่ำเสมอ เจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากนำข้อดีของพันธ์พ่อแม่มาผสมกัน ทำให้เมล็ดพันธุ์มีราคาสูงกว่าพันธุ์ OP

เมล็ดพันธุ์แบบเคลือบ คือจะถูกคัดเลือกจากเมล็ดที่สมบูรณ์และนำมาเคลือบด้วยแป้ง หรือดินเหนียวเพื่อรักษาสภาพ ทำให้หยอดเมล็ดได้สะดวก เพราะมีขนาดใหญ่ขึ้น พาความชื้นให้เมล็ดได้ดี ซึ่งการเคลือบจะประกอบไปด้วยสารเคมีป้องกันแมลง ป้องกันเชื้อโรค เมล็ดที่นิยมนำมาเคลือบจะเป็นเมล็ดแบบ Hybrid ทำให้เมล็ดเคลือบมีราคาแพงมาก ซึ่งเมล็ดเคลือบนี้ไม่สามารถนำมาปลูกด้วยการปลูกแบบอินทรีย์ได้

3. เรียนรู้การเพาะกล้าผักสลัด

ความชื้น อุณหภูมิ แสง มีผลต่อเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด รวมไปถึงวัสดุในการเพาะเมล็ด หากซื้อดินปลูกทั่วไปมาเพาะเมล็ด อาจส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ด ควรใช้ดินพีสมอส

ผักสลัดเป็นพืชกินใบ อายุค่อนข้างสั้นไม่นิยมเพาะกล้าในแปลงแล้วย้ายด้วยการถอนไปปลูก เนื่องจากต้นกล้าที่ถอนมารากอาจจะขาดได้ ทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต ใบล่างจะเหี่ยวร่วง เนื่องจากรากไม่ดินติดมา ไม่สามารถดูดอาหารได้ทันทีจะต้องสร้างรากใหม่ ซึ่งอาจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอาหารที่สะสมในต้นกล้า ดังนั้นการเพาะกล้าที่เหมาะสมจึงแนะนำให้เพาะกล้าในถาดเพาะกล้า

3.1 การเพาะกล้าเตรียมอะไรบ้าง

เตรียมอุปกรณ์สำหรับเพาะกล้า

  • ถาดเพาะกล้าซึ่งมีขนาดที่แตกต่างกันได้แก่ ถาดหลุมขนาด 105 หรือ 200 หลุม มือใหม่แนะนำถาดขนาด 105 หลุม เพราะขนาดต่อช่องของขนาด 105 หลุม มีขนาดใหญ่กว่า 200 หลุม ทำให้ดูแลง่ายกว่าในเรื่องสารอาหาร ไม่ควรเลือกถาดเพาะมีขนาดหลุมใหญ่เกินไปจะเปลืองวัสดุเพาะ
  • เมล็ดพันธุ์สลัดมีหลากชนิด เลือกชนิดผักที่ชอบทานและนำมาเพาะ
  • ผ้าคลุมถาดเพาะกล้า (ให้ใช้ผ้าที่อุ้มน้ำแต่ไม่หนาเกินไป)
  • อุปกรณ์รดน้ำ /ฟอกกี้ หรือบัวรดน้ำแบบฝอย

👇👇คลิก!!! อ่านเพิ่ม 

🥬ผักสลัดยอดนิยมมีอะไรบ้าง

เตรียมส่วนผสมวัสดุเพาะ

  • แกลบดำ 2 ส่วน
  • ปุ๋ยหมักแห้ง 1 ส่วน
  • ขุยมะพร้าวละเอียด 1 ส่วน หากเป็นขุยมะพร้าวใหม่ต้องแช่น้ำด้วย เนื่องจากขุยมะพร้าวอาจจะมีความเค็ม หรือมีสารแทนนิน ซึ่งยับยั้งการออกราก ทำให้ต้นกล้าเหลือง แคระ แกร็น ขอบใบไหม้ จึงต้องใช้ขุยมะพร้าวเก่า หรือนำขุยมะพร้าวไปแช่น้ำ 3-4 วัน แล้วล้างด้วยน้ำเพื่อละลายสารแทนนินออกจากขุยมะพร้าว หลังจากล้าง 3-4 น้ำแล้วนำไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อ ก่อนนำไปใช้การเพาะเมล็ด
  • เชื้อไตรโคเดอร์มา (แนะนำให้ใช้ในฤดูฝน) เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่อยู่ตามธรรมชาติดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรียวัตถุเป็นอาหาร โดยไม่มีอันตรายกับพืช คน สัตว์และแมลง  เชื้อไตรโคเดอร์มามีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อรา สาเหตุโรคพืชทางดินจึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้มาก ต้นกล้าจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี

อุปกรณ์ปลูกผักสลัด▶️เพิ่ม

+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
-8%
Original price was: 130฿.Current price is: 120฿.

