มะเขือพวง มีนักวิจัยมากมายได้ค้นพบสารบางชนิดที่ช่วยยับยั้งอาการ ของโรคได้ และนำมาเป็นยาสมุนไพรที่นานาชาติให้การยอมรับ และนับวัน มีการแปรรูปในลักษณะต่างๆ เป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อหา มากิน อย่างนำเอามะเขือพวงไปแปรรูปเป็นชาชงดื่มแก้อาการของโรคเบาหวาน และอีกหลายโรค
1. ประวัติความเป็นมาของมะเขือพวง1
มะเขือพวงมีถิ่นกำเนิดใน Antilles ตั้งแต่เขตฟลอริดา หมู่เกาะเวสต์อินดีส์ เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล เป็นวัชพืช ขึ้นกระจัดกระจายเกือบทั่วเขตร้อน ปัจจุบันพบในทวีปแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิกไกลถึงมลรัฐฮาวายในสหรัฐอเมริกา แต่เป็นพืชเพาะปลูกเป็นอาหารในแถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum torvum Sw.
- ชื่อวงศ์ SOLANACEAE
- ชื่อสามัญ Plate brush egg plant
- ภาษาอังกฤษมีหลายชื่อเรียก Turkey berry, Devil’s g, Prickly night shade, Shoo-shoo bush, Pea egg plant
- แถบแคริบเบียนเรียก Susumba
- ภาษาทมิฬและอินเดียใต้เรียก Sundakkai
- ประเทศอินโดนีเซียเรียก Tokokak pokak (ชวา) Terong pipit
- ประเทศมาเลเซียเรียก (สุมาตรา) Terong pipit,Terong rembang
- ประเทศฟิลิปปินส์เรียก Tagapasin (ภาษา Tagalog)
- คนจีนเรียก เกียจี้
- ชื่อท้องถิ่นที่เรียกกันในแต่ละภาค
- ภาคเหนือเรียก
- มะแคว้งกุลา, มะแคว้งกลัว, มะแคว้งกลา
- ภาคอีสานเรียก หมากแข้ง
- จังหวัดนครราชสีมาเรียก มะเขือละคร
- ภาคใต้เรียก เขือน้อย เขือพวง ลูกแว้ง และเขือเทศ
- จังหวัดสงขลาเรียก มะแว้งช้าง
- ภาคกลางเรียก มะเขือขาว มะเขือจานมะพร้าว มะเขือ กระโปกแพะ มะเขือจาน
- กรุงเทพฯ เรียก มะเขือฝรั่ง
- กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก สะกอวา ยั่งมูไล่
- นอกจากนี้ยังมีการเรียกอีกหลายชื่อ ซึ่งล้วนแต่มีความหมายเดียวกัน ทั้งนั้น อาจเป็นเพราะต่างถิ่น ต่างภาษา และต่างวัฒนธรรม การเรียกชื่อจึงไม่ เหมือนกัน เช่น รับจงกลมปอลอ, ปอลือ, เพื่อข้อย, ตะโกงลาโน, จะเคาะค่ะ มะแขว่ง, มะแข้งคม, มะเขือป้าว
2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะเขือพวงเป็นพืชผักที่มีอายุหลายปี อยู่ในวงศ์ของพืชพวก🌶️พริก และ 🍆มะเขือต่างๆ
มะเขือพวงมีลักษณะพิเศษบางประการต่างจากมะเขือชนิดอื่นๆ คือเป็นไม้พุ่มยืนต้นข้ามปี ไม่ใช่พืชล้มลุกเหมือนกับมะเขือชนิดอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีขนาดใหญ่โตกว่ามะเขือชนิดอื่นๆ ด้วย เพราะมีทรงพุ่มสูง ตั้งแต่ 1-2 เมตร
มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้
ดอก
ดอกออกเป็นกระจุกหรือเป็นพวงสีขาว ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาวมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวโคนกลีบ ดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมียสีเหลืองติดอยู่กับ หลอดของกลีบดอก หรือเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ผล
