แหล่งกำเนิดของมะเขือเทศ
- มะเขือเทศมีชื่อสามัญ Tomato ชื่อวิทยาศาสตร์ Lycopersicon essulentum Mill. อยู่ในตระกูลไซลานาซิอี้ (Solanaceae) พืชที่อยู่ในตระกูลนี้นอกจากมะเขือเทศแล้วยังมีพืชอีกหลายชนิด เช่น มันฝรั่ง ยาสูบ พริก มะเขือ เป็นต้น
- มะเขือเทศมีถิ่นกำเนิดในประเทศแม็กซิโก
- นอกจากนี้มะเขือเทศชื่ออื่นๆ เช่น ภาคเหนือ มะเขือส้ม, ภาคอีสาน มะเขือเครือ มะเขือน้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นของมะเขือเทศ
หลังจากที่ลำต้นงอกโผล่พ้นดินแล้ว ในระยะแรกๆ ของการเจริญเติบโต ลำต้นจะกลม อ่อนเปราะ แต่เมื่อมีการเจริญเติบโตมากขึ้นก็จะแข็งแรงและเป็นเหลี่ยม ส่วนกิ่งก้านสาขาก็จะมีการแตกออกจากลำต้นเรื่อยๆ และอาจมีขนาดเท่ากับลำต้นเดิมได้
ดอก
มีขนาดเล็กสีเหลืองสดใส ประกอบด้วยกลีบดอกชั้นใน 5 กลีบ และกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ลักษณะการเกิดจะเกิดจามข้อของลำต้นเป็นช่อๆ โดยที่ช่อดอกหนึ่งๆ จะมีดอกประมาณ 4-5 ดอก ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสิ่งแวดล้อม
ผล
รูปร่างขนาดและสีของผลไม่แน่นอน สุดแล้วแต่พันธุ์ รูปร่างของทรงผลมีตั้งแต่ ผลกลมไปจนถึงผลรี สีของผลก็มีตั้งแต่เหลืองจนถึง เหลืองเข้ม ขนาดมีตั้งแต่เล็กจนไปถึงใหญ่
เมล็ด
มีลักษณะคล้ายรูปไข่ แบน เปลือกที่หุ้มเมล็ดมีขนละเอียดสั้นๆ สีน้ำตาลอ่อนปกคลุมอยู่ทั่วไป ส่วนความยาวของเมล็ดมีตั้งแต่ 3-5 มิลลิเมตร และในแต่ละผลนั้นจะมีจำนวนเมล็ดขึ้นอยู่กับขนาดผล
ราก
เมล็ดที่เริ่มงอกจะปรากฏส่วนของราก เป็นเส้นเล็กๆ สีขาว โผล่ออกมาจากส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ด หลังจากนั้นก็หยั่งลึกลงไปในดิน รากของมะเขือเทศเป็นระบบรากแก้ว
มะเขือเทศเป็นผักหรือผลไม้
ถ้าจำแนกตามพฤกษศาสตร์: มะเขือเทศจัดเป็นผลไม้ เพราะมีเมล็ดและผลเติบโตจากดอกของต้นมะเขือเทศ
- ผลที่มีเมล็ดซึ่งงอกจากรังไข่ของพืชดอก หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผลไม้มีวิธีการแพร่เมล็ดของพืช
- ผลไม้ทางพฤษศาสตร์จะมีเมล็ดอย่างน้อยหนึ่งเมล็ดและเติบโตจากดอกของพืช
ดังนั้นมะเขือเทศจึงจัดอยู่ในกลุ่มผลไม้เพราะมีเมล็ดและเติบโตจากดอกของต้นมะเขือเทศ
👉อ่านเพิ่ม🍅10 สรรพคุณของมะเขือเทศที่ดีต่อร่างกาย
7 รูปทรงต่างๆของมะเขือเทศ
เคยสังเกตไหมว่า มะเขือเทศมีรูปร่างมากมาย ถ้าจะลองแยกดูแล้วมีรูปร่างมากถึง 7 แบบ ดังนี้
- แบบกลม (round)
- แบบทรงรี (Oval)
- แบบทรงกระบอก (cylinder)
- แบบลูกแพร์ (pear-shaped)
- แบบลูกพลัม (plum-shaped)
- แบบลูกฟักทอง (Pumpkin -shaped)
- แบบรูปหัวใจ (Heart-shaped)
ชนิดของมะเขือเทศ