3.2 วิธีการเพาะเมล็ด

วิธีการเพาะเมล็ดผักสลัด

1.คลุกเค้าส่วนผสมให้เข้ากัน ถ้าปลูกในฤดูฝนให้ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาผสมน้ำรดวัสดุปลูก เพื่อป้องกันเชื้อรารากเน่า โคนเน่า ใบจุด ในช่วงฤดูฝน จากนั้นจึงตักใส่ถาดหลุม

2.เตรียมเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะลงในถาดหลุม กรีดร่องตื้นๆ ให้ลึก ประมาณหัวไม้ขีดไฟ จากนั้นหยอดเมล็ดลงในร่อง หลุมละ 1-2 เมล็ด หากยอดเมล็ดลึกเกินไป หรือตื้นไป ก็มีผลต่อการงอกเมล็ด

3.นำถาดไปเรียงไว้ในโรงเรือน คลุมด้วยผ้าบาง คลุมเพื่อไม่ให้เมล็ดกระเด็นเวลารดน้ำ และไม่ให้รากกล้าผักลอย

4.รดน้ำผ่านผ้า 2 คืน หลังจากนั้นค่อยๆ เปิดผ้าออก จะเห็นเมล็ดเริ่มงอก

5.รดน้ำเช้า เย็น หากมีหลุมที่เมล็ดไม่ขึ้น ให้นำต้นกล้าที่มี 2 ต้นในหลุมเดียวกันมาแยกใส่ โดยต้องทำตอนอายุต้นกล้าไม่เกิน 7 วัน เนื่องจากใบและรากยังไม่เยอะมาก ต้นจะไม่เฉา เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 15-20 วัน เป็นต้นกล้าที่เหมาะสมที่จะย้ายปลูกมากที่สุด แต่ไม่ควรเกิน 25 วัน

หากเพาะกล้าในปริมาณมากๆ จะเป็นต้องมีโรงเรือนใช้เพาะเมล็ด ซึ่งสามารถสร้างโรงเรือนง่ายๆ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ทำเป็นโครงเสา หากเป็นหน้าฝนต้องมีพลาสติกกันฝน โดยทำหลังคาไม่สูงมากเพื่อให้ง่ายต่อการกางหรือนำสแลนออก

  • ⛈️ในฤดูฝนแสงจะน้อย ช่วงที่มีแสงน้อยก็เอาสแลนออก , ช่วงที่มีแสงมากก็ต้องใช้สแลนในการพรางแสง แสงมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างมาก หากไม่มีแสงหรือวาดถาดในที่ร่ม จะทำให้ต้นกล้ายืดยาวต้นกล้าไม่แข็งแรง
  • และต้องมีแคร่สำหรับวางถาดเพาะกล้า เพื่อป้องกันมดและหอยทากที่จะเข้ามาทำลายเมล็ดและต้นกล้า หรือหล่อน้ำที่ขา และใส่เกลือลงไปด้วย เพื่อป้องกันหอยทาก

3.3 การเตรียมดิน/การเตรียมแปลงปลูก

การปลูกผักสลัดลงดิน

3.3.1 การเตรียมดินในกรณีที่ไม่มีโรงเรือน ดินเป็นหัวใจสำคัญในการปลูกผัก โดยเฉพาะการทำเกษตรอินทรีย์ แปลงที่ดินค่อนข้างแย่ ไม่ค่อยมีหน้าดิน ให้เริ่มจากการปลูกหว่านพืชตระกูลถั่วและไถกลบ จากนั้นรดน้ำให้หญ้าขึ้นแล้วไถกลบ ทำให้ได้ทั้งปุ๋ยและเป็นการกำจัดวัชพืช แต่อย่าให้หญ้าติดเมล้ด เพราะจะเป็นการเพิ่มวัชพืช

