ถิ่นกำเนิดของมะเขือยาว
ชื่อสามัญ : Long Eggplant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum melongena var. serpentinum Linn.
ชื่ออื่น
- ภาคเหนือเรียกว่า มะเขือหม้า มะแขวงคม มะแขวง มะเขือป้าว
- ภาคกลางเรียกว่า มะเขือขาว
- กรุงเทพฯ เรียกว่า มะเขือฝรั่ง
- กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียกว่า สะกอวา ยังมูไล่
ถิ่นกำเนิด : แถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ประเทศอินเดียและพม่า
มะเขือยาวเป็นพืชในวงศ์ SOLANACEAE หรือวงศ์มะเขือ เช่นเดียวกับ
👇คลิกอ่านเพิ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ลำต้นเป็นพุ่มสีเขียวหรือสีม่วง มีขนนุ่มและหนามเล็กๆขึ้นตามลำต้น
ใบ
ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออก แบบสลับ ใบรี ขอบใบเว้า ปลายใบแหลม ใต้ท้องใบมีขนนุ่มปกคลุม
ดอก
ดอกมีสีม่วง ออกเป็นช่อหรือดอกเดียว
ผล
ผลกลมยาว มีหลายสี เช่น สีเขียว สีม่วงอ่อน สีม่วงคล้ำ หรือสีขาวแล้วแต่พันธุ์ ผิวเรียบมัน ตรงขั้วมีกลีบเลี้ยงสีเขียว ติดอยู่ เมล็ดขนาดเล็กแบนสีเหลือง มีจำนวนมาก
ชนิดของมะเขือยาวที่นิยมทาน
แบ่งตามลักษณะของทรงผล และสี มีดังนี้
1. มะเขือยาวเขียว
ผลสีเขียว มีความยาวตั้งแต่ 10-25 เซนติเมตร
2. มะเขือยาวม่วง
ผลสีม่วง มีความยาวตั้งแต่ 10-25 เซนติเมตร
3.มะเขือยาวม่วงสั้น
ผลสีม่วงเข้ม มีลักษณะยาวกลม ลูกสั้น ยาวตั้งแต่ 5-10 เซนติเมตร
4. มะเขือยาวขาว
ผลสีขาว มีความยาวตั้งแต่ 10-25 เซนติเมตร
มะเขือยาวเขียว,ม่วง, และ ขาวต่างกันอย่างไร?
ตารางแสดงการเปรียบเทียบ
มะเขือยาวเขียว
- สีผล: เขียวเข้ม
- รูปร่าง:ยาวรี
- เนื้อสัมผัส: หนา
- รสชาติ: หวาน
- เมนู: แกงส้ม, แกงเขียวหวาน, ทอดกระเทียม, ยำมะเขือยาว , ต้มยำ, ลาบ
- ระยะออกผลผลิต: 60-70 วัน
- มีสารคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ซึ่งเป็นสารสีเขียวที่พบในพืช
- สารคลอโรฟิลล์มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
มะเขือยาวม่วง
- สีผล: ม่วง
- รูปร่าง:ยาวรี
- เนื้อสัมผัส: หนา
- รสชาติ: หวานอมขมเล็กน้อย
- เมนู: แกงส้ม, แกงเขียวหวาน, ทอดกระเทียม, ยำมะเขือยาว , ต้มยำ, ลาบ
- ระยะออกผล: 60-70 วัน
- มีสารแอนโธไซยานิน (anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีม่วงที่พบในผักและผลไม้หลายชนิด
- สารแอนโธไซยานินมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน
มะเขือยาวขาว
- สีผล: ขาว
- รูปร่าง:ยาวรี
- เนื้อสัมผัส: หนา
- รสชาติ: หวานอมขมเล็กน้อย
- เมนู: แกงส้ม, แกงเขียวหวาน, ทอดกระเทียม, ยำมะเขือยาว , ต้มยำ, ลาบ
- ระยะออกผล: 60-70 วัน
- มีสารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ซึ่งเป็นสารสีเหลืองหรือสีส้มที่พบในผักและผลไม้หลายชนิด
- สารฟลาโวนอยด์มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์
*หมายเหตุ: ทั้งนี้ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลทั่วไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยพิจารณาจากสายพันธุ์ที่ต่างกัน
ปลูกมะเขือยาวควรปลูกฤดูไหน?
