เคล็ดลับการปลูกผักชีให้มีทานประจำ

เคล็ดลับการปลูกผักชีให้มีทานประจำ

แหล่งกำเนิดผักชีไทย

  • ชื่อสามัญ : Coriander
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coriandrum sativa Linn.
  • ชื่ออื่น : ภาคกลางเรียกว่า ผักชี ภาคเหนือเรียกว่า ผักหอมป้อม ผักหอม ผอม ภาคอีสานเรียกว่า ผักหอมน้อย นครพนมเรียกว่า ผักหอม
  • ถิ่นกำเนิด : ประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

นอกจากนี้แล้ว ผักชีในไทยยังมีอีกหลายชนิด 👉4ชนิดผักชีที่นิยมใช้ในครัว

ลักษณะทางพฤษกศาสตร์ของผักชี

ผักชีเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ภายในกลวง และมีกิ่งก้านที่เล็ก

ปลูกผักชีควรปลูกฤดูไหน?2

ปลูกผักชีสามารถปลูกได้ทั้งปี แต่การปลูกในแต่ละฤดูให้ลักษณะผักชีที่ต่างกัน

การปลูก3

ผักชีเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุสั้นคือประมาณ 40 – 60 วัน ลำต้น ราก ใบ ก้าน ใบ ดอก และเมล็ดมีกลิ่นหอม

  • ผักชีเป็นผักที่มีระบบรากตื้นการเตรียมดิน โดยขุดหรือไถพลิกดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร
  • ตากดินไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืชต่างๆ แล้วพรวนย่อยดินให้แตกเป็นก้อนเล็ก
  • ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากับดินและปรับหน้าดินให้เสมอ
  • นำผลมาบดให้แตกเป็นสองซีก
  • แช่น้ำประมาณ 2-3 ชั่วโมง เอาขึ้นมาผึ่งลมให้แห้ง
  • เคล้ากับทรายหรือขี้เถ้าทิ้งไว้ จนเมล็ดเริ่มงอกจึงนำไปหว่านในแปลง

หมายเหตุ*การเอาเมล็ดไปผึ่งลมให้แห้ง แล้วเอาไปคลุกกับทราย วิธีนี้ป้องกันเมล็ดพันธุ์จากพวกมด และแมลงอื่นๆ

  • ก่อนปลูกต้องรดน้ำให้ทั่วแปลง นำเมล็ดที่เตรียมไว้มา หว่านลงบนแปลงปลูกที่ได้เตรียมไว้ กลบด้วยดินละเอียดบางๆ แล้วคลุมด้วยฟาง หรือหญ้าแห้งอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันต้นอ่อนจากแสงแดดและรักษาความชื้นของผิวดิน
  • หรือจะปลูกโดยวิธีโรยเป็นแถวบนแปลง ให้แต่ละแถวห่างกัน 20-30 เซนติเมตร แล้วทำการถอนแยกให้เหลือระยะระหว่างต้นประมาณ 10-20 เซนติเมตร หลังจากหว่านเสร็จแล้วต้องรดน้ำให้ชุ่ม
  • ผักชีเป็นผักที่ต้องการน้ำมากแต่ไม่ชอบน้ำขัง
  • ควรให้ประมาณน้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (อย่าให้น้ำมากจนโชกเกินไป)
  • ข้อควรระวังในการปลูกในฤดูฝน: ผักชีถ้าถูกน้ำหรือฝนมากๆ มักจะเน่าง่าย
  • สำหรับวัชพืชที่ขึ้นในระยะแรกควรรีบ กำจัดโดยเร็วโดยใช้มือถอน อย่าปล่อยให้ลุกลามเพราะวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำ และอาหารจากผักชี
  • ต้นผักชีที่ไม่ชอบแดดมาก ควรรับแดดในช่วงเช้า ในช่วงหน้าร้อนจัดๆๆ ควรหาสแลนเพื่อทำการบังแดด ไม่ให้โดยแดดจัด

