ประวัติความเป็นมาของสะระแหน่
ต้นสะระแหน่เป็นพืชตระกูลเดียวกับมิ้นต์ รสของสะระแหน่จะมีรสอ่อนกว่ามิ้นต์เล็กน้อยและพบได้มากในแถบเอเชีย คนไทยนิยมรับประทานมิ้นต์เป็นส่วนประกอบของอาหาร เป็นผักแกล้ม เช่นรับประทานกับลาบ
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Metha cordifolia Opiz.
- ชื่อวงศ์ Labiatae
- ชื่อสามัญ เรียกว่า kitchen mint, Marsh mint
- ชื่ออื่น หอมด่วน หอมเดือน (ภาคเหนือ), มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้ ), สะระแหน่สวน (ภาคกลาง ), ขะแยะ (อีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
วิธีปลูกและขยายพันธุ์สะระแหน่
สะระแหน่เป็นพืชตระกูลเดียวกับมิ้นต์
แสงแดด
สามารปลูกได้ทั้งในแสงแดดร่มรำไร และแดดจัด
สภาพอากาศ
เหมาะที่ปลูกในสภาพอากาศแห้ง และความชื้นต่ำ
การรดน้ำ
ชอบน้ำชุ่ม และรดน้ำสม่ำเสมอ
ดินร่วนซุย
ชอบดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนระบายน้ำได้ดี
วิธีการปลูก
การเตรียมดิน
การผสมดินปลูก
ควรใช้ดิน2 ส่วน , ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน , ทราย 1 ส่วน และปูนขาวเล็กน้อย ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน และนำไปปลูก
วิธีการปลูกสะระแหน่ มี 3 แบบ
1.ปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ คัดเลือกเมล็ดสะระแหน่ที่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถหาซื้อได้จากร้านขายเมล็ดพันธุ์ทั่วไป นำมาปลูกในกระถาง หรือแปลงปลูก โดยการพรวนดินกลบเบาๆจากนั้นรดน้ำทุกวันประมาณ 10-15 วัน เมล็ดสะระแหน่จะแตกต้นอ่อนออกมา
2.ปลูกโดยต้นกล้าสำเร็จรูป เป็นวิธีที่นิยมกันมากเพราะได้ผลผลิตสูง และสะดวกรวดเร็วร่นเวลาในการเพาะเมล็ด การซื้อต้นกล้าสำเร็จในถุงดำที่มีอายุประมาณ 1-2 เดือนมาลงในกระถาง หรือแปลงปลูก ควรปลูกตอนเย็นเพราะต้นกล้าจะถูกแสงแดดน้อยและต้นกล้าตั้งตัวได้เร็ว
3. ปลูกแบบปักชำ
- เลือกกิ่งสะระแหน่ที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ปักจิ้มลงไปในแปลงเพาะหรือในกระถางที่เตรียมดินไว้
- การปัก ปักให้กิ่งเอนทาบกับดิน รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้ถึงกับแฉะ แล้วโรยทับด้วยแกลบ กลบดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้นไว้ให้หน้าดิน เมื่อแกลบผุและกลายเป็นปุ๋ยต่อไป
- ประมาณ 4-5 วัน จะแตกใบ แตกยอดเลื้อยคลุมดิน ต้นสะระแหน่ชอบดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี แต่ต้องการแสงสว่าง แต่ไม่ต้องการแดดที่ร้อนจัดเกินไป ควรปลูกในที่ร่มแดดรำไรจะงอกงามดี
🧺Shopเพิ่ม▶️
โรคและศัตรูของสะระแหน่1
สะระแหน่ปลูกไม่ยาก แต่การดูแลค่อนข้างยาก เพราะสะระแหน่อ่อนแอต่อโรค และศัตรูเข้าทำลายมาก โรคที่สำคัญๆ เช่นโรคใบสนิม โรครากโคนเน่า ศัตรูที่พบก็เป็นพวกหนอนชอนใบ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งและมด ถ้าพบเห็นให้รีบทำลายมิฉะนั้นจะระบาด
การป้องกัน
โดยใช้สารสกัดจากสมุนไพรที่ออกรสขม ฝาด และเฝื่อน รวมทั้งมีกลิ่นฉุนแรงหมักกับเหล้าขาวหรือน้ำเปล่า แล้วนำไปฉีดพ่นขับไล่แมลง เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี แต่ต้องพ่นให้บ่อยครั้งมาก และทิ้งห่างไม่ได้เลย เพราะสารสกัดชีวภาพเป็นเพียงกำจัดขับไล่ หรือลดการระบาด ไม่ใช่สารที่ออกฤทธิ์ในทางฆ่าโดยตรง ศัตรูที่พบมากเป็นปัญหาคือ
เพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้งโดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณ กิ่ง ใบ ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ มีมดเป็นพาหะช่วยพาไปตามส่วนต่างๆของพืช ในส่วนของพืชที่ถูกเพลี้ยแป้งทำลายจะแคระแกรน เกิดราสีดำขึ้นมา การระบาดอยู่ในช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม
สูตรป้องกันเพลี้ยแป้งแบบธรรมชาติ ส่วนผสมดังนี้
ส่วนผสม
- บอระเพ็ด
- ยาฉุน (ใบยาสูบ)
- น้ำยาล้างจาน (เป็นสารจับใบ)
วิธีทำ
- นำบอระเพ็ดมาหั่นเป็นท่อน ยาวพอประมาณ จากนั้นนำไปตำให้แหลก (สังเกตดูจากความเหนียวของเถาที่ถูกตำ)
- นำบอระเพ็ดที่ตำแหลกแล้วไปหมักกับน้ำเปล่า ใช้อัตราส่วนบอระเพ็ด 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร หมักทิ้งไว้จนได้น้ำเมือกเหนียว (ให้สังเกตุดูว่าน้ำหมักที่ได้มีความเหนียวหนืดเมื่อไหร่ก็สามารถนำไปใช้ได้) เพื่อให้สารในบอระเพ็ดละลายออกมา
- ผสมยาสูบลงในน้ำละลายบอระเพ็ดที่เตรียมได้ ประมาณ 1-2 กำมือ คนให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที
- ก่อนนำน้ำหมักบอระเพ็ดที่เตรียมได้ไปใช้ ควรผสมกับน้ำยาล้างจาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจับติดตัวแมลงหรือพื้นที่ผิวของใบพืช และควรนำน้ำหมักที่ได้ไปผสมน้ำเปล่าเพื่อเจือจางความเข้มข้นของน้ำสมุนไพร (กะความเข้มข้นพอประมาณ) ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้กับพืชหากใช้ในปริมาณที่เข้มข้นมากเกินไป
สารกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สกัดได้จากสมุนไพรนั้นใช้ได้ดีที่สุด เมื่อใช้สด คือนำมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำหรือนำไปต้มกับน้ำให้ได้ความเข้มข้น และก่อนนำไปใช้กับพืช ควรทำการผสมน้ำสกัดที่ได้กับน้ำเปล่าก่อนทุกครั้ง ในอัตราส่วน 1 ต่อ 20 ลิตร ควรฉีดพ่นในตอนเย็น และควรฉีดพ่นซ้ำทุก 2-3 วัน เพื่อให้เกิดผลดีสุด และไม่ทำให้แมลงเกิดการดื้อยา
👉 หากไม่มีเวลาในการทำสมุนไพรกำจัดเพลี้ย สามารถใช้สารชีวภัณฑ์ พาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส เพื่อป้องกันและกำจัดได้
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ ยอดอ่อนแลดอก ทำให้หงิกงอเป็นคลื่น หากมีการระบาดมากๆ จะทให้ไม้ดอกเหี่ยวและอ่อนแอ ไม่ออกดอก บริเวณที่เพลี้ยอ่อนระบาดมักพบเห็นมดอาศัยกินน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนถ่ายออกมา จะทำให้เกิดราดำได้
เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็ก ผนังลำต้นอ่อนนุ่ม ขยายพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ ออกลูกเป็นตัว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากจะต่างกันก็ตรงขนาดและสีที่ลำตัว เจริญเติบโตลอกคราบ 4-5 ครั้ง เพลี้ยอ่อนตัวหนึ่งจะเป็นลูกประมาณ 27 ตัว ระยะตัวอ่อนประมาณ 5-6 วัน ระยะตัวเต็มวัย 3-14 วัน อายุเฉลี่ย 11 วัน
นอกจากนี้เพลี้ยอ่อนจะระบาดเร็วมากในช่วงฤดูร้อน
การป้องกันกำจัด
สารสกัดป้องกันตามธรรมชาติ: ใช้สารสกัดจากสะเดา หรือใช้สารชีวภัณฑ์ พาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส ถ้าระบาดรุนแรงใช้สารเคมีกำจัด
สารเคมี: ถ้าระบาดรุนแรงใช้สารเคมีกำจัด ฉีดOxydemeton-methyl หรือ Omethoate หรือ Carbosulfan หรือ Methamidophos อย่างใดอย่างหนึ่งฉีดพ่น ตามอัตราที่ฉลากระบุไว้ หลังจากฉีดพ่น 7 วัน ให้สำรวจแปลงดูอีกที หากพบว่ายังมีการระบาดอยู่ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง
สรรพคุณของยาสะระแหน่2
- มีฤทธิ์เย็น รสเผ็ด เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับเหงื่อรักษาอาการหวัดได้
- เป็นยาขับลม แก้อาการปวดท้อง จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ และช่วยให้ผายลมได้ดี หากนำน้ำที่คั้นจากต้น และใบมาใช้ดื่มจะช่วยขับลมในกระเพาะอาหารได้ดี หรือรับประทานสดๆ จะช่วยดับกลิ่นปากได้
- ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ บำรุงสายตา และช่วยให้หัวใจแข็งแรง