รูปร่างกลมเล็กเป็นพวง ผิวเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลแก่สีเขียวเข้ม เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง หรือส้มแดง ภายในมีเมล็ดเล็กๆ จํานวนมาก เมล็ดมีลักษณะกลมแบนสีขาว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล
ใบ
มะเขือพวงเป็นพืชใบเดี่ยวมีลักษณะเป็นรูปรีหรือไม่ก็รูปไข่ ปลายใบ แหลม การเรียงใบเป็นแบบเวียน ขอบใบหยัก 6-8 หยัก โคนใบเบี้ยว ใบกว้าง ประมาณ 5 – 15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 – 25 เซนติเมตร ก้านใบยาว 4 – 8 เซนติเมตร หน้าใบ ผิวใบเรียบ มีขนนุ่มเล็กน้อย หลังใบมีขนนุ่มปกคลุม ทั่วใบมีหนามเล็กสั้นๆ ตามแนวเส้นใบ เส้นใบเป็นแบบร่างแห
ลำต้น
เป็นไม้พุ่มเล็กสูงประมาณ 1- 2 เมตร ลำต้นตั้งตรงมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ไปทั่ว ลำต้นและใบมีหนามสั้นเล็กๆ เรียงรายขึ้นทั่วไป แตกกิ่งก้านสาขามาก ล่าต้นช่วงอายุแรกปลูก – 6 เดือน จะมีสีเขียว เมื่ออายุมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสี น้ำตาลแกมเขียว
ราก
มะเขือพวงจะมีระบบรากเป็นระบบรากฝอย (Fibrous root system) ซึ่งพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวเมื่องอก ออกจากเมล็ด มีรากแก้ว แต่รากแก้วจะสลายไป ประกอบด้วยรากที่มีขนาด ใกล้เคียงกันจำนวนมาก
ซึ่งรากดังกล่าวเจริญเติบโตและพัฒนามาจากเซลล์ ที่อยู่ปลายสุดของลำต้น ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ก็อาจเรียกได้ว่า adventitious root ได้ด้วย รากฝอยบริเวณโดนรากมีขนาดใกล้เคียงกับปลายราก และมักจะมีการเจริญขนานไปกับพื้นดิน ซึ่งแตกต่างจากระบบรากแก้วที่มักเจริญลงด้านล่างลึกลงไปในดิน เพื่อดูดน้ำและแร่ธาตุ ตัวอย่างพืชระบบรากฝอย ได้แก่ หญ้า ข้าวโพด พริก มะเขือต่างๆ มะพร้าว เป็นต้น
มะเขือพวงเป็นพืชผักพื้นบ้าน สามารถปลูกได้ง่าย ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย อีกทั้งเป็นพืชที่มีอายุยาวนานมากกว่าหนึ่งฤดูกาล ให้ผลผลิตตลอดปี นิยมปลูกเป็นพืชผักสวนครัว
3.การปลูกและการดูแลมะเขือพวง
3.1. การปลูกแบบเพาะเมล็ด
การเตรียมดิน
- โดยการไถตากดินไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ขึ้นแปลงขนาดกว้างประมาณ 1.20 เมตรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1-2 ต้น/ไร่
การเพาะกล้า
- นำเมล็ดพันธุ์มะเขือพวงไปแช่น้ำ แล้วห่อด้วยผ้าหมาดๆ ทิ้งไว้ 1-2 วัน หรืออาจจะแช่น้ำอุ่นประมาณ 40- 50 องศาเซลเซียส นานประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วจึงนำมาห่อผ้าหมาด เป็นวิธีการเร่งให้งอกเร็วขึ้น
- ควรนำเมล็ดลงเพาะในแปลงเพาะ หรือกระบะเพาะ หมั่นรดน้ำดูแลจนอายุได้ประมาณ 1 เดือน สามารถนำไป ปลูกได้
การปลูก
- ปลูกโดยใช้ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1.5 เมตร ระยะระหว่างแถว ประมาณ 2 เมตร
การใส่ปุ๋ย