วิธีการดูแลและการบำรุง4

การใส่ปุ๋ยบำรุงผักชี

การบำรุงแบบอินทรีย์

  • ผักชีเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวันๆละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น อย่าให้มากจนแฉะเกินไป ในช่วงฤดูฝนอาจลดปริมาณการให้น้ำลงได้
  • หมั่นใส่ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักชีวภาพ ทุก 7 วันครั้ง โรยบางๆให้ทั่วทั้งแปลง พร้อมฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ 1 ช้อน แกง ผสม น้ำเปล่า 10 ลิตร ใส่ตามรอบการใส่ปุ๋ย
  • ฉีดพ่นน้ำสกัดสมุนไพรจากสะเดา ป้องกันและกำจัดเพลี้ย ในช่วงระบาด หรือ ฉีดพ่นทุก 5-7 วันครั้ง

การบำรุงแบบอินทรีย์ผสมเคมี

การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกรองพื้นตอนเตรียมดินก่อนปลูก เมื่อผักชีแตกใบแล้ว ถ้าจะเร่งให้งามเร็วก็ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ประมาณ 15-30 กรัม ผสมน้ำ 1 ปีบ ฉีดพ่นในแปลงให้ทั่ว

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

การเก็บผักชี
  • ผักชีเริ่มเก็บเกี่ยวได้ เมื่อต้นมีอายุประมาณ 30-45 วัน
  • ก่อนการเก็บเกี่ยวควรรดน้ำ ภายในแปลงให้ชุ่มเสียก่อน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเก็บเกี่ยว จากนั้นถอนด้วยมือ จับที่บริเวณส่วนโคน ออกแรงดึงขึ้นมาเบาๆพร้อมราก จากนั้นนำไปล้างดินที่ติดอยู่ออก ตัดตกแต่ง ใบเหลือง หรือ ใบเสียออก
  • นำไปผึ่งลมให้แห้งเล็กน้อย อย่าให้เปียกแฉะน้ำมากเกินไป อาจทำให้ต้นเน่าเสียเร็วขึ้น

เทคนิคการเก็บต้นผักชีในตู้เย็นให้อยู่ได้นาน

การเก็บผักชีให้อยู่ได้นาน
  • เด็ดแยกใบอ่อนและก้านแก่พร้อมด้วยราก ล้างและแช่น้ำประมาณ 5 นาที ให้ผักชีสดชื่นขึ้น หลังจากแช่น้ำแล้วนำมาสะเด็ดน้ำในตะกร้า จากนั้นนำกล่อง พลาสติกใส่อาหาร เอาทิชชูอย่างหนาที่ใช้สำหรับในครัวมารองก้นกล่องและนำ ผักชีส่วนใบอ่อนมาเรียงปิดฝา แล้วนำเก็บเข้าตู้เย็น (ชั้นผักหรือชั้นแช่ธรรมดา ก็ได้)
  • ส่วนรากผักชีนำใส่กล่องหรือถุงพลาสติกแช่แข็ง หรือถ้าจะให้สะดวกก็นำมาตำกับกระเทียมและพริกไทย ปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ลงกล่องเก็บแช่แข็ง

โรคและแมลงศัตรูของผักชี 2

โรคเน่าที่ใบและโคน

วิธีป้องกันได้

โรคใบไหม้

วิธีป้องกันได้
  • โดยการใช้สารชีวภัณฑ์บาซิลลัส ซับทีลีส(Bacillus subtilis) ใช้สำหรับป้องกันและกำจัด โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคใบไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคเมล็ดต่างในไม้ผล ได้แก่ โรครากเน่าโคนน่า ในส่วนของ พืชผักได้แก่ โรคแอนแทรคโนสในพริก ในผักกินใบเช่น คะน้า ได้แก่โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อรา เป็นต้นใช้แบบเคมี ในกรณีที่มีอาการมาก
  • ใช้แบบเคมี ในกรณีที่มีอาการมาก กำจัดโดยการฉีดพ่นสารมาเน็บ เช่นไดแทนเอ็ม22, แมนเซทดี , แคปเทน เช่น ออร์ไธไซด์ ในอัตราตามคำแนะนำที่ฉลาก

