ประวัติความเป็นมาของกะเพรา
กะเพราเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในเมืองของเขตร้อนในทวีปเอเชีย และแอฟริกา นอกจากนี้ประเทศอินเดียได้นำกะเพราไปใช้ในทางศาสนา และการแพทย์ โดยเฉพาะอายุรเวทและศาสนาฮินดู มีการใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บกันมามากกว่า 5,000 ปี จนถูกจัดให้เป็น “ราชินีสมุนไพร” ใช้รักษาบรรเทาอาการของโรคต่างๆ เช่นการปรับธาตุ ช่วยภาวะสมดุลกระบวนการต่างๆในร่างกาย ให้เกิดความสมดุล และยังใช้ลดอาการเครียดได้
ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกะเพรา
ลำต้น
เป็นก้านสี่เหลี่ยมแตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นสูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนลำต้นค่อนข้างแข็ง มีขนอ่อนๆอยู่ปลายและโคน
ใบ
เป็นใบเดียวออกเรียงตรงข้าม ปลายแหลม โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบมีขน ใบมีกลิ่นฉุน
ดอก
มีลักษณะเป็นรูปฉัตร ออกบริเวณปลายยอด และปลายกิ่งยาว 8-10 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอกเล็กๆ ออกเป็นวงรอบแกน ช่อเป็นช่อสั้นๆ ก้านดอกยาว 2-3 มิลลิเมตร
ผล
ผลแห้งแล้วแตกออก เมล็ดเล็กรูปไข่สีน้ำตาล มีจุดสีเข้ม เมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดจะพองออกเป็นเมือก
กะเพรามีกี่พันธุ์
1. กะเพราแดง
มีลักษณะใบ ลำต้น และกิ่งก้าน มีสีม่วงแดง มีรสชาติเผ็ดร้อน และกลิ่นฉุนหอม นิยมมาเป็นส่วนผสมเป็นสมุนไพรในตำหรับแผนไทย
2. กะเพราขาว
มีลักษณะใบสีเขียว ก้านสีเขียว รสเผ็ดน้อย และมีกลิ่นฉุนน้อยกว่ากะเพราแดง
นอกจากนี้ยังมีกะเพราป่า ซึ่งมีลักษณะใบ และก้านเขียว มีลักษณะเหมือนกะเพราขาวแต่มีกลิ่นฉุนกว่า
3. กะเพราลูกผสม
เป็นพันธุ์ที่ผสมระหว่างกะเพราขาว และกะเพราแดง จะมีลักษณะใบสีเขียว แต่ก้านมีสีแดงม่วง
การปลูกและการขยายพันธุ์กะเพรา
กะเพราพืชผักสวนครัวชนิดนี้ปลูกไม่ยากเลย เป็นพืชล้มลุกมีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี ปลูกครั้งเดียวเก็บทานได้ยาว
มีวิธีการปลูก 3 วิธี ดังนี้
- การเพาะเมล็ด คัดเลือกกะเพราที่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถหาซื้อเมล็ดพันธุ์ได้จากร้านขายทั่วไป นำมาปลูกในกระถาง หรือแปลงปลูก โดยการพรวนดินกลบเบาๆจากนั้นรดน้ำทุกวันประมาณ 1 สัปดาห์ เมล็ดกะเพราจะแตกต้นอ่อนออกมา
- การปักชำด้วยต้นหรือกิ่งแก่ วิธีนี้ก็ได้ผลเร็ว แต่กิ่งและยอดที่แตกออกมาใหม่จะไม่สวยและต้นจะโทรมและตายเร็ว การปักชำควรตัดต้นกะเพราแก่ที่มีอายุมากกว่า 8 เดือน เด็ดยอดและใบออก และนำต้นหรือกิ่งแก่ไปชักชำในแปลง ระยะปลูก 20×20 ซม. ใช้ฟางแห้งคลุมระหว่างแถว รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน ไม่นานรากของต้นจะแตกออกมาใหม่
- ปลูกโดยใช้ต้นกล้า เป็นวิธีที่นิยมกันมากเพราะได้ผลผลิตสูง และสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการเพาะเมล็ด การซื้อต้นกล้ากะเพราสำเร็จรูปที่มีอายุประมาณ 1-2 เดือนมาลงในกระถาง หรือแปลงปลูก ควรปลูกตอนเย็นเพราะต้นกล้าจะถูกแสงแดดน้อยและต้นกล้าตั้งตัวได้เร็ว
อายุการเก็บเกี่ยวกะเพรา
