1. รู้จักสภาพแวดล้อมที่ผักสลัดต้องการ 1
ระดับอุณหภูมิ
- ผักสลัดส่วนใหญ่ขอบอากาศอบอุ่นไปถึงอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตคือ 24 องศาเซลเซียส ถ้าในอุณหภูมิสูงทำให้การเจริญทางใบจะถูกจำกัด มีเส้นใยมาก เนื้อเยื่อเหนียว และมีรสขม ดังนั้นอุณหภูมิจะมีอิทธิพลต่อการเจริญของผักสลัดและสลัดบัตเตอร์มากกว่าสายพันธุ์อื่น
ระดับแสง
- ช่วงแสง มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตทั้งต้น ใบ และดอก และการเจริญของดอก แสง เป็นปัจจัยสำหรับการสร้างอาหาร หรือขบวนการสังเคราะห์แสง การเจริญเติบโตของผักสลัดต้องการพลังงานแสง > 150 cal/cm2/วัน ถ้าในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดแสงแดดในช่วงเช้าจะมีความสำคัญมากที่สุด หรืออย่างน้อยต้องได้รับแสงในช่วงเช้าประมาณ 4-5 ชม./วัน
ชนิดของดิน
- ดิน ที่เหมาะสมต่อการปลูกควรเป็นดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี และมีความอุดมสมบูรณ์ มีอินทรีวัตถุสูง หน้าดินลึกอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง ความเป็นกรด-ด่างของดินอยู่ระหว่าง 0-6.5
2. มารู้เมล็ดพันธุ์ผักสลัดและการเลือกเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์ของผักสลัดมีขนาดเล็กมาก เปลือกหุ้มเมล็ดบาง เมล็ดพันธุ์ผักสลัดจะมี 2 สี คือ สีขาว และสีดำ ในเมล็ด 1 กรัมจะมีประมาณ 800 เมล็ด
การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์
หากเมล็ดพันธุ์สมบูรณ์ ต้นกล้ามีความแข็งแรงแล้วก็จะให้ผลผลิตที่ดีตามมาด้วย การเพาะเมล้ดแล้วไม่งอก มีหลายปัจจัยดังนี้
- เมล็ดพันธุ์ที่นำมาเพาะต้องเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือ
- ยังไม่หมดอายุ
- ควรเก็บเมล็ดพันธุ์ในตู้เย็น
- ซองบรรจุต้องสามารถป้องกันแสงและความชื้นได้
การเก็บพันธุ์ผักสลัด ใน 1 ปี สามารถเก็บได้ครั้งเดียว โดยพันธุ์ที่สามารถเก็บเมล็ดได้ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์แบบสายพันธุ์แท้ หรือ OP (Open pollinated variety) คือพันธุ์ผสมเปิด ที่ผสมระหว่างพันธุ์ที่มีลักษณะพันธุกรรมเหมือนกัน ลักษณะใกล้เคียงกัน สามารถปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์มาปลูกต่อได้ และเมล็ดพันธุ์รุ่นลูกที่ได้จะมีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์เดิม
เมล็ดพันธุ์แบบลูกผสม หรือไฮบริด (Hybrid variety-F1) จะไม่สามารถเก็บพันธุ์ได้ เนื่องจากพันธุ์พ่อแม่ที่มีความแตกต่างกัน จึงทำให้รุ่นลูกมีการกระจายพันธุ์สูงไม่สม่ำเสมอกัน แต่เมล็ดพันธุ์ Hybrid จะมีความสม่ำเสมอ เจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากนำข้อดีของพันธ์พ่อแม่มาผสมกัน ทำให้เมล็ดพันธุ์มีราคาสูงกว่าพันธุ์ OP