ฤดูร้อน
เป็นช่วงที่มะเขือยาวเจริญเติบโตดีที่สุด
เนื่องจากช่วงนี้มีอุณหภูมิและแสงแดดที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมะเขือยาว โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของมะเขือยาวอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน
อาจต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ
เนื่องจากในช่วงฤดูฝนมีฝนตกชุก อาจทำให้มะเขือยาวเป็นโรคและแมลงศัตรูพืชได้ง่าย ดังนั้นจึงควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ และกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชอย่างทันท่วงที
ฤดูหนาว
มะเขือยาวอาจเจริญเติบโตช้าลง เนื่องจากอุณหภูมิต่ำลง
แต่ก็สามารถปลูกได้เช่นกัน โดยอาจต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และใส่ปุ๋ยเสริมในช่วงที่มะเขือยาวเริ่มออกดอก
วิธีการปลูก และดูแลมะเขือยาวให้ออกลูกดก2
ลักษณะของดิน
- มะเขือยาวปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมะเขือยาวที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี
เตรียมดินปลูก
- เนื่องจากมะเขือยาวเป็นพืชผักยืนต้นที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน มีรากแก้วหยั่งลึกและมีรากฝอยกระจายตามผิวดิน การเตรียมดินปลูกจึงควรใช้ไถดินให้ลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร
- ตากดินไว้ประมาณ 10-15 วันเพื่อฆ่าเชื้อโรคแมลงและวัชพืช หลังจากนั้นให้ทำการไถพรวนแล้วยกแปลงปลูกขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร ยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร ซึ่งทางเดินนี้อาจจะเปลี่ยนเป็นร่องน้ำก็ได้
- หลังจากเตรียมแปลงปลูกเสร็จแล้วให้ขุดหลุมปลูก โดยใช้ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 80 เซนติเมตร ปลูกแปลงละ 2 แถว รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหลุมละ 1 กำมือ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนชา คลุกเคล้าดินและปุ๋ยให้เข้ากันดี รดน้ำเฉพาะที่หลุมปลูกให้ชุ่มแล้ว นำต้นกล้ามาปลูกลงในหลุม
- การปลูก เมื่อต้นกล้ามะเขือยาวอายุได้ประมาณ 30-35 วันให้ ย้ายลงปลูกในแปลงที่ได้เตรียมไว้แล้ว ก่อนย้ายกล้าไปปลูกควรเตรียมต้นกล้าให้แข็งแรงด้วยการงดให้น้ำก่อนย้ายกล้าประมาณ 2-3 วัน
- เมื่อถึงวันย้ายกล้าควรรดน้ำบนแปลงเพาะกล้าให้ชุ่มเพื่อให้เวลาถอนรากของต้นกล้าจะ ไม่กระทบกระเทือนมากนัก ในวันที่มีอากาศมืดครึ่ม ความระมัดระวัง เวลาย้ายปลูกที่เหมาะสมคือเวลาบ่ายถึงเย็น การย้ายกล้าควรขุดให้ดินติดรากมากๆ หลังจากปลูกเสร็จควรรดน้ำตามทันทีและควรใช้วัสดุบังแดดในระยะแรกสัก 2-3 วัน เพื่อให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น หลังปลูกหากมีต้นตายควรรีบซ่อมทันที เพื่อช่วยให้ต้นมะเขือยาวมีการเจริญเติบโตที่ใกล้เคียงกัน
เพาะกล้า