  1. ยกร่องให้สูงตั้งแต่เริ่มเพาะกล้า โดยเฉพาะในฤดูฝน เพื่อให้แสงแดดส่องซ้ายขวาและแปลงได้ เป็นการฆ่าเชื้อโรคภายในแปลงหรือไข่ของแมลงต่างๆ ทำให้โรคและแมลงในรอบปลูกต่อๆ ไปลดน้อยลง โดยควรตากดินไว้อย่างน้อย 7-14 วัน และการยกร่องสูงยังทำให้น้ำไม่ขังที่รากพืชอีกด้วย
  2. ตีดินให้ร่วน โดยใช้จอบหรืออุปกรณ์ทางการเกษตรอื่นๆ เกลี่ยแปลงและขอบแปลงให้เรียบ
  3. หว่านปุ๋ยหมักร่วมกับการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา คลุมฟาง และรดน้ำที่ฟางให้ชุ่ม ในฤดูฝนก็ให้คลุมฟาง เพราะเม็ดฝนที่ตกลงมาจะกระทบกับฟางก่อน ถ้าเป็นดินเปลือยเมื่อเม็ดฝนตกกระทบกับดิน จะทำให้ดินแน่น

3.3.2 การเตรียมดินกรณีที่มีโรงเรือน

การปลูกผักสลัดในโรงเรือน

การปลูกผักในโรงเรือนควรเตรียมดินหรือสร้างดินให้มีความสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชก่อนทำการปลูก ดินควรมีอินทรีย์วัตถุไม่น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ และมีความร่วนซุย เพื่อจะได้ระบายน้ำและอากาศได้ด้วยดี

  1. พลิกหน้าดินเพื่อตากแปลงตากดินในโรงเรือน 7-14 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคภายในแปลง
  2. ขึ้นแปลงให้สูงและย่อยดินหรือตีดินด้วยจอบให้ร่วน
  3. เกลี่ยแปลง และขอบแปลงให้เรียบร้อย
  4. รองพื้นด้วยปุ๋ยหมัก หากต้องการคลุมแปลงด้วยพลาสติก ให้ขึ้งพลาสติกให้ตึง และใช้ดินทับพลาสติกข้างแปลงเอาไว้ จากนั้นเจาะรูพลาสติกตามระยะปลูก หากไม่ใช้พลาสติกคลุมแปลง ให้ใช้ฟางคลุมดินเช่นเดียวกัน กับการปลูกนอกโรงเรือน
  5. รองก้นหลุมด้วยเชื้อไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันเชื้อราสาเหตุของโรคพืช จากนั้นนำกล้าผักสลัดมาเพาะลงในแปลงปลูก

3.3.3 การเตรียมดินกรณีปลูกในกระถาง ดินที่ใช้ปลูกในกระถางมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากการปลูกพืชลงดิน การกำหนดให้พืชอยู่ในกระถางหรือภาชนะปลูก ดินแลวัสดุปลูกจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในการยึดลำต้น

การอุ้มน้ำ การถ่ายเทอากาศ และรากชอนไซหาอาหารได้สะดวก ดังนั้นต้องเป็นดินร่วนโปร่ง เก็บความชื้นได้ดี สามารถระบายน้ำได้ดี เพื่อให้ดินมีความเหมาะสมสำหรับปลูกผักสลัดในกระถางจึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยวัสดุอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มอินทรีวัตถุในดิน การเพิ่มความร่วนโปร่งของดิน

การปลูกผักสลัดในกระถาง
  • การเตรียมดินมีสัดส่วนดังนี้
  1. ดินร่วน 1 ส่วน , ทราย 1 ส่วน , ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน , ขี้เถ้าแกลบ หรือ ขุยมะพร้าว 1 ส่วน
  2. นำส่วนผสมทั้ง 4 ส่วน มาคลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนปลูก หากไม่สามารถหาส่วนผสมดังกล้าวได้อาจใช้ปุ๋ยคอกผสมใบพืชผุ ใบไผ่ผุ ผสมกับดิน หรือใช้ดินปรุงสำเร็จรูป