เมล็ดพันธุ์แบบเคลือบ คือจะถูกคัดเลือกจากเมล็ดที่สมบูรณ์และนำมาเคลือบด้วยแป้ง หรือดินเหนียวเพื่อรักษาสภาพ ทำให้หยอดเมล็ดได้สะดวก เพราะมีขนาดใหญ่ขึ้น พาความชื้นให้เมล็ดได้ดี ซึ่งการเคลือบจะประกอบไปด้วยสารเคมีป้องกันแมลง ป้องกันเชื้อโรค เมล็ดที่นิยมนำมาเคลือบจะเป็นเมล็ดแบบ Hybrid ทำให้เมล็ดเคลือบมีราคาแพงมาก ซึ่งเมล็ดเคลือบนี้ไม่สามารถนำมาปลูกด้วยการปลูกแบบอินทรีย์ได้
3. เรียนรู้การเพาะกล้าผักสลัด
ความชื้น อุณหภูมิ แสง มีผลต่อเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด รวมไปถึงวัสดุในการเพาะเมล็ด หากซื้อดินปลูกทั่วไปมาเพาะเมล็ด อาจส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ด ควรใช้ดินพีสมอส
ผักสลัดเป็นพืชกินใบ อายุค่อนข้างสั้นไม่นิยมเพาะกล้าในแปลงแล้วย้ายด้วยการถอนไปปลูก เนื่องจากต้นกล้าที่ถอนมารากอาจจะขาดได้ ทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต ใบล่างจะเหี่ยวร่วง เนื่องจากรากไม่ดินติดมา ไม่สามารถดูดอาหารได้ทันทีจะต้องสร้างรากใหม่ ซึ่งอาจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอาหารที่สะสมในต้นกล้า ดังนั้นการเพาะกล้าที่เหมาะสมจึงแนะนำให้เพาะกล้าในถาดเพาะกล้า
3.1 การเพาะกล้าเตรียมอะไรบ้าง
เตรียมอุปกรณ์สำหรับเพาะกล้า
- ถาดเพาะกล้าซึ่งมีขนาดที่แตกต่างกันได้แก่ ถาดหลุมขนาด 105 หรือ 200 หลุม มือใหม่แนะนำถาดขนาด 105 หลุม เพราะขนาดต่อช่องของขนาด 105 หลุม มีขนาดใหญ่กว่า 200 หลุม ทำให้ดูแลง่ายกว่าในเรื่องสารอาหาร ไม่ควรเลือกถาดเพาะมีขนาดหลุมใหญ่เกินไปจะเปลืองวัสดุเพาะ
- เมล็ดพันธุ์สลัดมีหลากชนิด เลือกชนิดผักที่ชอบทานและนำมาเพาะ
- ผ้าคลุมถาดเพาะกล้า (ให้ใช้ผ้าที่อุ้มน้ำแต่ไม่หนาเกินไป)
- อุปกรณ์รดน้ำ /ฟอกกี้ หรือบัวรดน้ำแบบฝอย
👇👇คลิก!!! อ่านเพิ่ม
เตรียมส่วนผสมวัสดุเพาะ
- แกลบดำ 2 ส่วน
- ปุ๋ยหมักแห้ง 1 ส่วน
- ขุยมะพร้าวละเอียด 1 ส่วน หากเป็นขุยมะพร้าวใหม่ต้องแช่น้ำด้วย เนื่องจากขุยมะพร้าวอาจจะมีความเค็ม หรือมีสารแทนนิน ซึ่งยับยั้งการออกราก ทำให้ต้นกล้าเหลือง แคระ แกร็น ขอบใบไหม้ จึงต้องใช้ขุยมะพร้าวเก่า หรือนำขุยมะพร้าวไปแช่น้ำ 3-4 วัน แล้วล้างด้วยน้ำเพื่อละลายสารแทนนินออกจากขุยมะพร้าว หลังจากล้าง 3-4 น้ำแล้วนำไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อ ก่อนนำไปใช้การเพาะเมล็ด
- เชื้อไตรโคเดอร์มา (แนะนำให้ใช้ในฤดูฝน) เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่อยู่ตามธรรมชาติดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรียวัตถุเป็นอาหาร โดยไม่มีอันตรายกับพืช คน สัตว์และแมลง เชื้อไตรโคเดอร์มามีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อรา สาเหตุโรคพืชทางดินจึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้มาก ต้นกล้าจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี
อุปกรณ์ปลูกผักสลัด▶️เพิ่ม
3.2 วิธีการเพาะเมล็ด
1.คลุกเค้าส่วนผสมให้เข้ากัน ถ้าปลูกในฤดูฝนให้ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาผสมน้ำรดวัสดุปลูก เพื่อป้องกันเชื้อรารากเน่า โคนเน่า ใบจุด ในช่วงฤดูฝน จากนั้นจึงตักใส่ถาดหลุม