- ก่อนเพาะกล้าควรนำเมล็ดมะเขือยาวมาแช่น้ำ 1 คืน แล้วนำไปห่อผ้าขาวบางเก็บไว้ ในที่ร่มและชิ้นอีก 1-2 คืน เมื่อรากเริ่มงอกให้นำเมล็ดมาเพาะลงแปลงต่อไป
- วิธีการเพาะกล้า โดยใช้ไม้ขีดหลังแปลงเพาะให้เป็นร่องลึก 1-1.5 เซนติเมตร ให้แต่ละร่องหรือแถวห่างกัน 15 เซนติเมตร โรยเมล็ดพันธุ์มะเขือ ยาวให้เป็นแถวแบบเรียงเมล็ด อย่าให้เมล็ดซ้อนกันมากเพราะต้นกล้าจะถี่ เกินไป ทำให้กล้าเน่าได้ง่าย จากนั้นจึงนำขี้เถ้าแกลบหรือปุ๋ยคอกมากลบ คลุม แปลงเพาะด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม ดูแลรักษาและรดน้ำให้ ความขึ้นอยู่เสมอไปจนกระทั่งต้นกล้ามะเขือยาวอายุได้ 30-35 วัน จึงย้ายไป ปลูกในแปลงปลูกต่อไป
การให้น้ำ
- ในช่วงแรกหลังจากปลูกควรใด้มีการให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรให้น้ำมากเกินไปจนเปียกแฉะเพราะจะทำให้มะเขือยาวเน่าเสียหายได้
- ในระยะเริ่มออกดอกและติดผลมะเขือยาวจะต้องการน้ำมาก ถ้าขาดน้ำในช่วงนี้ดอกจะร่วงและไม่ติดผล หรือติดผลแต่ไม่สมบูรณ์ ผลมีขนาดเล็ก สีไม่สด ผลผลิตลดลง เพราะฉะนั้นจึงควรรดน้ำให้ความชื้นแก่มะเขือยาวอยู่เสมอตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว
แสงแดด
- ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก มะเขือยาวชอบแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ดังนั้น การปลูกมะเขือยาวในที่กลางแจ้งจะได้ผลดีกว่าการปลูกในร่มเงา แต่อย่างไร ก็ตามในประเทศไทยสามารถปลูกมะเขือยาวได้ตลอดทั้งปี
การใส่ปุ๋ย
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยไส้เดือน
การใช้ปุ๋ยขี้วัวและปุ๋ยไส้เดือนบำรุงต้นมะเขือยาวเพื่อบำรุงต้น ควรใส่ในอัตราดังนี้
- ปุ๋ยขี้วัว ใส่ในอัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น โรยรอบโคนต้นให้ห่างจากลำต้นประมาณ 5-10 เซนติเมตร ทุก 15-20 วัน
- ปุ๋ยไส้เดือน ใส่ในอัตรา 1-2 ช้อนโต๊ะต่อต้น โรยรอบโคนต้นให้ห่างจากลำต้นประมาณ 5-10 เซนติเมตร ทุก 15-20 วัน
ปุ๋ยขี้วัวและปุ๋ยไส้เดือนเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช มีคุณสมบัติในการปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี ช่วยให้รากพืชสามารถชอนไชและแพร่กระจายได้กว้าง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ใบเขียวเข้ม และติดผลดก
- กรณีใส่ปุ๋ยเคมี: ขณะเตรียมหลุมปลูกให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหลุมละ 1 กำมือ และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนชารองก้นหลุมก่อนปลูก เมื่อต้นมะเขือยาวอายุได้ 15 วันให้ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ โดยหว่านหรือโรยรอบๆโคนต้นแล้วพรวนดินกลบ และใส่ปุ๋ยครั้งที่สามโดยไม่ ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ โดยหว่านหรือโรยรอบๆโคนต้นแล้วพรวนดินกลบ หลังจากใส่ปุ๋ยจะต้องรดน้ำตามทุกครั้ง เพื่อให้ต้นมะเขือยาวได้ดูดธาตุอาหารจากปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้นและลดการสูญเสียของปุ๋ย