- หลังปลูกประมาณ 2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยยูเรีย โดยการผสมน้ำรด และทุกๆ 20 – 30 วัน จะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราประมาณ 25-30 กิโลกรัม/ไร่/ครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาการใส่ปุ๋ยควรพิจารณาจากต้น และลักษณะการเจริญเติบโตของพืชเป็นหลัก
การเก็บเกี่ยว
- เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 80 – 90 วัน หลังย้ายปลูก และทยอยเก็บเกี่ยวได้เรื่อยๆ เมื่อต้นอายุมากขึ้น เริ่มทรุดโทรม สามารถทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้มีการแตกกิ่งก้านและให้ผลผลิต ใหม่ได้อีก
🍆9 สายพันธุ์มะเขือเปราะยอดนิยมที่ควรปลูก
3.2. การปลูกแบบตอนกิ่ง
มะเขือพวงสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด, การปักลำต้น, การปักชำราก, การปักชำยอด, การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่โดยทั่วไปที่เราเห็นกันมากที่สุดก็คือมะเขือพวงเป็นพืชที่งอกขึ้นเองตาม ธรรมชาติ ไม่แน่นอน บางทีอาจเป็นธรรมชาติที่สร้างมา ด้วยการนำของนก หรือสัตว์อื่นที่กินเรี่ยราดแล้วไปงอกเงยตามแหล่งต่างๆ การเพาะเมล็ดเองทำได้ แต่ได้ต้นกล้าน้อยมาก หากต้องการขยายพันธุ์และต้องการให้ได้มะเขือพวงที่ ตรงตามพันธุ์ควรใช้วิธีการปักชำ หรือตอนกิ่ง จะได้ต้นมะเขือพวงจำนวนมาก ในเวลาอันรวดเร็ว และเป็นอาหารอันดีของมนุษย์เรา อีกทั้งมีประโยชน์ มากมายล้วนแต่มีคุณค่าทั้งนั้น มะเขือพวงสามารถปลูกได้ทุกภาคของ ประเทศไทย และปลูกได้ตลอดปี ขึ้นได้ดีในฤดูฝน
การเตรียมดิน
- การปลูกมะเขือพวงสามารถปลูกได้ทั้งปลูกแบบยกร่องเป็นแปลง หรือ ปลูกเป็นหลุมๆ และการเพาะเมล็ดในกระบะ ในกระถางหรือในถุง เมื่ออายุได้ 1 เดือน จึงย้ายไปปลูก ระยะปลูกระหว่างต้น 2-3 เมตร ระยะระหว่างแถว 3-4 เมตร ควรเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกไว้ให้เรียบร้อย และควรวางแผนในการปลูกให้ดี
การตอนกิ่ง
- อายุการเก็บเกี่ยว 120 วัน เก็บเกี่ยวได้นาน 12 เดือนหรือมากกว่านั้น หลังจากเก็บผลแล้ว ควรมีการตบแต่งกิ่ง พรวนดินและใส่ปุ๋ย จะสามารถยึด อายุในการเก็บเกี่ยวได้นานถึง 2 ปี หรือมากกว่านั้น
การเก็บเกี่ยว
- เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 80 – 90 วัน หลังย้ายปลูก และทยอยเก็บเกี่ยวได้เรื่อยๆ เมื่อต้นอายุมากขึ้น เริ่มทรุดโทรม สามารถทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้มีการแตกกิ่งก้านและให้ผลผลิต ใหม่ได้อีก
แมลงศัตรูมะเขือพวง
- แมลงที่สร้างปัญหาสำหรับคนที่ปลูกมะเขือพวงคือ เพลี้ยและหนอน อาจจะใช้น้ำหมักชีวภาพสะเดาสกัดผสมน้ำ รดวันเว้นวันเพื่อป้องกันเพลี้ยและหนอนได้ นอกจากนี้มะเขือพวงเป็นพืชทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศไทย ไม่ค่อยมีโรครบกวนมากนัก
4. คุณค่าทางโภชนาการมะเขือพวง 100 กรัม ประกอบด้วย
- พลังงาน (Energy) 10 กิโลแคลอรี่
- น้ำ(Water) 81.6 กรัม