2.เตรียมเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะลงในถาดหลุม กรีดร่องตื้นๆ ให้ลึก ประมาณหัวไม้ขีดไฟ จากนั้นหยอดเมล็ดลงในร่อง หลุมละ 1-2 เมล็ด หากยอดเมล็ดลึกเกินไป หรือตื้นไป ก็มีผลต่อการงอกเมล็ด
3.นำถาดไปเรียงไว้ในโรงเรือน คลุมด้วยผ้าบาง คลุมเพื่อไม่ให้เมล็ดกระเด็นเวลารดน้ำ และไม่ให้รากกล้าผักลอย
4.รดน้ำผ่านผ้า 2 คืน หลังจากนั้นค่อยๆ เปิดผ้าออก จะเห็นเมล็ดเริ่มงอก
5.รดน้ำเช้า เย็น หากมีหลุมที่เมล็ดไม่ขึ้น ให้นำต้นกล้าที่มี 2 ต้นในหลุมเดียวกันมาแยกใส่ โดยต้องทำตอนอายุต้นกล้าไม่เกิน 7 วัน เนื่องจากใบและรากยังไม่เยอะมาก ต้นจะไม่เฉา เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 15-20 วัน เป็นต้นกล้าที่เหมาะสมที่จะย้ายปลูกมากที่สุด แต่ไม่ควรเกิน 25 วัน
หากเพาะกล้าในปริมาณมากๆ จะเป็นต้องมีโรงเรือนใช้เพาะเมล็ด ซึ่งสามารถสร้างโรงเรือนง่ายๆ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ทำเป็นโครงเสา หากเป็นหน้าฝนต้องมีพลาสติกกันฝน โดยทำหลังคาไม่สูงมากเพื่อให้ง่ายต่อการกางหรือนำสแลนออก
- ⛈️ในฤดูฝนแสงจะน้อย ช่วงที่มีแสงน้อยก็เอาสแลนออก , ช่วงที่มีแสงมากก็ต้องใช้สแลนในการพรางแสง แสงมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างมาก หากไม่มีแสงหรือวาดถาดในที่ร่ม จะทำให้ต้นกล้ายืดยาวต้นกล้าไม่แข็งแรง
- และต้องมีแคร่สำหรับวางถาดเพาะกล้า เพื่อป้องกันมดและหอยทากที่จะเข้ามาทำลายเมล็ดและต้นกล้า หรือหล่อน้ำที่ขา และใส่เกลือลงไปด้วย เพื่อป้องกันหอยทาก
3.3 การเตรียมดิน/การเตรียมแปลงปลูก
3.3.1 การเตรียมดินในกรณีที่ไม่มีโรงเรือน ดินเป็นหัวใจสำคัญในการปลูกผัก โดยเฉพาะการทำเกษตรอินทรีย์ แปลงที่ดินค่อนข้างแย่ ไม่ค่อยมีหน้าดิน ให้เริ่มจากการปลูกหว่านพืชตระกูลถั่วและไถกลบ จากนั้นรดน้ำให้หญ้าขึ้นแล้วไถกลบ ทำให้ได้ทั้งปุ๋ยและเป็นการกำจัดวัชพืช แต่อย่าให้หญ้าติดเมล้ด เพราะจะเป็นการเพิ่มวัชพืช
- ยกร่องให้สูงตั้งแต่เริ่มเพาะกล้า โดยเฉพาะในฤดูฝน เพื่อให้แสงแดดส่องซ้ายขวาและแปลงได้ เป็นการฆ่าเชื้อโรคภายในแปลงหรือไข่ของแมลงต่างๆ ทำให้โรคและแมลงในรอบปลูกต่อๆ ไปลดน้อยลง โดยควรตากดินไว้อย่างน้อย 7-14 วัน และการยกร่องสูงยังทำให้น้ำไม่ขังที่รากพืชอีกด้วย
- ตีดินให้ร่วน โดยใช้จอบหรืออุปกรณ์ทางการเกษตรอื่นๆ เกลี่ยแปลงและขอบแปลงให้เรียบ
- หว่านปุ๋ยหมักร่วมกับการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา คลุมฟาง และรดน้ำที่ฟางให้ชุ่ม ในฤดูฝนก็ให้คลุมฟาง เพราะเม็ดฝนที่ตกลงมาจะกระทบกับฟางก่อน ถ้าเป็นดินเปลือยเมื่อเม็ดฝนตกกระทบกับดิน จะทำให้ดินแน่น
3.3.2 การเตรียมดินกรณีที่มีโรงเรือน
การปลูกผักในโรงเรือนควรเตรียมดินหรือสร้างดินให้มีความสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชก่อนทำการปลูก ดินควรมีอินทรีย์วัตถุไม่น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ และมีความร่วนซุย เพื่อจะได้ระบายน้ำและอากาศได้ด้วยดี