พรวนดินและกำจัดวัชพืช
- ในระยะที่ต้นมะเขือยาวยังเล็กอยู่ควรทําการพรวนดินพูนโคนต้น เพื่อให้ดินร่วนโปร่ง ระยาบน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี การพูนโคนจะทำให้ต้นมะเขือไม่ล้มง่าย และให้กำจัดวัชพืชด้วย อย่าปล่อยให้วัชพืชเจริญเติบโตจนแย่งน้ำและอาหารจากต้นมะเขือยาวได้ แต่เมื่อมะเขือยาวเจริญเติบโตจนคลุมแปลงแล้วไม่ควรทำการพรวนดินอีก เพราะจะไปกระทบกระเทือนต่อรากได้ง่าย
การคลุมดิน
- ในช่วงฤดูแล้งควรนำฟางข้าวหรือหญ้าแห้งมาคลุม โคนต้นหรือคลุมแปลงไว้ เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน คลุมวัชพืชในแปลง และยังช่วยรองผลมะเขือยาวไม่ให้เปื้อนดิน ผลไม่สกปรก และไม่ถูกเชื้อโรคเข้าทำลาย
การตัดแต่ง
- ในระยะแรกของการเจริญเติบโตควรมีการตัดแต่งกิ่ง แขนงโดยเฉพาะกิ่งโคนต้นออกบ้าง เหลือไว้เฉพาะกิ่งกระโดง เพื่อให้ต้นมะเขือยาวเจริญเติบโตแข็งแรงและได้รูปทรงที่ดี เมื่อออกดอกติดผลจะได้กระจายไปทั่วต้น และเมื่อต้นมะเขือยาวเจริญเติบโตมากแล้วควรตัดแต่งใบที่อยู่ด้านล่างออกเสียบ้าง
- หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือยาวไปได้ระยะหนึ่ง ต้นอาจจะสูงเกินไปหรือสังเกตเห็นว่าผลผลิตลดลง ขนาดผลเริ่มไม่ได้มาตรฐาน ถ้าสามารถทำได้ควรตัดแต่งต้นมะเขือลงเหลือความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ตัดแต่งใบออกให้หมด ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ พรวนดินและ ให้น้ำสม่ำเสมอ ต้นมะเขือยาวก็จะแตกยอดขึ้นมาใหม่และสามารถเก็บเกี่ยว ผลผลิตได้อีกโดยไม่ต้องปลูกใหม่
การเก็บเกี่ยว
- อายุการเก็บเกี่ยวของมะเขือยาวจะแตกต่างกันใน แต่ละพันธุ์คือประมาณ 60-80 วันหลังย้ายปลูกลงแปลง
- ควรเลือกเก็บในขณะที่ผลไม่อ่อนหรือแก่เกินไป เพราะถ้าผลอ่อนเกินไปจะได้น้ำหนักน้อย และเก็บไว้ได้ไม่นาน ถ้าผลค่อนข้างแก่จะมีคุณภาพต่ำ ถ้าหากมีการดูแลรักษาต้นมะเขือยาวดีจะสามารถทยอยเก็บเกี่ยวผลได้ นาน 6-8 เดือน
โรคและแมลงศัตรูของมะเขือยาว
โรครากและโคนเน่า
- สาเหตุเกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการ โคนต้นและ รากจะเน่าเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ในดินบริเวณโคนต้นจะมีเส้นใยราสีขาว บางส่วนจะเจริญไปเกาะตามโคนต้นและราก จะสังเกตเห็นเม็ดราสีขาว น้ำตาลอ่อน และน้ำตาลแก่ขนาดเท่าเมล็ดผักกาดเกิดปะปนกับเส้นใยรา ต้นมะเขือจะแสดง อาการใบเหลืองและเหี่ยวตาย
▶️การป้องกันกำจัด ไม่ควรปลูกมะเขือซ้ำที่เดิม ขุดต้นมะเขือที่เป็นโรคและดินบริเวณที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
- ป้องกันโดยใช้สารชีวภัณฑ์ เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือ เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส
- ป้องกันแบบเคมี: ใช้สารเคมี เช่น เทอราคลอ เทอราโซล หรือบราสสิโคล ผสมน้ำราดในหลุมที่เป็นโรค หรืออาจจะผสมน้ำ ราดโคนต้นลงไปในดินแล้วราดน้ำตาม