เมื่ออายุ 30-35 วันหลังปลูก การเก็บเกี่ยวก็ใช้มีดคนๆตัดลำต้นให้ลำต้นเหลือสูงจากพื้นดินประมาณ 10-15 ซม. หลังตัดต้นกะเพราก็จะแตกยอดและกิ่งก้านออกมาใหม่ ดังนั้นจึงต้องใส่ปุ๋ยบำรุงต้นทุกครั้งหลังเก็บผลผลิต
วิธีการบำรุงต้นกะเพรา
โดยการบำรุงโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ , ปุ๋ยคอก , หรือปุ๋ยไส้เดือนใส่ที่โคนต้นเดือนละครั้ง นอกจากนี้ควรเรียนรู้เรื่องโรคเกี่ยวกับกะเพราเพื่อป้องกันการเกิดโรคในกะเพราและทำให้ได้ทานกะเพราได้นานขึ้น
สารสำคัญในกะเพรา
กะเพรามีประโยชน์ต่อร่างกาย
- มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เบต้าแคโรทีน และเซลลูโลสช่วยระบายท้อง
- วิตามินซีช่วยป้องกันโรคหวัด อีกทั้งยังบำรุงสุขภาพเหงือกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และเยื่อบุต่างๆ
- ธาตุเหล็กช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เหนื่อยง่าย บำรุง และสร้างโลหิต
- ฟอสฟอรัสเป็นสารประกอบกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยในการหลั่งน้ำนมให้เป็นปกติ ช่วยสร้างเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังรวมกับธาตุอื่นๆ ในการสร้างความสมดุลของการสร้างความเป็นกรด และด่างในร่างกาย
- โปรตีนช่วยในการสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตแข็งแรง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รักษาสมดุลของของเหลง กรด ด่างที่เกิดจากกระบวนการต่างๆในร่างกาย
คุณค่าทางอาหาร
ใบกะเพรา 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญดังนี้
- แคลเซียม 25 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 287 มิลลิกรัม
- เหล็ก 6 มิลลิกรัม
- เบต้าแคโรทีน 7,857 ไมโครกรัม
- ธัยอามีน 04 มิลลิกรัม
- ไรโบฟราวิน 34 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 8 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 25 มิลลิกรัม
- เส้นใยอาหาร 3 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม
- ไขมัน 5 กรัม
- โปรตีน 2 กรัม
- พลังงาน 30 แคลอรี่
สรรพคุณทางยาของกะเพรา
กะเพรามีทั้งกะเพราแดง และกะเพราขาว กะเพราแดงจะมีลำต้นเป็นสีแดงเลือดหมู ลำต้น และใบอ่อนมีสีม่วงแดง จะมีกลิ่นแรงกว่ากะเพราขาว เพราะมีปริมาณของน้ำมันหอมระเหยมากกว่า ในตำราไทยจะนิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว
- ใบ ใบสดของกะเพรามีน้ำมันหอมระเหยอยู่ เป็นยาขับลมแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ไฟธาตุ ขับผายลม แก้ลมตานซาง แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง
- แก้คลื่นเหียนอาเจียนให้ใช้ใบสดหรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือมาต้มน้ำให้เดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำดื่ม แต่ถ้าใช้ในเด็กให้นำมาตำให้ละเอียด นำมาผสมกับมหาหิงค์ใช้ทาบริเวณรอบๆสะดือ และทาที่ฝ่าเท้าแก้อาการปวดท้องของเด็กได้
- ขับเสมหะ: น้ำที่เราคั้นจากใบกะเพรายังใช้ขับเสมหะ ขับเหงื่อหรือใช้ทาภายนอกแก้อาการกลากเกลื้อน โดยใช้ใบสด 15-20 ใบ ตำหรือขยี้ให้น้ำออกมา ใช้ทาถูบริเวณที่เป็นกลาก ทาวันละ 2-3 ครั้งหรือจนกว่าจะหาย