3.3.4 การเตรียมดินกรณีการปลูกบนพื้นปูน

การปลูกผักสลัดบนพื้นปูน

ความสำคัญของการปลูกผักบนพื้นปูนคือการป้องกันความร้อนจากพื้นปูนและการป้องกันการระเหยอย่างรวดเร็วของน้ำที่ใช้รดผัก ตัวกรองความร้อนและป้องกันน้ำไม่ให้ไหลออกจากแปลงเร็วเกินไป คือ กาบมะพร้าว หรือผักตบชวา

ทิศทางการวางแปลงปลูกบนพื้นปูนภาคพื้นดินต้องวางในแนวเหนือใต้ จะช่วยให้ผักได้รับแสงแดดตลอดทั้งวันทำให้ผักเจริญเติบโตดี ถ้าไม่สามารถกำเนิดทิศได้ควรวางแปลงให้ได้รับแสงอย่างน้อยครึ่งวัน โดยการเตรียมดินเพื่อปลูกผักบนพื้นปูนมีดังนี้

  1. นำกาบมะพร้าวหรือผักตบชวาสับตากแห้ง วางปูพื้นในแปลงสูง ครึ่งหนึ่งของแปลงปลูก
  2. นำดินปลูกใส่ทับด้านบนอีก 1 ส่วน แล้วโรยปุ๋ยแห้ง หรือจุลินทรีย์บางๆ 1 กำมือต่อ 1 ตารางเมตร คลุกแคล้าให้เข้ากันรดน้ำให้ชุ่ม ปลูกผักได้ทันที โดยการปลูกแต่ละรอบจะใช้เวลา 1-2 เดือน จะพบว่าแปลงยุบตัวลง ให้ผสมกาบมะพร้าวหรือผักตบชวาสับตากแห้ง เศษพืช เศษใบไม้สับตากแห้งและดินอีกเล็กน้อยลงในแปลง แล้วโรยปุ๋ยคลุกเคล้าดิน และรดน้ำเหมือนขั้นตอนเรก ควรเปลี่ยนดินและกาบมะพร้าวในแปลงปลูกทุก 6 เดือน โดยย้ายดินทั้งหมดออกจากแปลง ใส่วัสดุปลูกใหม่รองพื้นจากนั้นนำดินเก่าที่ตักออกใส่กลับด้านบน

3.4 การย้ายปลูก (กลางแจ้ง/ โรงเรือน)

ต้นกล้าที่พร้อมจะย้ายไปลงแปลงปลูกได้จะต้องอายุระหว่าง 15-20 วัน เป็นอายุที่เหมาะสมที่จะย้ายปลูกมากที่สุด แต่ไม่ควรเกิน 25 วัน หากอายุมากกว่านั้นจะทำให้ต้นกล้าแก่เกินไป อาหารภายในถาดเพาะลดลง ต้นกล้าชะงักเจริญเติบโตทำให้ต้นกล้าใบเริ่มเหลือง เนื่องจากขาดอาหารและเมื่อนำไปลงแปลงปลูกจะแกร็น เจริญเติบโตได้ช้า ไม่เหมือนกับตนกล้าที่ย้ายปลูกในช่วงที่เหมาะสม

  1. เตรียมต้นกล้า ก่อนออกปลูกให้ทำการ Hardening ต้นกล้าก่อนประมาณ 3 วัน คือการทำให้พืชแข็งแรงและทนกับสภาพอากาศภายนอกโรงเพาะกล้าได้ จากต้นกล้าที่ดูแลอย่างดี ให้น้ำเต็มที่ มีสแลนพรางแสง ให้นำออกมานอกโรงเรือน ให้น้ำน้อยๆ ให้รู้สึกว่าใบเหี่ยวๆ หน่อย แล้วค่อยรดน้ำ ให้แดดเต็มที่ เป็นการเตรียมพร้อมต้นกล้าเพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศในแปลงปลูก
  2. รดน้ำแปลงที่คลุมฟางไว้ให้ชุ่มแล้วย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก เวลาที่เหมาะสมในการย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูกคือ ช่วงบ่ายแก่ๆ โดยนำต้นที่เหี่ยวๆ หน่อยลงปลูกในแปลง โดยต้นกล้าที่ปลูกจะต้องเลือกต้นที่แข็งแรง ไม่เป็นโรคหากเป็นจะระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโรคใบจุดในฤดูฝน ให้ปลูกระยะ 20×20 เซนติเมตร โดยหลังจากปลูกไม่ต้องกดดินให้แน่น แค่ให้ผักทรงตัวได้ จากนั้นค่อยรดน้ำในแปลง ต้นกล้าก็จะดูดน้ำอย่างรวดเร็ว และจะแข็งแรงในตอนเช้า