- เป็นกระสายแทรกแก้โรคเด็ก เช่น ซางชัก ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
- แก้ปวดศรีษะ แก้บวม แก้อักเสบ แก้ฟกช้ำ
- ช่วยคลายความกดดันของกล้ามเนื้อ อันมีสาเหตุมาจากความเหนื่อยล้า ความเครียด
- ทำให้ผิดหนังชุ่มชื้น เนื่องจากมีวิตามินซีสูง
ขนาดและวิธีใช้
- อาการปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้นหรือร้อนในภายในปาก ให้นำใบสะระแหน่จำนวน 5 กรัม ต้มกับน้ำสะอาด 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่มวันละ 2 ครั้ง
- อาการปวดท้องในเด็ก ให้นำใบสะระแหน่ 2-3 ใบ นำมาบดให้ละเอียด ผสมกับยาหอม แล้วนำมากวาดคอเด็กจะทำให้อาการทุเลาลง
- แก้พิษที่เกิดจากแมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำใบสะระแหน่จำนวนพอประมาณมาตำให้ละเอียด แล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด ควรใช้ใบสะระแหน่ที่สดใหม่จะมีคุณค่ามกกว่าสะระแหน่ใบแห้ง
- แก้อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ แก้บวม ผื่นคัน ใช้ใบสะระแหน่ตำสดให้ละเอียด นำมาพอกหรือทาบริเวณที่มีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการบวม แก้อาการผื่นคัน
- แก้อาการหน้ามืดตาลาย นำใบสะระแหน่พอประมาณนำมาต้มกับขิง ดื่มอุ่นๆ บรรเทาอาการหน้ามืดตาลายได้
- อาการหวัดน้ำมูกไหล สะระแหน่ถือเป็นพืชผักสวนครัวที่มีวิตามินซีสูงมาก สูงถึง 88 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสะระแหน่ 100 กรัม จึงมีฤทธิ์ต้านหวัดได้ดี เมื่อรู้สึกเป็นหวัดหรืออากาศเปลี่ยน ให้นำใบสะระแหน่มาขยี้กับมือแล้วสูดดม จะทำให้จมูกโล่ง
- อาการปวดประจำเดือน ที่สร้างความทรมานให้แก่ร่างกาย แก้โดยนำใบสะระแหน่ชงน้ำแบบชงชา ดื่มแก้ปวดท้อง ปวดประจำเดือน ช่วยขับลม แก้อาการเกร็งกล้ามเนื้อ เพราะสะระแหน่มีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อคลายกล้ามเนื้อจากอาการปวด บวมได้
วิธีทำน้ำมันสะระแหน่
นำใบและก้านของสะระแหน่ไปต้ม และกลั่นด้วยไอน้ำจะสกัดได้น้ำมันสะระแหน่ และน้ำกลั่นสะระแหน่ ซึ่งนำไปใช้เป็นยาขับลม ดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับเหงื่อ ใช้รักษาหวัด ลมร้อน ปวดศรีษะ ตาแดง เจ็บคอ และผสมในยาแผนปัจจุบันหรือยาอมเย็นชุ่มคอให้ชื่นใจ
คุณค่าทางอาหาร
สะระแหน่ 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 47 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
- โปรตีน 3.7 กรัม
- ไขมัน 0.6 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 6.8 กรัม
- แคลเซียม 40 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม
- เหล็ก 4.8 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 1 10.13 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 20.29 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.7 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 88 มิลลิกรัม
- เบต้าแคโรทีน 538.35 ไมโครกัม
เมนูอาหารจากสะระแหน่
พล่าขนมจีน
เครื่องปรุง
- ขนมจีน 1 กิโลกรัม
- เนื้ออกไก่ต้มสุกฉีกเป็นเส้น 300 กรัม
- กุ้งต้มหั่นชิ้นเล็ก 5 ตัว
- แตงกวาเอาไส้ออกหั่นเป็นชิ้นเล็ก 10 ลูก
- สะระแหน่เด็ดใบ ½ ถ้วย
- ขิงอ่อนหั่นฝอย ¼ ถ้วย
- กระเทียมซอย ¼ ถ้วย
- พริกขี้ฟ้าแดงหั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำพริกเผา 3 ข้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะขามเปียก 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
- หั่นขนมจีนเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 2 นิ้ว เรียงลงในจานนึ่งในน้ำเดือนประมาณ 10 นาที ยกลงคลุมด้วยผ้าขาวบางพักไว้