- แก้ท้องขึ้น กะเพราตากแห้งใช้ชงกินกับน้ำ และน้ำมันทีได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะออกฤทธิ์นาน 2 ชั่วโมง
- ขับน้ำนมให้สตรีหลังคลอด กะเพราใช้เป็นยาขับน้ำนมให้สตรีหลังคลอด โดยใช้ใบกะเพราสด 1 กำมือ นำไปแกงเลียงรับประทานหลังจากคลอด
- บรรเทาอาการปวดหู โดยใช้น้ำคั้นใบกะเพราสดแล้วนำไปหยอดหู
- ดอก รักษาโรคหลอดลมอักเสบ แก้ตานขโมย ท้องขึ้น ผอมแห้ง
- ต้น ขับลม แก้ท้องอืด ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ แก้ตานซาง แก้หูด
- เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวออกเป็นเมือกขาว ให้ใช้พอกบริเวณตาเมื่อมีผงหรือฝุ่นละอองเข้าตา ผงหรือฝุ่นละอองนั้นจะออกมา และไม่ทำให้ตาช้ำอีก
- ราก ใช้รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ โดยใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่มแก้โรคธาตุพิการ และสามารถใช้เป็นยาธาตุสำหรับเด็ก
- ทั้งต้น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ แก้ตานซาง แก้หูด แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้มูกเลือด
สรรพคุณและข้อแนะนำในการใช้ตามที่ระบุในงานสาธารณสุขมูลฐาน
-
แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการจุกเสียด แน่นท้อง
เกิดจากการที่อาหารไม่ย่อยหรือย่อยไม่สมบูรณ์ การรับประทานอาหารย่อยยาก มีไขมันสูง อาหารสุกๆดิบๆ รสจัดหรือทานเร็วเกินไป เคี้ยวไม่ละเอียด มีความเครียด ความกังวล อารมณ์เศร้าหมอง ทำให้อาหารย่อยไม่ดี จะเกิดลมในกะเพาะมาก และดันขึ้นมาบริเวณยอดอก จึงเกิดอาการอึดอัดจุกเสียด เรอเหม็นเปรี้ยว อาเจียน ถ้าเป็นมากจะปวดเกร็ง อาจท้องผูกหรือท้องเสียร่วมด้วย เบื่ออาหาร ปวดศรีษะหรือเป็นแผลร้อนในปาก
วิธีแก้ไข ควรรับประทานให้ถูกหลักโภชนาการ เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีก๊าซ เช่น น้ำอัดลม ถั่ว มะม่วง เป็นต้น และใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับลม
วิธีใช้กะเพราให้ถูกตามหลักสมุนไพรขั้นมูลฐาน
- สำหรับผู้ใหญ่ ให้ใช้ใบสด และยอดสดหรือแห้ง 1 กำมือ ใบสดใช้ 25 กรัม , ใบแห้งใช้ 4 กรัม ชงกับน้ำดื่มเป็นยาขับลมหรือป่นเป็นผง ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ชงกับน้ำหรือใช้ใบสดแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดบุตร
- สำหรับหญิงหลังคลอดบุตร ให้ใช้ใบสดทำแกงเลียง
- สำหรับเด็กอ่อน ให้ใช้ใบสด 3-4 ใบ ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งหยอดให้เด็กอ่อนเพิ่มคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2 วัน จะช่วยขับลม และขี้เทา
2.แก้คลื่นไส้อาเจียน
มักจะเกิดกับผู้ใหญ่ที่มีธาตุไม่ปกติ โดยใช้ใบ และยอดสด 1 กำมือหรือประมาณ 25 กรัม ต้อพอเดือดเอาน้ำดื่ม
เมนูจากใบกะเพรา
ผัดพริกแกงปลาดุกกะเพรากรอบ
เครื่องปรุง
- ปลาดุกหั่นเป็นชิ้น ½-1 กิโลกรัม
- แป้งทอดกรอบ
- พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบ 5-6 เม็ด
- กระเทียมบุบ 5 กลีบ
- พริกขี้หนูบุบ 5 เม็ด
- ใบกะเพรา 3 กำ
- พริกแกงเผ็ด 1-2 ช้อนโต๊ะ
- ใบมะกรูด 7-8 ใบ
- น้ำมันพืช
- น้ำปลา
- ซีอิ้วขาว
- น้ำมันหอย
- น้ำตาลทราย