- โปรตีน (Protein) 2.8 กรัม
- ไขมัน (Fat) 0.6 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) 7.4 กรัม
- กากใย (Dietary bre,Crude ber) 6.1 กรัม
- เถ้า (Ash) 1.2 กรัม
- แคลเซียม (Calcium) 158 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส (Phosphorus) 110 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก (Iron) 7.1 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 1 (Thiamin) 0.17 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 (Riboavin) 0.09 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 (Niacin) 2.6 มิลลิกรัม
- วิตามินซี (Vitamin C) 4 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ (Vitamin A) 554 IU
5.สารสําคัญในมะเขือพวง2
ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient)
หมายถึง สารอาหาร ได้จากพืช ซึ่งต่างจากนิวเทรียนท์ (Nutrient) คือ เมื่อร่างกายอยู่ใน สภาวะปกติ ไฟโตนิวเทรียนท์จะไม่มีผลใดๆ ต่อร่างกาย แต่เมื่อร่างกาย เกิดสภาวะขาดแคลน สารอาหารเหล่านี้จะช่วยปรับปรุง และฟื้นฟู สภาพร่างกายให้ดียิ่งขึ้น สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ สารที่ สำคัญ คือ ทอร์โวไซด์ A, H และซาโปนิน
ทอร์โวไซด์ (Torvoside)
สามารถลดระดับคอเลสเตอรอล ในกระแสเลือด เนื่องจากมีโครงสร้างของสารที่คล้ายกับคอเลสเตอรอล จึงช่วยในการดูดซึมคอเลสเตอรอลที่ลำไส้ กระตุ้นให้ตับนำคอเลสเตอรอล ในเลือดไปใช้ได้มากขึ้น รวมทั้งการยับยั้งการดูดซึมกลับของคอเลสเตอรอล ในลำไส้อีกด้วย จึงช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด และมีผลต่อ ระบบการแข็งตัวของเลือดด้วย
ซาโปนิน (Saponin)
เป็นไฟโตนิวเทรียนท์ที่พบในมะเขือพวง โดยสาร Torvonin B เป็นซาโปนินชนิดหนึ่งที่ทำให้มะเขือพวงมีฤทธิ์ ขับเสมหะ ลักษณะเด่นของสารซาโปนิน คือ สามารถเกิดฟองได้เมื่อนำ ไปละลายน้ำ เนื่องจากเป็นสารที่ลดแรงตึงผิว จึงนำไปเป็นยาเสริม สร้างภูมิคุ้มกัน เพราะสามารถทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเป็นรูได้ ทำให้แอนติบอดีในร่างกายสามารถเข้าไปในเซลล์ของเชื้อโรคได้
อัลคาลอยด์ (Alkaloids)
หมายถึง สิ่งที่เป็นเหมือนด่าง หรือด่างจากพืช อัลคาลอยด์มีฤทธิ์เป็นด่าง ส่วนมากจะเป็นของแข็ง และเป็นผลึกที่มีจุดหลอมเหลวเฉพาะ มีรสขม ไม่มีสี และสลายตัวง่าย หากโดนความร้อนนานๆ มีฤทธิ์ต่อประสาท แต่มีผลต่ออวัยวะต่างกัน ถ้ารับประทานมะเขือพวงเกิน 200 ผลในคราวเดียว อาจก่อให้เกิด อันตรายต่อตับได้
6.ข้อควรระวังในการรับประทานมะเขือพวง
ไม่ควรบริโภคมะเขือพวงสดติดต่อกัน เนื่องจากมีฤทธิ์สะสม ของสารอัลคาลอยด์ที่ตับได้ สารนี้เมื่อผ่านความร้อนจะสลายไปบาง ส่วน สารนี้ละลายน้ำได้ยาก จึงแนะนำให้บริโภคเฉพาะส่วนของน้ำ มะเขือพวง ไม่ควรกินกาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสะสมของอัลคาลอยด์
7.มะเขือพวงกินดิบได้ไหม?
