รสชาติอาหาร ขนม เป็นสิ่งที่รัญจวนใจเสมอ แต่เมื่อทานไป บางครั้งก็นึกถึงว่าจะกระทบสุขภาพรึเปล่า แต่มันก็ยับยั้งห้ามใจลำบากเหลือเกิน เมื่อทานอร่อยก็หยุดไม่อยู่ แน่นอนว่า ความหวานเป็นบ่อเกิดของหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดัน ถ้ากังวลเช่นนั้นแต่ยังอยากกินหวาน มาหาทางออกเรื่องหวานๆด้วย สมุนไพรทางเลือก “หญ้าหวาน” ถ้าปลูกกินเองได้ ก็คงดี คงเด็ดมาทานเป็นประจำในเมนูต่างๆๆ ไม่ว่าจะใส่ในเครื่องดื่มกาแฟยามเช้า, อาหารต่างๆ เพื่อให้มีรสหวานโดยไร้น้ำตาล
หญ้าหวาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni เป็นพืชพื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิล และปารากวัย เป็นพืชล้มลุกอายุประมาณ 3 ปี เป็นพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 30-50 ซม. ลำต้นแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบหอกกลับ ใบมีรสหวาน ดอกเป็นช่อสีขาว เติบโตได้ดีในอุณหภูมิระหว่าง 20-50 องศาเซลเซียส ชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และระบายน้ำได้ดี
มารู้จัก”ต้นหญ้าหวาน
สารบัญ
หญ้าหวาน สมุนไพรเพื่อคนรักสุขภาพ
เนื่องจากในใบหญ้าหวานมีสารชื่อสติวิโอไซด์ (stevioside) เป็นสารที่มีรสหวาน คล้ายกับน้ำตาลทราย และมีระดับความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครสประมาณ 200-300 เท่า และไม่มีแคลอรี่ สตีวิโอโซด์ มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสหวาน สามารถละลายน้ำได้ การที่สตีวิโอไซด์ไม่ถูกนำไปใช้เป็นพลังงานโดยเซลล์ จึงไม่ให้แคลอรี่ ไม่ทำให้อ้วน จุลินทรีย์ไม่ใช้สารนี้เป็นอาหาร จึงทำให้อาหารไม่บูดเน่า และยังมีผลทำให้ฟันไม่ผุ หรือเหงือกอักเสบได้ง่าย จึงถูกนำมาทำเป็นส่วนผสมของอาหาร หรือเครื่องดื่ม ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก เพื่อป้องกันฟันผุ
มีผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมากมายที่มีส่วนผสมของหญ้าหวาน ที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลทราย และน้ำตาลธรรมชาติอื่น เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และ โรคฟันผุ
ลักษณะและการปลูกของหญ้าหวาน
ต้นหญ้าหวาน เป็นพื้นที่เป็นพุ่มทรงไม่สูง ทรงเลื้อยเล็กๆๆ สามารถปลูกในกระถาง หรือพื้นที่จำกัดได้ ความสูงประมาณ 12-15 นิ้ว ด้วยประโยชน์ที่มีรสหวาน แต่ไม่มีแคลอรี่ จึงทำให้นิยมปลูกบริโภคกันมาก ส่วนใหญ่นิยมใช้ใบสด แห้ง หรือ บด ผสมอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ลองหามาปลูก เพราะมีประโยชน์มาก
ลักษณะของต้นหญ้าหวานมีดังนี้
คุณสมบัติ | ลักษณะ |
สมุนไพร | หญ้าหวาน (Stevia) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Stevia rebaudiana Bertoni |
แสงแดด | ชอบแสงแดดปานกลาง |
ชนิดของดินที่ชอบขึ้น | ดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี |
การให้น้ำ | ควรให้น้้าทุกวัน วันละ 1 ครั้ง หรืออย่าง น้อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง |
สีดอก | มีช่อดอกสีขาว |
เดือนที่เหมาะสมแก่การปลูก | ปลูกได้ทั้งปี แต่ปลูกได้ผลดีในช่วง ตุลาคม- กุมภาพันธ์ ชอบอากาศค่อนข้างเย็น ประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส |
อายุการเก็บเกี่ยว | การเก็บเกี่ยวหญ้าหวานครั้งแรก ควร ทำหลังการปลูกได้ประมาณ 20-25 วัน หลังจากนั้นให้ ท้าการเก็บเกี่ยวได้เรื่อยๆ ประมาณปีละ 6-10 ครั้ง ,ผลผลิตจะสูง ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม หลังจากนั้นจะเริ่มแก่และออก ดอก,ในระหว่างนี้หญ้าหวานจะหยุดการเจริญเติบโต และให้ผล ผลิตน้อยลงในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม |
ระดับความยากในการปลูก (1ง่าย-3 ยาก) | 2 |
ทรงต้น | ทรงพุ่มเตี้ย |
อายุต้นพืช | เป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 3 ปี |
วิธีการเตรียมดิน หญ้าหวาน เป็นสมุนไพรที่ปลูกไม่ยาก สามารถปลูกในกระถางในบ้านได้
- กระถางขนาด 10-12 นิ้ว
- รองก้นกระถางด้วยมะพร้าวสับ
- ใส่ดิน+ปุ๋ยคอกหมัก (ดินผสม) เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน
- นำต้นกล้าหญ้าหวานใส่ในดิน
- รดน้ำให้ชุ่ม
สรรพคุณของหญ้าหวานที่ดีต่อสุขภาพ3
หญ้าหวานปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นหญ้าหวานตากแห้งทั้งแบบใบ หรือ แบบผง, สารสกัดจากหญ้าหวานแบบผง และแบบน้ำ, หรือหญ้าหวานแบบน้ำเข้มข้น ซึ่งง่ายต่อการนำไปใช้ใส่ในเครื่องดื่ม เบเกอรี่ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันมีคนที่รักสายสุขภาพใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาลกันเป็นอย่างมาก
8 ประโยชน์ของหญ้าหวานดีต่อสุขภาพ
ช่วยควบคุมน้ำตาลในโรคเบาหวาน
หญ้าหวานช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ดังนั้นการใช้หญ้าหวานเป็นส่วนประกอบในอาหารก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ ถึงแม้จะกินอาหารที่มีรสชาติหวาน
ช่วยควบคุมน้ำหนัก
หญ้าหวานมีไม่มีแคลอรี่ แต่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 40-300 เท่า ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของหญ้าหวาน ซึ่งก็หมายความว่าถ้าเราใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาลในอาหาร ขนมเค้ก ฯลฯ ที่ทานเข้าไป อย่างน้อยก็มีทำให้การควบคุมน้ำหนักดีขึ้น เพราะไม่มีน้ำตาล
ช่วยควบคุมความดันโลหิต
ในหญ้าหวานมี ไกลโคไซด์(Glycoside)* ที่ทำหน้าที่ในการทำให้ผ่อนคลายหลอดเลือด และช่วยในการขับปัสสาวะ ทำให้สามารถกำจัดโซเดียมออกจากร่างกาย นั่นคือทำให้ระบบหัวใจ และหลอดเลือดผ่อนคลาย จึงมีผลต่อความดันโลหิตลดลง ซึ่งจะให้สุขภาพหัวใจดี ทำให้ป้องกันโรคหัวใจวายและเส้นเลือดในสมองอุดตัน
ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
หญ้าหวานมีสารเควอซิทิน (Quercetin), แคมพ์เฟอรอล(Kaempferol) และ ไกลโคไซด์อื่นๆ (Glycoside) เป็นสารที่ช่วยในการกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกาย ที่ซึ่งป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์ให้เป็นเซลล์ร้าย
ช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลต่ำ
จากการศึกษาพบว่าการบริโภคหญ้าหวานทำให้ระดับของ LDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลตัวไม่ดี และค่าไตรกลีเซอไรด์มีค่าต่ำ พร้อมทั้งยังเพิ่มระดับค่าคอเลสเตอรอลตัวดี (HDL)
ช่วยทำให้สุขภาพในช่องปากดี
หญ้าหวานช่วยในเรื่องลดการเกิดแบคทีเรียในปาก ดังนั้นจึงมีผลิตภัณฑ์ที่นำหญ้าหวานเป็นส่วนประกอบในยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปาก หญ้าหวานช่วยป้องกันฟันผุ และเหงือกอักเสบ
ช่วยดูแลรักษาผิว
หญ้าหวานช่วยยับยั้งการกระจายของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นปัญหาทำให้เกิดโรคผิวหนัง เช่นโรคกลาก
ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
หญ้าหวานเพิ่มความหนาแน่นกระดูก และรักษาโรคกระดูกพรุน
การนำหญ้าหวานแห้ง หรือใบสดมาปรุงอาหาร
การนำหญ้าหวานใบแห้ง หรือใบสด มาแปรรูปเป็นน้ำหญ้าหวานเพื่อเก็บไว้ปรุงอาหารใช้แทนน้ำตาล หรือชงกาแฟ แทนน้ำตาล เนื่องจากหญ้าหวานเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นเฉพาะ ดังนั้นในสูตรที่แนะนำได้ใส่ใบเตยเพื่อลดกลิ่น
วิธีทำน้ำหญ้าหวานไว้ปรุงอาหาร หรือเครื่องดื่ม
- ต้มน้ำเปล่า 1 ลิตร รอจนน้ำเดือด