วิธีทำ
- นำปลาที่หั่นไว้มาคลุกกับแป้งที่เปียกนิดหน่อย
- ตั้งไฟ น้ำมันให้ได้ 1/3 ของภาชนะทอด ใช้ไฟปานกลางพอน้ำมันร้อน นำปลาลงทอดให้สุกเหลืองกรอบ ตักพักไว้
- นำกะเพราเด็ดใบ ล้างให้สะเด็ดน้ำ (จนแห้ง) นำลงทอด ในน้ำมันทอดปลา ให้กรอบ พักไว้
- ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันเล็กน้อย นำพริกชี้ฟ้า กระเทียม พริกขี้หนูบุบลงผัดพอหอม ใส่พริกแกงเผ็ด นำปลาที่ทอดไว้แล้วลงผัดคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรุงรสชาติตามชอบ รสชาติจะออกหวานนำ ใส่ใบกะเพรา(ที่ยังไม่ทอด) ลงผัดให้เข้ากัน
- ตักใส่จาน โรยหน้าด้วยกะเพรากรอบ
ต้มยำน้ำใสปลาทูใบกะเพรา
เครื่องปรุง
- ปลาทูสด 4-5 ตัว
- ข่าหั่นเป็นแว่นๆ 4-5 แว่น
- ตะไคร้หั่นเป็นท่อน บุบพอแตก 1 ต้น
- ใบมะกรูด 5 ใบ
- ใบกะเพรา 1 กำมือ
- พริกขี้หนูบุบพอแตก (ตามชอบ)
- พริกป่น (พอประมาณ)
- น้ำมะนาว (พอประมาณ)
- น้ำปลา (พอประมาณ)
- น้ำตาล (เล็กน้อย)
วิธีทำ
- ต้มน้ำให้เดือด ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และปลาทู
- ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆ ปรุงให้รสกลางๆ ก่อนค่อยปรุงเพิ่มได้
- ใส่ใบกะเพราลงไปแล้วปิดไฟ
สินค้าที่น่าสนใจ
ต้นโรสแมรี่เลื้อย
ต้นหญ้าหวาน|
69฿Original price was: 69฿.59฿Current price is: 59฿.ต้นเปปเปอร์มินต์ (Peppermint)
ต้นกะเพราแดง
ต้นพริกขี้หนู
ต้นสะระแหน่
ต้นวอเตอร์เครสเขียว
ต้นผักชีฝรั่ง
ต้นจิงจูฉ่าย
ต้นกระชายขาว
ต้นวอเตอร์เครสแดง
เมล็ดพันธุ์กะเพราแดง
เมล็ดพันธุ์โหระพา
เมล็ดผักสลัดบิ๊กเรดโอ๊ค
เมล็ดพันธุ์กะเพราป่า
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกท้อ
เมล็ดพันธุ์คะน้ายอด
เมล็ดพันธุ์แมงลัก เจียไต๋
เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ
เมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม
เมล็ดพันธุ์บวบงูสเน็กกี้
เมล็ดพันธุ์ผักกะหล่ำปลี
ไตรซาน ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม
สารชีวภัณฑ์เมทาซาน เมทาไรเซียม แอนิโซเพลีย
ชีวภัณฑ์บูเวริน บูเวเรีย บัสเซียน่า
น้ำส้มควันไม้ ทีพีไอ สูตรพรีเมียมโกลด์ ไร้กลิ่น
ไลซินัส พาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส
ไลท์นิ่งค์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส
ลาร์มิน่า บาซิลลัส ซับทิลิส
พีสมอส เอสทีมซุปเปอร์พีท (ตรานกเงือก)
บทความที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️
ปลูกแวววิเชียรให้ออกดอกทั้งปี
การบำรุงแวววิเช...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
เทคนิคการปลูกแววมยุราอย่างมืออาชีพ
เคล็ดลับการปลูก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น
ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน
มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ดอกเดซี่ ดอกมากาเร็ต และดอกคัตเตอร์(แอสเตอร์)ต่างกันอย่างไร
ดอกไม้ยอดนิยม ข...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ทำไมผักแพงในฤดูฝน?
ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู
ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️