4.ผักสลัดเติบโตอย่างมีคุณภาพ

การดูแลผักสลัดที่ปลูกในกระถาง ไม่ควรรดน้ำจนล้นกระถาง หมั่นรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้ดินอย่างสม่ำเสมอ การใส่ปุ๋ยให้แบ่งออกเป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ได้จากการหมักจุลินทรีย์ สามารถให้ได้ทุก 3-5 วันในอัตราส่วน น้ำหมัก 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร เมื่อดินยุบให้ใส่ดินผสมลงไปด้านบน หมั่นสังเกตการเจริญเติบโตเช่นเดียวกันกับการปลูกผักสลัดในรูปแบบอื่นๆ

การดูแลผักบนพื้นปูน ให้รดน้ำเช้าเย็น ในช่วงหน้าแล้งที่อากาศแห้ง คือช่วงสายและช่วงบ่าย สำหรับช่วงหน้าฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ ไม่ควรรดน้ำในระหว่าที่มีแดดจัด ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม โดยเน้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ รวมทั้งปุ๋ยน้ำตามสัดส่วนที่เหมาะสม รดปุ๋ยแต่ละสูตร 3-5 วันต่อครั้ง ให้หมั่นสังเกตการเจริญเติบโตของผักสลัดว่มีการอาการผิดปกติ หรือไม่มีแมลงอะไรรบกวนบ้าง หากมีให้รีบแก้ไข หาวิธีการป้องกันและแก้ไขด้วยวิธีธรรมชาติ

5.ทำไมผักสลัดถึงมีรสขม?

ผักสลัดมีรสขม
  1. อายุการเก็บเกี่ยว หากเก็บเกี่ยวช้า ผักที่อายุกินจะมีรสชาติขม เนื่องจากผักสลัดเป็นผักที่มียางสีขาว หากมีปริมาณยางมากหรือเข้มข้น เมื่อผักอายุมากจะมีปริมาณยางสูงทำให้ผักขม (กล้าผัก อายุประมาณ 15-20 วัน อายุผักประมาณ 30 วัน )
  2. ผักแคระแกร็น ผักขาดสารอาหาร ไม่โตไม่ตาย
  3. สภาพอากาศที่ร้อนจัด น้ำไม่ถึงอาหารไม่พอ ผักสลัดจะผลิตยางมากกว่าปกติ และมีความเข้มข้นสูง ดังนั้นทำให้ผักสลัดในหน้าร้อนไม่อร่อยเท่ากับผักสลัดในหน้าหนาว

บทความที่เกี่ยวข้อง▶️เพิ่ม

ผักสลัดยอดนิยมมีอะไรบ้าง

ผักสลัดประเภทต่...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

10 ผักกินใบซุปเปอร์ฟู้ดเพื่อสุขภาพ

ผักกินใบซุปเปอร...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ประเภทผักสวนครัวมีอะไรบ้าง เลือกทานให้เหมาะสม

การแยกประเภทของ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

เลือกทานสีของผักและผลไม้อย่างไร?ให้มีสุขภาพดี

ผักและผลไม้ที่ม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ปลูกผักในกระถาง 1 เดือน กินยาว 1 ปี

ไม่รู้อีกนานแค่...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

12 ชนิดผักสวนครัวปลูกง่ายในกระถาง

วิธีง่ายๆในการช...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ข้อมูลอ้างอิง

  1. การเพาะปลูกผักสลัดอินทรีย์ ,สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) , บจก.บางกอกอินเฮ้าส์ , 2563, หน้า 12-30
Anndagarden ฝากกด like เพจด้วยนะคะ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆจากเรา

สินค้าที่น่าสนใจ

+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

บทความที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️

จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น

ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน

มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ทำไมผักแพงในฤดูฝน?

ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู

ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ออริกาโนเครื่องเทศปลูกง่าย

ออริกาโน มีต้นก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

3 ชนิดผักบุ้งที่นิยมทานในไทย

ชนิดผักบุ้งแต่ล...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️