- พลิกหน้าดินเพื่อตากแปลงตากดินในโรงเรือน 7-14 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคภายในแปลง
- ขึ้นแปลงให้สูงและย่อยดินหรือตีดินด้วยจอบให้ร่วน
- เกลี่ยแปลง และขอบแปลงให้เรียบร้อย
- รองพื้นด้วยปุ๋ยหมัก หากต้องการคลุมแปลงด้วยพลาสติก ให้ขึ้งพลาสติกให้ตึง และใช้ดินทับพลาสติกข้างแปลงเอาไว้ จากนั้นเจาะรูพลาสติกตามระยะปลูก หากไม่ใช้พลาสติกคลุมแปลง ให้ใช้ฟางคลุมดินเช่นเดียวกัน กับการปลูกนอกโรงเรือน
- รองก้นหลุมด้วยเชื้อไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันเชื้อราสาเหตุของโรคพืช จากนั้นนำกล้าผักสลัดมาเพาะลงในแปลงปลูก
3.3.3 การเตรียมดินกรณีปลูกในกระถาง ดินที่ใช้ปลูกในกระถางมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากการปลูกพืชลงดิน การกำหนดให้พืชอยู่ในกระถางหรือภาชนะปลูก ดินแลวัสดุปลูกจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในการยึดลำต้น
การอุ้มน้ำ การถ่ายเทอากาศ และรากชอนไซหาอาหารได้สะดวก ดังนั้นต้องเป็นดินร่วนโปร่ง เก็บความชื้นได้ดี สามารถระบายน้ำได้ดี เพื่อให้ดินมีความเหมาะสมสำหรับปลูกผักสลัดในกระถางจึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยวัสดุอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มอินทรีวัตถุในดิน การเพิ่มความร่วนโปร่งของดิน
- การเตรียมดินมีสัดส่วนดังนี้
- ดินร่วน 1 ส่วน , ทราย 1 ส่วน , ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน , ขี้เถ้าแกลบ หรือ ขุยมะพร้าว 1 ส่วน
- นำส่วนผสมทั้ง 4 ส่วน มาคลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนปลูก หากไม่สามารถหาส่วนผสมดังกล้าวได้อาจใช้ปุ๋ยคอกผสมใบพืชผุ ใบไผ่ผุ ผสมกับดิน หรือใช้ดินปรุงสำเร็จรูป
3.3.4 การเตรียมดินกรณีการปลูกบนพื้นปูน
ความสำคัญของการปลูกผักบนพื้นปูนคือการป้องกันความร้อนจากพื้นปูนและการป้องกันการระเหยอย่างรวดเร็วของน้ำที่ใช้รดผัก ตัวกรองความร้อนและป้องกันน้ำไม่ให้ไหลออกจากแปลงเร็วเกินไป คือ กาบมะพร้าว หรือผักตบชวา
ทิศทางการวางแปลงปลูกบนพื้นปูนภาคพื้นดินต้องวางในแนวเหนือใต้ จะช่วยให้ผักได้รับแสงแดดตลอดทั้งวันทำให้ผักเจริญเติบโตดี ถ้าไม่สามารถกำเนิดทิศได้ควรวางแปลงให้ได้รับแสงอย่างน้อยครึ่งวัน โดยการเตรียมดินเพื่อปลูกผักบนพื้นปูนมีดังนี้
- นำกาบมะพร้าวหรือผักตบชวาสับตากแห้ง วางปูพื้นในแปลงสูง ครึ่งหนึ่งของแปลงปลูก
- นำดินปลูกใส่ทับด้านบนอีก 1 ส่วน แล้วโรยปุ๋ยแห้ง หรือจุลินทรีย์บางๆ 1 กำมือต่อ 1 ตารางเมตร คลุกแคล้าให้เข้ากันรดน้ำให้ชุ่ม ปลูกผักได้ทันที โดยการปลูกแต่ละรอบจะใช้เวลา 1-2 เดือน จะพบว่าแปลงยุบตัวลง ให้ผสมกาบมะพร้าวหรือผักตบชวาสับตากแห้ง เศษพืช เศษใบไม้สับตากแห้งและดินอีกเล็กน้อยลงในแปลง แล้วโรยปุ๋ยคลุกเคล้าดิน และรดน้ำเหมือนขั้นตอนเรก ควรเปลี่ยนดินและกาบมะพร้าวในแปลงปลูกทุก 6 เดือน โดยย้ายดินทั้งหมดออกจากแปลง ใส่วัสดุปลูกใหม่รองพื้นจากนั้นนำดินเก่าที่ตักออกใส่กลับด้านบน