การเลือกปลูกมะเขือเทศให้เหมาะสมกับพื้นที่ๆจะปลูก หากมีพื้นที่จำกัดควรเลือกที่พันธุ์ที่มีขนาดกะทัดรัด
- เลือกชนิดที่เหมาะกับพื้นที่ๆปลูก มี 2 แบบ คือ แบบทอดยอด กับ ไม่ทอดยอด
1.มะเขือเทศแบบไม่ทอดยอด (Determinate tomato plants) พวกมะเขือเทศผลเล็ก ดูแลง่ายโรคแมลงไม่ค่อยรบกวน เก็บเกี่ยวผลได้เร็ว ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี
บางสายพันธุ์สามารถปลูกได้นอกฤดูกาลแล้วยังให้ผลผลิตได้ตามปกติ เช่นพันธุ์สีดา เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันไปทั่ว มีลักษณะผลกลม เมื่อผลแก่จะมีสีส้มแดง ถ้าแก่จัดสีจะแดงเข็มยิ่งขึ้น เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ทนต่ออากาศร้อนหรืออุณหภูมิสูง จึงปลูกในช่วงอากาศแห้งแล้ง เป็นพันธุ์ที่ติดผลดก เป็นต้นทรงพุ่มสูง 70-100 เซนติเมตร การเจริญเติบโตของต้นเป็นพุ่มกว้าง แตกกิ่งสาขามากมาย กิ่งก้านค่อนข้างแข็งแรง จึงปลูกกันแบบไม่ต้องทำค้าง
2. มะเขือเทศแบบกิ่งทอดยอด หรือทอดยอด (Indeterminate tomato plants) มักเป็นมะเขือเทศที่มีลักษณะผลปานกลาง ถึงใหญ่ และไม่ค่อยทนต่อโรคและแมลง ค่อนข้างจะดูแลยาก เนื่องจากไม่ค่อยทนต่อสภาพแวดล้อมหรือสภาพอากาศร้อนๆ นัก และมักมีโรคต่างๆกวนเสมอ
5 ชนิดมะเขือเทศที่นิยมปลูกในไทย
1. มะเขือเชอรี่ Cherry tomato
- ลักษณะผลค่อนข้างกลม เป็นที่ชื่นชอบของคนรักมะเขือเทศทุกที่ ด้วยพันธุ์สีแดง ส้ม เหลือง และม่วง มะเขือเทศเหล่านี้เป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหาร เพิ่มสีสันและรสชาติให้กับมื้ออาหาร มะเขือเทศเชอรี่ที่มีรสหวานและรสเปรี้ยวสามารถนำมาประกอบอาหาร ย่าง ซอส และตากแห้งได้ และ แม้แต่รับประทานผลสดก็ได้
- รสชาติหวานและเปรี้ยว
- นิยมนำมาประกอบอาหาร ทานผลสด, ตากแห้งได้, นำไปปิ้งทาน, หรือทำสลัด
2.มะเขือเทศองุ่น Grape tomato
- มีรูปร่างค่อนข้างรียาว เหมือนผลองุ่น เช่น มะเขือเทศสีดา
- มะเขือเทศองุ่นเป็น มะเขือเทศขนาดพอดีคำมีรูปร่างรียาว เหมือนองุ่น และผลโดยทั่วไปจะเนื้อแน่นกว่ามะเขือเทศเชอรี่และมีเนื้อสัมผัสมากกว่า สำหรับรสชาตินั้น มะเขือเทศองุ่นส่วนใหญ่มีรสชาติของมะเขือเทศที่เข้มข้นซึ่งมีความสมดุลระหว่างความหวานกับกรด
- นิยมนำมาทำ สลัด และ ทานสด
3. มะเขือเทศลูกท้อ (Plum tomato) เช่นมะเขือเทศซีซัน และ มะเขือเทศลูกท้อ
- บางทีเรียกว่ามะเขือเทศโรมา เป็นมะเขือเทศประเภทหนึ่งที่ควรปลูกหากคุณต้องการทำซอสและซอสมะเขือเทศ มะเขือเทศพลัมส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีปลายทู่หรือแหลม พวกมันมีปริมาณน้ำน้อยกว่าสเต็กเนื้อหรือมะเขือเทศเชอรี่ ผนังหนากว่า และเนื้อสัมผัสแบบเนื้อ
- นิยมทำอาหาร ทำซอสมะเขือเทศ, ทำซุปมะเขือเทศ, สลัด, พาสต้า