- ผสมน้ำพริกเผา น้ำมะขามเปียก น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลทรายคนให้เข้ากัน จนส่วนผสมทุกอย่างละลายหมด ใช้เป็นน้ำปรุงรส
- จัดขนมจีน เนื้อไก่ เนื้อกุ้ง ขิงอ่อน แตงกวา กระเทียม พริกชี้ฟ้า และสะระแหน่ลงในจาน ราดด้วยน้ำปรุงรส เมื่อรับประทานน้ำมาเคล้าเบาๆพอทั่ว จัดใส่จาน
ลาบปลาช่อน
เครื่องปรุง
- ปลาช่อนย่าง 1 ตัว
- ข้าวคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
- พริกป่น ข่าโขลกละเอียด อย่างละ 1 ช้อนชา
- หอมแดงซอย 1 ช้อนโต๊ะ
- ใบมะกรูดหั่นฝอย 2 ช้อนชา
- ต้นหอมหั่นฝอย 2 ต้น
- ใบสะระแหน่ ½ ถ้วย
- น้ำมะนาว 2-3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
- ผักสด กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ใบโหระพา
วิธีทำ
- แกะเนื้อปลาช่อนออกเป็นชิ้นเล็กๆ ระวังอย่าให้ก้างปลาหลงเหลือ แล้วนำไปสับหยาบๆ
- เคล้าเนื้อปลาช่อนกับข้าวคั่ว พริกป่าน หอมแดงซอย ข่าหั่นฝอย ใบมะกรูดหั่นฝอย ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว
- ตักใส่จาน ก่อนเสริฟ โรยหน้าด้วยใบสะระแหน่ ต้นหอมซอย รับประทานกับกะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ใบโหระพา
สะระแหน่อุดมไปด้วยคุณค่า และสรรพคุณทางยา ที่ช่วยบำรุงร่างกายและยังหาง่าย ราคาไม่แพง นับว่าเป็นผักสวนครัวที่มีประโยชน์คุ้มค่ามาก
ข้อมูลอ้างอิง
1.ยากันครัว กะเพรา โหระพา แมงลัก สะระแหน่, มนตรี แสนสุข, สำนักพิมพ์แพลนบี , 2553, หน้า 100-111
2.สมุนไพรในครัว…ประโยชน์ใกล้ตัวคุณ มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร , สำนักพิมพ์ไพลิน, 2556 หน้า 63-71
สินค้าที่น่าสนใจ
ต้นโรสแมรี่เลื้อย
ต้นหญ้าหวาน|
69฿Original price was: 69฿.59฿Current price is: 59฿.ต้นเปปเปอร์มินต์ (Peppermint)
ต้นกะเพราแดง
ต้นพริกขี้หนู
ต้นสะระแหน่
ต้นวอเตอร์เครสเขียว
ต้นผักชีฝรั่ง
ต้นจิงจูฉ่าย
ต้นกระชายขาว
ต้นวอเตอร์เครสแดง
เมล็ดพันธุ์กะเพราแดง
เมล็ดพันธุ์โหระพา
เมล็ดผักสลัดบิ๊กเรดโอ๊ค
เมล็ดพันธุ์กะเพราป่า
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกท้อ
เมล็ดพันธุ์คะน้ายอด
เมล็ดพันธุ์แมงลัก เจียไต๋
เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ
เมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม
เมล็ดพันธุ์บวบงูสเน็กกี้
เมล็ดพันธุ์ผักกะหล่ำปลี
ไตรซาน ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม
สารชีวภัณฑ์เมทาซาน เมทาไรเซียม แอนิโซเพลีย
ชีวภัณฑ์บูเวริน บูเวเรีย บัสเซียน่า
น้ำส้มควันไม้ ทีพีไอ สูตรพรีเมียมโกลด์ ไร้กลิ่น
ไลซินัส พาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส
ไลท์นิ่งค์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส
ลาร์มิน่า บาซิลลัส ซับทิลิส
พีสมอส เอสทีมซุปเปอร์พีท (ตรานกเงือก)
บทความที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️
จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น
ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน
มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ดอกเดซี่ ดอกมากาเร็ต และดอกคัตเตอร์(แอสเตอร์)ต่างกันอย่างไร
ดอกไม้ยอดนิยม ข...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ทำไมผักแพงในฤดูฝน?
ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู
ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ออริกาโนเครื่องเทศปลูกง่าย
ออริกาโน มีต้นก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
3 ชนิดผักบุ้งที่นิยมทานในไทย
ชนิดผักบุ้งแต่ล...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️