3.4 การย้ายปลูก (กลางแจ้ง/ โรงเรือน)
ต้นกล้าที่พร้อมจะย้ายไปลงแปลงปลูกได้จะต้องอายุระหว่าง 15-20 วัน เป็นอายุที่เหมาะสมที่จะย้ายปลูกมากที่สุด แต่ไม่ควรเกิน 25 วัน หากอายุมากกว่านั้นจะทำให้ต้นกล้าแก่เกินไป อาหารภายในถาดเพาะลดลง ต้นกล้าชะงักเจริญเติบโตทำให้ต้นกล้าใบเริ่มเหลือง เนื่องจากขาดอาหารและเมื่อนำไปลงแปลงปลูกจะแกร็น เจริญเติบโตได้ช้า ไม่เหมือนกับตนกล้าที่ย้ายปลูกในช่วงที่เหมาะสม
- เตรียมต้นกล้า ก่อนออกปลูกให้ทำการ Hardening ต้นกล้าก่อนประมาณ 3 วัน คือการทำให้พืชแข็งแรงและทนกับสภาพอากาศภายนอกโรงเพาะกล้าได้ จากต้นกล้าที่ดูแลอย่างดี ให้น้ำเต็มที่ มีสแลนพรางแสง ให้นำออกมานอกโรงเรือน ให้น้ำน้อยๆ ให้รู้สึกว่าใบเหี่ยวๆ หน่อย แล้วค่อยรดน้ำ ให้แดดเต็มที่ เป็นการเตรียมพร้อมต้นกล้าเพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศในแปลงปลูก
- รดน้ำแปลงที่คลุมฟางไว้ให้ชุ่มแล้วย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก เวลาที่เหมาะสมในการย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูกคือ ช่วงบ่ายแก่ๆ โดยนำต้นที่เหี่ยวๆ หน่อยลงปลูกในแปลง โดยต้นกล้าที่ปลูกจะต้องเลือกต้นที่แข็งแรง ไม่เป็นโรคหากเป็นจะระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโรคใบจุดในฤดูฝน ให้ปลูกระยะ 20×20 เซนติเมตร โดยหลังจากปลูกไม่ต้องกดดินให้แน่น แค่ให้ผักทรงตัวได้ จากนั้นค่อยรดน้ำในแปลง ต้นกล้าก็จะดูดน้ำอย่างรวดเร็ว และจะแข็งแรงในตอนเช้า
4.ผักสลัดเติบโตอย่างมีคุณภาพ
ปลูกในกระถาง
การดูแลผักสลัดที่ปลูกในกระถาง ไม่ควรรดน้ำจนล้นกระถาง หมั่นรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้ดินอย่างสม่ำเสมอ การใส่ปุ๋ยให้แบ่งออกเป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ได้จากการหมักจุลินทรีย์ สามารถให้ได้ทุก 3-5 วันในอัตราส่วน น้ำหมัก 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร เมื่อดินยุบให้ใส่ดินผสมลงไปด้านบน หมั่นสังเกตการเจริญเติบโตเช่นเดียวกันกับการปลูกผักสลัดในรูปแบบอื่นๆ
ปลูกบนพื้นปูน
การดูแลผักบนพื้นปูน ให้รดน้ำเช้าเย็น ในช่วงหน้าแล้งที่อากาศแห้ง คือช่วงสายและช่วงบ่าย สำหรับช่วงหน้าฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ ไม่ควรรดน้ำในระหว่าที่มีแดดจัด ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม โดยเน้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ รวมทั้งปุ๋ยน้ำตามสัดส่วนที่เหมาะสม รดปุ๋ยแต่ละสูตร 3-5 วันต่อครั้ง ให้หมั่นสังเกตการเจริญเติบโตของผักสลัดว่มีการอาการผิดปกติ หรือไม่มีแมลงอะไรรบกวนบ้าง หากมีให้รีบแก้ไข หาวิธีการป้องกันและแก้ไขด้วยวิธีธรรมชาติ
5.ทำไมผักสลัดถึงมีรสขม?