โรคใบไหม้
- สาเหตุเกิดจากเชื้อรา ระบาดในช่วงที่ฝนตกติดกันหลายวันหรือในช่วงที่มีหมอกลงจัด หากมะเขือเกิดโรคนี้จะทำให้ส่วนของใบอ่อน ดอก และผล เน่าเป็นสีน้ำตาลไหม้
▶️การป้องกันกำจัด ถ้าพบไม่มากควรตัดกิ่งที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
- ป้องกันโดยใช้สารชีวภัณฑ์ เชื้อราไตรโคเดอร์มา , เชื้อราบิวเวอร์เรีย, หรือ เชื้อราเมตาไรเซียม
- ถ้ารุกรามมาก ป้องกันแบบเคมี: หากพบมากให้ฉีดพ่นด้วยเบนโนมิ
โรคผลเน่า
- สาเหตุเกิดจากการขาดธาตุแคลเซียมและการให้น้ำไม่สม่ำเสมอ ผลจะเกิดอาการเน่าที่ปลายผล เน่าแบบแห้งหรือเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อจะนุ่มลึกลงไปต่ำกว่าระดับผิวผลเล็กน้อย ขนาดแผลจะขยายใหญ่ขึ้น เรื่อยๆ ในที่สุดผลจะเน่าและร่วงหล่น
▶️การป้องกันกำจัด
- ป้องกันโดยใช้สารชีวภัณฑ์ เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือ เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส
- ถ้ารุกรามมาก ป้องกันกำจัดแบบเคมี : โดยให้น้ำแก่มะเขือยาวในช่วงติดดอกออกผลอย่างสม่ำเสมอ ฉีดพ่นด้วยสารละลายแคลเซียมโดยใช้แคลเซียมไนเตรทหรือ แคลเซียมคลอไรด์ อัตรา 1-0.2 เปอร์เซ็นต์ ฉีดพ่น 7-14 วัน/ครั้ง และ ใช้น้ำปูนใสเจือจางฉีดพ่นประมาณ 7-14 วัน/ครั้ง ในช่วงตั้งแต่ติดดอกออกผล จนถึงเก็บเกี่ยว
🕷️เพลี้ยจักจั่นฝ้าย
- เพลี้ยจักจั่นฝ้าย ตัวเต็มวัยมีรูปร่างยาวรี ขนาดเล็ก มีสีเขียวจาง ปีกโปร่งใส มีจุดสีดำอยู่กลางปีกข้างละจุด เคลื่อนไหวและบินได้รวดเร็วมาก เมื่อถูกรบกวน วางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ตามบริเวณเส้นใบหรือก้านใบ ตัวอ่อนที่ ฟักออกจากไข่มีสีเขียวอมเหลืองจาง เมื่อโตเต็มที่เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ทําลาย มะเขือโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบ ทำให้ใบไหม้และผลผลิตลดลง
▶️การป้องกันกำจัด
- ป้องกันโดยใช้สารชีวภัณฑ์ เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือ เชื้อราเมตาไรเซียม
- หากพบการระบาดให้ใช้สารเคมี เช่น เทลสตาร์, แอนดาลิน, คาราเต้, คัตเตอร์, ฟาร์ซอน เป็นต้น ฉีดพ่นทุก 5-7 วันติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
- หมายเหตุ: ไม่ควรปลูกมะเขือยาวใกล้กับกระเจี๊ยบเขียวและ ฝ้าย
🐛หนอนเจาะผลมะเขือ
- ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อ โดยผีเสื้อจะวางไข่ ตามยอดอ่อนหรือดอก ต่อมาเมื่อตัวหนอนออกจากไข่ก็จะกัดกินใบอ่อนและ ดอก เมื่อตัวหนอนมีขนาดใหญ่ขึ้นจะเจาะผลทำให้ผลเสียคุณภาพหรือเน่าเสีย จำหน่ายไม่ได้
▶️การป้องกันกำจัด
- ป้องกันโดยฉีดพ่นผลด้วยน้ำสกัดเมล็ดสะเดา หรือ เชื้อแบคทีเรียบีที(บาซิลลัส ทูริงเยนซิส)
- ป้องกันแบบเคมี: โพรไทโอฟอส (โตกุไธออน 50% EC). คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20% EC) ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน เมื่อพบยอดอ่อนถูก ทำลาย (เทียว) 3-5 เปอร์เซ็นต์ หรือผลอ่อนถูกทำลาย 5-10 เปอร์เซ็นต์ และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 7-10 วัน