4. มะเขือเทศเถาว์(Tomato on the vine) เช่น sweet princess
- บางครั้งเรียกว่า compari tomato หมายถึงมะเขือเทศสดชนิด โดยทั่วไปจะอยู่รวมกันเป็นกระจุกโดยมีเถาติด
- ลูกผสมเหล่านี้มีสีแดงเข้ม ความเป็นกรดต่ำ รสหวานจัด และเนื้อสัมผัสที่ชุ่มฉ่ำ
- นิยมนำมาทำอาหาร เช่น เอาไปอบย่างเกลือ, เผา , ทำซุป , ทำแซนวิส
5. มะเขือเทศบีฟสเต็ก(Beef steak tomato)
- ในเมืองไทยที่เห็นปลูกคือ มะเขือเทศฟักทอง (pumpkin shaped tomato) คือมีรูปร่างเหมือนฟักทองขนาดเล็ก
- มีรสหวาน, เนื้อหนา, ฉ่ำน้ำ
- นิยมทำอาหารได้หลายแบบ เช่นใส่ใน แซนวิช , ทำสลัด
วิธีการปลูกมะเขือเทศให้งาม
เตรียมเมล็ดพันธุ์และการเพาะกล้า
การปลูกมะเขือเทศนิยมปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ดเนื่องจากใช้ระยะเวลาในการเพาะต้นกล้าไม่นานและสามารถคัดต้นกล้าที่แข็งแรงที่ในปลูกได้
- เตรียมเมล็ดพันธุ์และการเพาะกล้า การเตรียมเมล็ดพันธุ์สามารถใช้ผลสุกของสายพันธุ์ที่ต้องการด้วยการบี้ผลมะเขือเทศให้แตกเพื่อนำเมล็ดสดมาเพาะในกระบะปลูก หรือแปลงเพาะเมล็ดที่เตรียมไว้ หรือนำเมล็ดพันธุ์ไปหมักใส่ถึง 12-24 ชั่วโมง ก่อนนำไปล้างจะทำให้เนื้อที่หุ้มเมล็ดหลุดออกง่าย จากนั้นนำไปผึ่งลมในร่ม 3-4 วัน แล้วจึงนำไปเพาะในพื้นที่ที่เตรียมไว้ หรือซื้อเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการจากท้องตลาด
การเพาะเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศมี 3 แบบ
1.เพาะในกระบะเพาะ
- เพาะในกระบะเพาะ นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการจำนวนต้นกล้าไม่มากนัก การเพาะกล้าด้วยวิธีใช้ดินน้อย เราสามารถตากดินที่ใล้เพาะก่อนประมาณ 3-4 สัปดาห์ เพื่อกำจัดเชื้อโรค หรือใช้ดินที่ไม่เคยปลูกพืชมาก่อนเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีเชื้อโรคในดินก่อนปลูก เพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรคที่เกิดขึ้นในระหว่างปลูก
- กระบะเพาะเมล็ดควรมีขนาด 45×60 ซม. ลึกไม่เกิน 10 ซม. และมีรูระบายน้ำได้ ใส่ดินที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน และปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรับผิวหน้าดินให้เรียบ แล้วโรยเมล็ดเป็นแถวประมาณ 5-7 ซม. แล้วกลบเมล็ดด้วยแกลบหรือทรายบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม แล้วใช้สารป้องกันกำจัดแมลงผสมน้ำรดอีก 1 รอบ เพื่อป้องกันมดคาบเมล็ดไปกิน
- เมื่อเมล็ดเริ่มงอกให้ใช้สารเคมีป้องกันเชื้อรา เช่นแคปแทนหรือเมนเซทดีในอัตรา 4 ช้อนแกง/ น้ำ 1 ปี๊บ