เพลี้ยระบาดในต้นผักชี

วิธีป้องกันได้
  • ใช้สารชีวภัณฑ์เชื้อราบูเวเรีย บัสเซียน่า (Beauveria bassiana) ซึ่งเป็นเชื้อราที่มีประโยชน์ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูด ใช้ป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน
  • ใช้แบบเคมี ในกรณีที่มีอาการมาก สามารถป้องกันกำจัดได้โดยใช้คาร์บาริล เช่น เซฟวิน คาร์โบซัลแฟน เช่น พอสซ์ อัตราตามคำแนะนำที่ฉลากผสมน้ำฉีดให้ทั่วหากจำเป็น

คุณค่าทางอาหารของผักชี

ใบผักชี 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

  • โซเดียม 46 มิลลิกรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม
  • เส้นใย 3 กรัม
  • โปรตีน 2 กรัม
  • แคลเซียม 91 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 37 มิลลิกรัม
🫘shop เมล็ดผักชี
สรรพคุณของผักชี

สรรพคุณของผักชี

  • ทั้งต้นช่วยเป็นยาละลายเสมหะ แก้หัดหรือผื่น ขับเหงื่อขับลม ท้องอืดท้อง เพื่อ ด้วยการนำเอาต้นที่แห้งประมาณ 10 – 15 กรัม หรือเอาต้นสดๆ 60 – 150 กรัม นำไปต้มกับน้ำ หรือคั้นเอาเฉพาะน้ำและดื่ม
  • ถ้าใช้ภายนอกให้ตำพอก หรือ ดื่มเอาน้ำชะล้าง ผลช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร แก้หัด แก้ปิด ริดสีดวงทวาร โดยการนำเอาผลแห้งบดเป็นผงทานหรือต้มกับน้ำ แต่ถ้าใช้ ภายนอกให้เอาไปต้ม นอกจากนี้ยังดับกลิ่นคาวเนื้อ

ข้อควรระวังในการทานผักชี

  • อย่าทานมากจนเกินไป เพราะจะทําให้กลิ่นตัวแรงและตาลาย

บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️

ปลูกแวววิเชียรให้ออกดอกทั้งปี

การบำรุงแวววิเช...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

เทคนิคการปลูกแววมยุราอย่างมืออาชีพ

เคล็ดลับการปลูก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น

ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน

มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ทำไมผักแพงในฤดูฝน?

ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู

ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน, นิดดา หงษ์วิวัฒน์, ทวีทอง หงส์วิวัฒน์, สุภาพรรณ เยี่ยมชัยภูมิ , สำนักพิมพ์แสงแดด, 2550, หน้า 149
  2. คู่มือการวางแผน…เพาะปลูกผักฝืนฤดูให้รวย อ.อภิชาติ ศรีสอาด และอัมพา คำวงษา , นาคา อินเตอร์มีเดีย, 2556, หน้า 54-55
  3. 49 สมุนไพรใกล้ตัว สารพัดรักษาโรค, ณัฎฐา พรอำนาจ , ณ ดา สำนักพิมพ์ , 2537, หน้า 136-140
  4. คู่มือการเพาะผักอินทรีย์, อ.อภิชาติ ศรีสอาด และ เกรียงไหร ยอดชมภู , นาคา อินเตอร์มีเดีย, 2555, หน้า 68-69
Anndagarden ฝากกด like เพจด้วยนะคะ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆจากเรา

สินค้าที่น่าสนใจ

บทความที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️

ปลูกแวววิเชียรให้ออกดอกทั้งปี

การบำรุงแวววิเช...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

เทคนิคการปลูกแววมยุราอย่างมืออาชีพ

เคล็ดลับการปลูก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น

ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน

มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ทำไมผักแพงในฤดูฝน?

ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู

ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️