- หมายเหตุ: ไม่ควรปลูกมะเขือยาวใกล้กับฝ้าย ยาสูบ และ มะเขือเทศ
คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว
คุณค่าทางอาหาร
- มะเขือยาว 100 กรัม ให้พลังงาน 26 กิโลแคลอรี
- ประกอบด้วย เส้นใย 2.30 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม แคลเซียม 15 มิลลิกรัม เหล็ก 0.40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามิน บี2 0.08 มิลลิกรัม วิตามินซี 4 มิลลิกรัม
บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️
ข้อมูลอ้างอิง
- ผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน, นิดดา หงษ์วิวัฒน์, ทวีทอง หงส์วิวัฒน์, สุภาพรรณ เยี่ยมชัยภูมิ , สำนักพิมพ์แสงแดด, 2550, หน้า 197
- คู่มือการปลูกผัก, ชำนาญ เขียวอำไพ, สำนักพิมพ์เกษตรสยาม, 2557, หน้า 105-111
สินค้าที่น่าสนใจ
ต้นโรสแมรี่เลื้อย
ต้นหญ้าหวาน|
69฿Original price was: 69฿.59฿Current price is: 59฿.ต้นเปปเปอร์มินต์ (Peppermint)
ต้นกะเพราแดง
ต้นพริกขี้หนู
ต้นสะระแหน่
ต้นวอเตอร์เครสเขียว
ต้นผักชีฝรั่ง
ต้นจิงจูฉ่าย
ต้นกระชายขาว
ต้นวอเตอร์เครสแดง
เมล็ดพันธุ์กะเพราแดง
เมล็ดพันธุ์โหระพา
เมล็ดผักสลัดบิ๊กเรดโอ๊ค
เมล็ดพันธุ์กะเพราป่า
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกท้อ
เมล็ดพันธุ์คะน้ายอด
เมล็ดพันธุ์แมงลัก เจียไต๋
เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ
เมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม
เมล็ดพันธุ์บวบงูสเน็กกี้
เมล็ดพันธุ์ผักกะหล่ำปลี
ไตรซาน ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม
สารชีวภัณฑ์เมทาซาน เมทาไรเซียม แอนิโซเพลีย
ชีวภัณฑ์บูเวริน บูเวเรีย บัสเซียน่า
น้ำส้มควันไม้ ทีพีไอ สูตรพรีเมียมโกลด์ ไร้กลิ่น
ไลซินัส พาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส
ไลท์นิ่งค์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส
ลาร์มิน่า บาซิลลัส ซับทิลิส
พีสมอส เอสทีมซุปเปอร์พีท (ตรานกเงือก)
บทความที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️
ปลูกแวววิเชียรให้ออกดอกทั้งปี
การบำรุงแวววิเช...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
เทคนิคการปลูกแววมยุราอย่างมืออาชีพ
เคล็ดลับการปลูก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น
ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน
มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ดอกเดซี่ ดอกมากาเร็ต และดอกคัตเตอร์(แอสเตอร์)ต่างกันอย่างไร
ดอกไม้ยอดนิยม ข...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ทำไมผักแพงในฤดูฝน?
ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู
ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️