ผลดิบของมะเขือพวงใช้เป็นยาแก้ไอ ขับปัสสาวะ และช่วยย่อยอาหาร และนำมะเขือพวงดิบมากินเป็นอาหารเช่นทำน้ำพริก รากของมะเขือพวงใช้รักษาโรคฝ่าเท้าแตก หรือโรคตาปลา
8.สรรพคุณของมะเขือพวง 1
ส่วนของมะเขือพวงที่นำมาใช้ คือ ผลอ่อนที่มีสีเขียว โดยทั่วไปมัก ใช้เป็นผักจิ้ม หรือใช้ประกอบอาหารไทยหลากหลายเมนู ล้วนแต่ให้ความอร่อย นอกจากใช้เป็นผักพื้นบ้าน ซึ่งเป็นผักใบเขียวแล้ว มะเขือพวงยังมีประโยชน์ต่อ มนุษย์ในด้านที่เป็นสมุนไพรรักษาโรคบางชนิดได้ เช่น ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร และช่วยเรื่องระบบการขับถ่าย เป็นต้น
“มะเขือพวง” มีสรรพคุณด้านสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคได้มากมาย ด้วยความที่เป็นสมุนไพรนั่นเอง จึงทำให้การใช้มะเขือพวงนั้นไม่ปรากฏอาการ ข้างเคียงเหมือนยาเคมีสังเคราะห์อื่นๆ ดังนั้น การใช้มะเขือพวงเป็นยาสมุนไพร จึงง่าย และปลอดภัย รวมทั้งยังใช้เป็นอาหารประจำได้อีกด้วย เพื่อเป็นการ ป้องกันและได้คุณค่าทางอาหารไปพร้อมๆ กัน
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของมะเขือพวงคือ ผลอ่อน ล่าต้น ใบ เมล็ด และราก ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
- ผลและผลอ่อนมะเขือพวง หรือที่เรียกว่า ลูกมะเขือพวง มีรสขื่น เฝื่อน เปรี้ยวเล็กน้อย นำมาต้มเอาน้ำกิน มีสรรพคุณใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วย ย่อยอาหาร แก้เบาหวาน และให้คุณประโยชน์สำหรับผู้ที่มีตับและม้ามผิดปกติ มีคำแนะนำ ให้นำผลมะเขือพวงมาตำคั้นเอาแต่น้ำแล้วผสมกับเกลือ ใช้อม กลั้วคอแก้ไอได้เป็นอย่างดี
- เมล็ดในผล นำมาเผาไฟ เอาควันสูดดมแก้ปวดฟันได้
- ใบ โดยการใช้ใบสดมาตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็นแผล โดยใช้ ห้ามโลหิต แก้ฝีบวมมีหนอง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ช่วยในการระงับประสาท แก้ ปวดฟกช้ำ ซัก ไอ หืด ปวดข้อ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร และ ลดความดันโลหิตได้
- ลำต้น นำมาต้มเอาน้ำกิน มีสรรพคุณในการเป็นยาช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ปวด แก้ฟกช้ำ และทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี
- ราก ใช้รากสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกเท้าที่แตกเป็นแผล หรือโรค ตาปลา นอกจากนี้ยังใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ ขับเสมหะได้อีกด้วย
9.มะเขือพวงมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?
- มะเขือพวง 100 กรัม มีธาตุเหล็กประมาณ 43 มิลลิกรัม ซึ่งสูงกว่าปริมาณธาตุเหล็กที่พบในเลือดไก่ และผักโขมซึ่งถือว่าเป็นผักใบเขียวที่มีธาตุ เหล็กสูงในอันดับต้นๆ ถึง 1 เท่าตัว
- มะเขือพวง 1 ถ้วยตวง มีธาตุแคลเซียมประมาณ 299 มิลลิกรัม ซึ่งสูงกว่าปริมาณธาตุแคลเซียมที่พบในนมสดยูเอชที 1 กล่อง (240 มล.) ซึ่งมีปริมาณแคลเซียม 240 มิลลิกรัม
- ผลของมะเขือพวง จะมีรสขื่น เฝื่อน อมเปรี้ยวเล็กน้อย นิยมนำผลมาต้มกับน้ำแล้วกรองดื่มเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำ มีสรรพคุณในการขับเสมหะ ช่วยระบบย่อยอาหาร รักษาอาการเบาหวาน (ไฟเบอร์) มะเขือพวง ราชาแห่งผักพื้นบ้านในเรื่องสารเส้นใย
10.เมนูอาหารจากมะเขือพวง
แกงเผ็ดหมูมะเขือพวง
ส่วนผสม
- มะเขือพวง 5 ขีด
- พริกหยวก 2 เม็ด
- พริกชีฟ้า 2 เม็ด
- ใบโหระพา 2 ต้น
- ใบมะกรูด 5 ใบ
- เนื้อมะพร้าวขูด ½ กิโลกรัม (สําหรับใช้คันกะทิ)