2. แปลงเพาะ นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าจำนวนมาก สำหรับขนาดของแปลงเพาะควรมีขนาดประมาณ กว้าง 1 เมตร x ยาว ตามพื้นที่ๆต้องการปลูก และปริมาณที่ต้องการปลูก ควรเว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 50 เซนติเมตร
- การผสมดินด้วยปุ๋ยคอกและทรายในอัตราส่วน 1:3
- การเพาะเมล็ดโดยการโรยเมล็ดเป็นแถวห่างกัน 10 เซนติเมตร
- เมื่อต้นกล้ามีอายุ 20-25 วันหรือมีใบจริง 2-3 ใบ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้ แปลงเพาะควรมีตาข่ายหรือผ้าดิบคลุมเพื่อป้องกัน แดด ลม ฝน ,โดยเปิดผ้าคลุมแปลงให้ได้รับแสงแดดในช่วงเช้าได้จนถึง 3 โมงเช้า และเปิดอีกครั้งเมื่อ 4 โมงเย็น ในกรณีที่หาวัสดุหรือผ้าคลุมแปลงไม่ได้ และไม่ใช่ฤดูผนอาจจะใช้ฟางข้าวใหม่มาคลุมบางๆ หลังจากโรยเมล็ดและกลบ เมื่อเมล็ดงอกจึงค่อยๆดึงเอาฟางออกบ้าง เพื่อให้ต้นกล้าโผล่พันฟางได้ง่าย และต้นกล้าแข็งแรงมากขึ้น
3.ถาดเพาะกล้า เป็นวิธีเพาะกล้าที่สะดวก โดยเตรียมเมล็ดมะเขือเทศลงในถาดเพาะกล้าพลาสติก เมื่อกล้ามีอายุได้ประมาณ 20 วัน จึงเตรียมย้ายปลูกลงแปลง โดยใช้มือบีบด้างล่างสุดของถาดหลุม ต้นกล้าจะหลุดออกจากถาดพร้อมดินปลูก ทำให้ต้นกล้ามะเขือเทศไม่ได้รับการกระทบกระเทือนมาก
สภาพอากาศที่เหมาะสม
- ฤดูหนาว: เป็นฤดูที่เหมาะสมกับการปลูกมะเขือเทศ อุณหภูมิประมาณ 18-28 องศาเซลเซียส จะทำให้ต้นแข็งแรงและติดผลมาก
- ฤดูฝน และ ฤดูร้อน เป็นฤดูที่มะเขือเทศมีผลผลิตต่ำ และเกิดโรคได้ง่ายเพราะอากาศร้อน และอากาศชื้น
ปัญหาของมะเขือเทศในฤดูฝน คือ ความชื้นทำให้เกิดโรคได้ง่าย
ข้อปฏิบัติในการปลูกมะเขือเทศฤดูฝน
- เลือกปลูกในพื้นที่สูงและระบายน้ำได้ดี
- ดินมีสภาพเป็นกลาง ควรเป็นดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี
- ใช้พันธุ์ที่เหมาะสมคือผลดกในฤดูฝนและร้อน
- มีการดูแลอย่างถูกต้อง เช่นการเตรียมดิน ใส่ปุ๋ย ฉีดพ่นสารป้องกันศัตรูพืชอย่างถูกต้อง และบ่อยครั้งเป็นพิเศษ และต้องป้องกันเชื้อราสูงกว่าปกติ
สภาพดิน
- ดินที่เหมาะสมกับการปลูกมะเขือเทศคือดินร่วน มีอินทรียวัตถุสูงและสามารถระบายน้ำได้ดี
- มีค่าความเป็นกรดด่างประมาณ PH 4.5-6.8
- Tips: การปลูกมะเขือเทศไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมหรือในพื้นที่ๆปลูกพืชตระกูลเดียวกันกับมะเขือเทศ เช่น พริก หรือ มะเขือ เพราะอาจจะยังหลงเหลือเชื้อโรคต่างๆสะสมอยู่ในดิน เช่น โรคโคนเน่า ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายในมะเขือเทศ
💧การให้น้ำ
มะเขือเทศเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงผลเริ่มแก่ หลังจากนั้นควรลดการให้น้ำผล เพราะอาจทำให้ผลมะเขือเทศแตกได้
- การรดน้ำมากเกินไปจำทำให้ดินชื้น ซึ่งจะทำให้เกิดเชื้อราเป็นสาเหตุของโรคโคนเน่า