- ใส่หญ้าหวานแห้ง ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ หรือ หญ้าหวานสด ประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ
- ใส่ใบเตยประมาณ 2 ใบ
- เคียวไปซัก 5-10 นาที รอจนน้ำงวดเล็กน้อย
- กรองเอาใบหญ้าหวานและใบเตยออก เมื่อได้น้ำหญ้าหวานพักจนเย็น
- นำขวดแก้วลวกในน้ำร้อน ก่อนบรรจุน้ำหญ้าหวานในขวด เพื่อฆ่าเชื้อจะยืดระยะเวลาในการเก็บรักษา
- ควรเก็บไว้ในตู้เย็นและควรรับประทานภายใน 2 อาทิตย์
ปริมาณที่ใช้ที่เหมาะสมในการบริโภคต่อวัน
จากการวิจัยของ อ. วีรสิงห์ เมืองมั่น จาก รพ.รามาธิบดี เกี่ยวกับหญ้าหวานควรทานปริมาณเท่าใดจึงปลอดภัย ท่านแนะนำให้ใช้ประมาณ 1-2 ใบต่อเครื่องดื่ม 1 ถ้วย หรือสูงสุดกินได้ถึง 7.9 กรัม/วันซึ่งสูงมากเปรียบได้กับกินผสมกาแฟหรือเครื่องดื่มได้ถึง 73 ถ้วย/วัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับคนส่วนใหญ่ที่ดื่มกาแฟประมาณวันละ 2-3 ถ้วยเท่านั้น4
สรุป
หญ้าหวานเป็นสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่ต้องหามาเนื่องจากกระแสการทานอาหาร ลดหวานมาแรง และดีต่อสุขภาพ หญ้าหวานแห้งในท้องตลาดมีราคาสูง ถ้าบริโภคเป็นประจำ ควรหาต้นหญ้าหวานในกระถางมาปลูก ก็จะทำให้ประหยัดเงินได้
ข้อมูลอ้างอิง
- รายงานการประเมินการได้รับสัมผัสจากการบริโภคหญ้าหวานของคนไทย (พศ. 2550-2553) ศูนย์ประเมินความเสี่ยง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข
- https://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2020/07/ %E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99.pdf
- https://www.muscleprotein.com.au/
- https://www.parpaikin.com/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99/
สินค้าที่น่าสนใจ
ต้นโรสแมรี่เลื้อย
ต้นหญ้าหวาน|
69฿Original price was: 69฿.59฿Current price is: 59฿.ต้นเปปเปอร์มินต์ (Peppermint)
ต้นกะเพราแดง
ต้นพริกขี้หนู
ต้นสะระแหน่
ต้นวอเตอร์เครสเขียว
ต้นผักชีฝรั่ง
ต้นจิงจูฉ่าย
ต้นกระชายขาว
ต้นวอเตอร์เครสแดง
เมล็ดพันธุ์กะเพราแดง
เมล็ดพันธุ์โหระพา
เมล็ดผักสลัดบิ๊กเรดโอ๊ค
เมล็ดพันธุ์กะเพราป่า
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกท้อ
เมล็ดพันธุ์คะน้ายอด
เมล็ดพันธุ์แมงลัก เจียไต๋
เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ
เมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม
เมล็ดพันธุ์บวบงูสเน็กกี้
เมล็ดพันธุ์ผักกะหล่ำปลี
ไตรซาน ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม
สารชีวภัณฑ์เมทาซาน เมทาไรเซียม แอนิโซเพลีย
ชีวภัณฑ์บูเวริน บูเวเรีย บัสเซียน่า
น้ำส้มควันไม้ ทีพีไอ สูตรพรีเมียมโกลด์ ไร้กลิ่น
ไลซินัส พาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส
ไลท์นิ่งค์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส
ลาร์มิน่า บาซิลลัส ซับทิลิส
พีสมอส เอสทีมซุปเปอร์พีท (ตรานกเงือก)
บทความที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️
จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น
ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน
มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ดอกเดซี่ ดอกมากาเร็ต และดอกคัตเตอร์(แอสเตอร์)ต่างกันอย่างไร
ดอกไม้ยอดนิยม ข...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ทำไมผักแพงในฤดูฝน?
ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู
ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ออริกาโนเครื่องเทศปลูกง่าย
ออริกาโน มีต้นก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
3 ชนิดผักบุ้งที่นิยมทานในไทย
ชนิดผักบุ้งแต่ล...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️