- เนื้อหมู ½ กิโลกรัม
- พริกแกงเผ็ด 3 ช้อนโต๊ะ
- เกลือป่น ½ ช้อนชา
- น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะครึ่ง
- น้ำตาลปี๊บ 1/2 ช้อนชา
- น้ำเปล่า 5 ทัพพี
วิธีทำ
- หั่นเนื้อหมู เด็ดมะเขือพวง นั่นพริกหยวก พริกชี้ฟ้า นั่นซอยใบมะกรูด แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นคั้นเอาหัวกะทิ ตั้งไฟจนเดือด ส่วนกะทิที่ เหลือคนเก็บเอาน้ำไว้
- เอาพริกแกงใส่ครก ใส่กะปินิดหนึ่งเพื่อเพิ่มความอร่อย ตำโขลกให้ เป็นเนื้อเดียวกัน กะทิเดือด ตักเอาพริกแกงใส่ลงในหม้อ แล้วคนให้เป็นเนื้อ เดียวกัน ตั้งให้เดือดอีกครั้ง
- จากนั้นให้เอาเนื้อหมูที่หั่นสะเด็ดน้ำแล้วใส่ลงในหม้อทันที อย่าใช้ จวักคน ปล่อยไว้อย่างนั้นจนเดือดอีกรอบแล้วค่อยคนให้เนื้อหมูเข้ากันดีกับ พริกแกงและกะทิ
- เนื้อหมูสุกใส่กะทิที่เราคั้นเก็บไว้ ตั้งให้เดือดอีกครั้ง เติมเครื่องปรุง รสตามใจชอบ จากนั้นใส่มะเขือพวง ใบมะกรูดหั่นฝอย พริกหยวก พริกชี้ฟ้า ใช้ไฟอ่อนๆ ชิมรสชาติว่าถูกปากหรือยัง หากยังให้ใส่เครื่องปรุงอีก ก่อนที่จะ ปิดไฟให้ใส่ใบโหระพา
บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลอ้างอิง
1.สุดยอดมหัศจรรย์ ผักพืชบ้านต้านโรค ฟักข้าว และมะเขือพวง, สุทธิชัย ปทุมล่องทอง,สำนักพิมพ์ feel good, 2556, หน้า 84-160
2.สมุนไพรในครัว ประโยชน์ใกล้ตัวคุณ,มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร,สำนักพิมพ์ไพลิน, 2556, หน้า76-77
สินค้าที่น่าสนใจ
ต้นโรสแมรี่เลื้อย
ต้นหญ้าหวาน|
69฿Original price was: 69฿.59฿Current price is: 59฿.ต้นเปปเปอร์มินต์ (Peppermint)
ต้นกะเพราแดง
ต้นพริกขี้หนู
ต้นสะระแหน่
ต้นวอเตอร์เครสเขียว
ต้นผักชีฝรั่ง
ต้นจิงจูฉ่าย
ต้นกระชายขาว
ต้นวอเตอร์เครสแดง
เมล็ดพันธุ์กะเพราแดง
เมล็ดพันธุ์โหระพา
เมล็ดผักสลัดบิ๊กเรดโอ๊ค
เมล็ดพันธุ์กะเพราป่า
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกท้อ
เมล็ดพันธุ์คะน้ายอด
เมล็ดพันธุ์แมงลัก เจียไต๋
เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ
เมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม
เมล็ดพันธุ์บวบงูสเน็กกี้
เมล็ดพันธุ์ผักกะหล่ำปลี
ไตรซาน ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม
สารชีวภัณฑ์เมทาซาน เมทาไรเซียม แอนิโซเพลีย
ชีวภัณฑ์บูเวริน บูเวเรีย บัสเซียน่า
น้ำส้มควันไม้ ทีพีไอ สูตรพรีเมียมโกลด์ ไร้กลิ่น
ไลซินัส พาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส
ไลท์นิ่งค์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส
ลาร์มิน่า บาซิลลัส ซับทิลิส
พีสมอส เอสทีมซุปเปอร์พีท (ตรานกเงือก)
บทความที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️
ปลูกแวววิเชียรให้ออกดอกทั้งปี
การบำรุงแวววิเช...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
เทคนิคการปลูกแววมยุราอย่างมืออาชีพ
เคล็ดลับการปลูก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น
ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน
มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ดอกเดซี่ ดอกมากาเร็ต และดอกคัตเตอร์(แอสเตอร์)ต่างกันอย่างไร
ดอกไม้ยอดนิยม ข...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ทำไมผักแพงในฤดูฝน?
ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู
ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️