- แต่หากขาดน้ำและให้น้ำอย่างกะทันหันจะทำให้ผลแตกได้เช่นกัน
การใส่ปุ๋ย
นอกจากการใช้ปุ๋ยคอกลองก้นหลุมเวลาปลูกแล้วยังต้องใส่ปุ๋ยเสริมด้วย เพื่อเพิ่มผลผลิตและเสริมคุณภาพให้สูงขึ้น ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน
- สภาพดินเหนียว ควรเพิ่มธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียมเท่ากัน และฟอสฟอรัสมีอัตราสูง เช่นสูตร 12-24-12 หรือ 15-30-15
- ดินร่วน ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูงขึ้นแต่ไม่ควรสูงกว่าฟอสฟอรัส เช่น 10-20-15
- ดินทราย เป็นดินที่ไม่ค่อยมีธาตุโพแทสเซียม จึงควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูงกว่าตัวอื่น เช่น สูตร 15-20-20 , 13-13-21 และ 12-12-17
นอกจากนี้แล้วการปลูกมะเขือเทศนอกฤดูกาลจะต้องใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เนื่องจากมะเขือเทศจะใช้ธาตุไนโตรเจนมากในช่วงสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูง หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ โดยการแบ่งใส่ 3 ครั้ง ดังนี้
- ครั้งที่ 1 : หลังจากย้ายปลูก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 10 กก./ไร่
- ครั้งที่ 2 : อายุ 20-25 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่
- ครั้งที่ 3 : อายุ 40 -60 วันใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 30 กก./ไร่
การปักค้างให้มะเขือเทศ
สำหรับพันธุ์มะเขือเทศที่ทอดยอด หรือพันธุ์เลื้อยจำเป็นต้องทำการปักค้าง โดยการใช้ไม้หลักปักค้างต้นก่อนระยะออกดอก หรือเมื่อมะเขือเทศอายุประมาณ 20-25 วันหลังย้ายปลูก ด้วยวิธีการใช้เชือกผูกกับลำต้นไขว้กันเป็นเลข 8
ทำไมต้องทำค้างปลูกมะเขือเทศ?
- สะดวกต่อการดูแลรักษา
- ฉีดยาป้องกันแมลงได้ทั่วถึง
- ผลไม่เประเปื้อนพื้นดิน
- เก็บเกี่ยวได้ง่าย
การทำการค้าง
ลำดับ1
เตรียมไม้ไผ่หรือไม้รวก 3 ท่อน/ต้น เชือกสำหรับมัด
ลำดับ2-4
ปักไม้ไผ่หรือไม้รวก 3 ท่อนลงดิน โดยทำมุมเอียง 45 องศา
ลำดับ5-6
ใช้ไม้พาดขวางระหว่างค้าง มัดลำต้นมะเขือเทศกับค้างให้ยอดเลื้อยขึ้นไปตามแนวของค้าง
วิธีที่1:
- เตรียมไม้ไผ่หรือไม้รวก 3 ท่อน/ต้น เชือกสำหรับมัด เริ่มทำค้างหลังย้ายกล้าลงแปลง 20-25 วัน
- ปักไม้ไผ่หรือไม้รวก 3 ท่อนลงดิน โดยทำมุมเอียง 45 องศา
- รวบปลายไม้ให้เอนเข้าหากัน
- ผูกเชือกมัดปลายไม้เป็นกระโจมให้แน่น
- ใช้ไม้พาดขวางระหว่างค้าง ช่วยเพิ่มความแข็งแรง
- มัดลำต้นมะเขือเทศกับค้างให้ยอดเลื้อยขึ้นไปตามแนวของค้าง
วิธีที่2: การทำค้างในกระถางต้นไม้แบบง่ายๆ
ในกรณีที่มีพื้นที่จำกัด สามารถทำค้างในกระถางดังนี้
วัสดุ: 1.ไม้รวกหรือไม้ไผ่แห้ง 3 อัน 2.เชือกไว้มัดไม้รวก