- อายุการเก็บเกี่ยว หากเก็บเกี่ยวช้า ผักที่อายุกินจะมีรสชาติขม เนื่องจากผักสลัดเป็นผักที่มียางสีขาว หากมีปริมาณยางมากหรือเข้มข้น เมื่อผักอายุมากจะมีปริมาณยางสูงทำให้ผักขม (กล้าผัก อายุประมาณ 15-20 วัน อายุผักประมาณ 30 วัน )
- ผักแคระแกร็น ผักขาดสารอาหาร ไม่โตไม่ตาย
- สภาพอากาศที่ร้อนจัด น้ำไม่ถึงอาหารไม่พอ ผักสลัดจะผลิตยางมากกว่าปกติ และมีความเข้มข้นสูง ดังนั้นทำให้ผักสลัดในหน้าร้อนไม่อร่อยเท่ากับผักสลัดในหน้าหนาว
บทความที่เกี่ยวข้อง▶️เพิ่ม
ข้อมูลอ้างอิง
- การเพาะปลูกผักสลัดอินทรีย์ ,สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) , บจก.บางกอกอินเฮ้าส์ , 2563, หน้า 12-30
สินค้าที่น่าสนใจ
ต้นโรสแมรี่เลื้อย
ต้นหญ้าหวาน|
69฿Original price was: 69฿.59฿Current price is: 59฿.ต้นเปปเปอร์มินต์ (Peppermint)
ต้นกะเพราแดง
ต้นพริกขี้หนู
ต้นสะระแหน่
ต้นวอเตอร์เครสเขียว
ต้นผักชีฝรั่ง
ต้นจิงจูฉ่าย
ต้นกระชายขาว
ต้นวอเตอร์เครสแดง
เมล็ดพันธุ์กะเพราแดง
เมล็ดพันธุ์โหระพา
เมล็ดผักสลัดบิ๊กเรดโอ๊ค
เมล็ดพันธุ์กะเพราป่า
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกท้อ
เมล็ดพันธุ์คะน้ายอด
เมล็ดพันธุ์แมงลัก เจียไต๋
เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ
เมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม
เมล็ดพันธุ์บวบงูสเน็กกี้
เมล็ดพันธุ์ผักกะหล่ำปลี
ไตรซาน ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม
สารชีวภัณฑ์เมทาซาน เมทาไรเซียม แอนิโซเพลีย
ชีวภัณฑ์บูเวริน บูเวเรีย บัสเซียน่า
น้ำส้มควันไม้ ทีพีไอ สูตรพรีเมียมโกลด์ ไร้กลิ่น
ไลซินัส พาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส
ไลท์นิ่งค์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส
ลาร์มิน่า บาซิลลัส ซับทิลิส
พีสมอส เอสทีมซุปเปอร์พีท (ตรานกเงือก)
บทความที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️
ปลูกแวววิเชียรให้ออกดอกทั้งปี
การบำรุงแวววิเช...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
เทคนิคการปลูกแววมยุราอย่างมืออาชีพ
เคล็ดลับการปลูก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น
ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน
มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ดอกเดซี่ ดอกมากาเร็ต และดอกคัตเตอร์(แอสเตอร์)ต่างกันอย่างไร
ดอกไม้ยอดนิยม ข...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ทำไมผักแพงในฤดูฝน?
ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู
ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️