วิธีทำ
- นำกระถางที่ปลูกต้นกล้ามะเขือเทศมาปักไม้ทั้ง3 ด้าน
- ให้ไม้รวกทำมุมเอียงเสมอกันและมันยอดไม้ทั้ง3 รวมเข้าด้วยกัน
- ในกรณีที่วางกระถางบนพื้นดินหรือทราย ให้ปักไม้รวกด้านปลายที่ติดกับพื้นดินปักไปในพื้นดินเพื่อยึดให้แน่นขึ้น
- ในกรณีที่วางกระถางปลูกบนพื้นปูน ให้นำเชือกมัดไม้รวกพันรอบปากกระถางดังรูป เพื่อให้ไม้รวกทั้ง3 ยึดติดกัน
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยว 70-90 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
🥦ผักคู่หูและผักคู่อริของมะเขือ
👉คลิกดู VDOผักคู่หูของมะเขือเทศ
โหระพา ถั่วลิสง กุยช่าย
ผักคู่อริของมะเขือเทศ
ผักชีฝรั่ง มันฝรั่ง โรสแมรี่ และพืชตระกูลเดียวกับมะเขือเทศ เช่น มะเขือพันธุ์ต่างๆ และ พริก เพราะจะทำให้เกิดโรคได้ง่าย
สินค้าที่น่าสนใจ
ต้นโรสแมรี่เลื้อย
ต้นหญ้าหวาน|
69฿Original price was: 69฿.59฿Current price is: 59฿.ต้นเปปเปอร์มินต์ (Peppermint)
ต้นกะเพราแดง
ต้นพริกขี้หนู
ต้นสะระแหน่
ต้นวอเตอร์เครสเขียว
ต้นผักชีฝรั่ง
ต้นจิงจูฉ่าย
ต้นกระชายขาว
ต้นวอเตอร์เครสแดง
เมล็ดพันธุ์กะเพราแดง
เมล็ดพันธุ์โหระพา
เมล็ดผักสลัดบิ๊กเรดโอ๊ค
เมล็ดพันธุ์กะเพราป่า
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกท้อ
เมล็ดพันธุ์คะน้ายอด
เมล็ดพันธุ์แมงลัก เจียไต๋
เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ
เมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม
เมล็ดพันธุ์บวบงูสเน็กกี้
เมล็ดพันธุ์ผักกะหล่ำปลี
ปุ๋ยมูลไส้เดือน100% (vermicompost)
ปุ๋ยน้ำอินทรีย์น้ำทิพย์ชโลมพืช
ช่องาม อีเอ็ม(EM)
ไตรซาน ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม
สารชีวภัณฑ์เมทาซาน เมทาไรเซียม แอนิโซเพลีย
ชีวภัณฑ์บูเวริน บูเวเรีย บัสเซียน่า
น้ำส้มควันไม้ ทีพีไอ สูตรพรีเมียมโกลด์ ไร้กลิ่น
ไลซินัส พาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส
บทความที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️
19 ของเหลือในครัว ทำปุ๋ยได้ง่ายแบบโฮมเมด
ดอกบานชื่นเป็นดอกไม้มงคลทานได้
ดอกบานชื่น มีคว...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ฟักทองพันธุ์ต่างๆและวิธีปลูก
ฟักทองยอดนิยมพั...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ปลูกแวววิเชียรให้ออกดอกทั้งปี
การบำรุงแวววิเช...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
เทคนิคการปลูกแววมยุราอย่างมืออาชีพ
เคล็ดลับการปลูก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น
ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน
มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️