แหล่งกำเนิดของกระเจี๊ยบแดง
- ชื่อสามัญของกระเจี๊ยบแดง : Roselle, Red Sorrel, Jamaica Sorrel
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa Linn.
- ชื่ออื่น : ภาคกลางเรียกว่า กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว
- ภาคใต้เรียกว่า ผักเก่งเค็ง ส้มเก่งเค็ง
- ภาคเหนือเรียกว่า ส้มตะเลงเดรง ส้มปู ส้มพอเหมาะ
- ภาคอีสานเรียกว่า ลัมพอดี เชียงใหม่เรียกว่า แกงแดง ระนองเรียกว่า ใบส้มม่า
- มีถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดียและมาเลเซีย
ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์
กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชล้มลุกทรงพุ่ม เป็นพืชอายุสั้นอายุประมาณ 1 ปี สูงประมาณ 1-2 เมตร
ใบ
ใบเดี่ยวรูปรีแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันบ้างก็มีหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ขนาดใบกว้างและยาวใกล้เคียงกัน
ดอก
ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลือง กลางดอกเป็นสีแดงเลือดนก เมื่อแก่เต็มที่ กลีบเลี้ยงจะติดกัน
ลำต้น
ตั้งตรง ผิวเรียบ สีแดงอมม่วง กิ่งก้าน สีม่วงแดง
ผล
ผลรูปร่าง ปลายผลยาวแหลม มีกลีบเลี้ยงสีแดง ห่อหุ้ม ภายในผลมีเมล็ดสีดำเป็นจํานวนมาก
การปลูกกระเจี๊ยบแดง
แสงแดด
ชอบแสงแดด
สภาพอากาศ
ชอบอากาศร้อนชื้น
รดน้ำ
ชอบน้ำ ทนแล้งได้ดี
ดินชุ่มชื้น
ดินร่วนระบายน้ำได้ดี และถ่ายเทอากาศได้ดี
ปลูกกระเจี๊ยบแดงฤดูไหน? ได้ผลผลิตดี
⛈️ฤดูฝนเป็นฤดูที่เหมาะสมกับการเริ่มปลูกกระเจี๊ยบที่สุด เพราะจะทำให้ได้ต้นที่โต และออกดอกมาก
- กระเจี๊ยบแดงควรปลูกในช่วง กรกฏาคม-สิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนเพื่อให้เจริญได้ 120 วัน ,
- จะเริ่มออกดอก ประมาณพฤศจิกายน
- และก็เก็บเกี่ยวประมาณ ธันวาคม-มกราคม
- ระยะเวลาเก็บกินใบประมาณ 70-80 วัน
- ระยะเวลาออกดอกประมาณเดือนที่ 4
- ระยะเก็บฐานรองดอกประมาณเดือนที่ 6
แต่อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะปลูกต้นกระเจี๊ยบในฤดูอื่นไม่ได้ สามารถปลูกได้ แต่ต้นกระเจี๊ยบแดงจะออกดอกในช่วงที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน ซึ่งถ้าเริ่มปลูกในช่วงหน้าหนาวก็อาจจะออกเร็วกว่าปกติ แต่จะได้ต้นทรงพุ่มเตี้ยเล็ก ไม่ใหญ่มากนั้น
การเตรียมดิน
กระเจี๊ยบชอบดินร่วนซุย มีความชื้นสูง ในระยะแรก แต่ต้องมีการระบายน้ำให้ดีพอสมควร การเตรียมดิน โดยการไถดิน ไม่ต้องลึกนัก ประมาณ 20 ซม. ก็เพียงพอ แล้วพรวนย่อยดินขวางร่องไถอีก 1 ครั้ง เก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง เพื่อช่วยให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น
การปลูกกระเจี๊ยบนิยมปลูกจากเมล็ดพันธุ์
1.การปลูกกระเจี๊ยบเพื่อทานในครัวเรือน
- แช่เมล็ดกระเจี๊ยบในน้ำ ทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้เมล็ดงอกง่ายขึ้น หรือเตรียมต้นกล้ากระเจี๊ยบเพื่อปลูก
- เตรียมดินที่ร่วนซุย และระบายน้ำได้ดี พร้อมมีอินทรีย์วัตถุ ในถาดหรือกระถางปลูก
- นำไม้เสียบลูกชิ้นเจาะดินให้เป็นรู และหย่อนเมล็ดกระเจี๊ยบ 2-3 เมล็ดต่อหลุม ในถาดหรือกระถางปลูกที่เตรียมไว้
- ระยะนี้ให้ปลูกในที่ร่ม และรดน้ำเช้าเย็น
- ประมาณ 3-7วัน จะเริ่มเห็นต้นอ่อน และเมื่ออายุ 1 เดือน สามารถย้ายลงในกระถาง 6 -8 นิ้ว เพื่อให้รากแผ่ขยายได้ง่ายขึ้น
- ควรบำรุงด้วยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทุก 15-30 วัน
SHOP👉คลิกดูเพิ่ม
2.การปลูกกระเจี๊ยบเพื่อการค้า
ปลูกเป็นแถว ใช้ระยะระหว่างแถว 50-75 ซม. ระยะระหว่างต้น 50 ซม. โดยหยอดเมล็ดหลุมละ 3 เมล็ด แล้วถอนแยกหลังจากต้นกล้าขึ้นแล้ว เหลือหลุมละ 2 ต้น โดยวิธีนี้จะมีจำนวนต้นอยู่ในเกณฑ์ 4500-12,500 ต้น/ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินปลูก ดินไม่ดีก็ปลูกถี่ ดินดีก็ปลูกห่างหน่อย พื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดประมาณ 300-500 กรัม
ข้อควรระวัง: อย่าหยอดเมล็ดให้ลึกมากนัก ควรอยู่ในระดับ 3-5 ซม. จากผิวดิน และไม่ควรปลูกในสภาพดินแห้ง ฝนแล้ง ต้นกล้าจะอ่อนแอ แคระแกร็นได้
การดูแลรักษาต้นกระเจี๊ยบแดง
หลังจากปลูกแล้ว ถ้ามีฝนหรือดินมีความชื้นพอสมควร กระเจี๊ยบจะเริ่มงอกประมาณ 3-7 วัน และเมื่ออายุ 15 วัน ควรทำการถอนเหลือหลุมละ 2 ต้น และ ควรหยอดเมล็ดในหลุมที่ไม่มีต้นงอกในระหว่างอายุ 10 วันหลังปลูก ควรถอนแยกขณะดินมีความชื้นสูงหรือ หลังฝนตกเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต้นกล้าข้างเคียง
การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงต้น ใบ ดอก ทุก 15-30 วัน ซึ่งมีหลายแบบในท้องตลาด ทั้งปุ๋ยแบบน้ำ และ แบบแห้ง
การใส่ปุ๋ยเคมี
- หลังถอนแยกแล้ว และลงแปลงปลูก ไม่มีวัชพืชรบกวนก็สามารถให้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ครั้งเดียวแล้วพรวนดินรอบหลุมปลูก
การกำจัดวัชพืช
- โดยปกติกระเจี๊ยบแดงจะเจริญเติบโตเร็วพอสมควร การกำจัดวัชพืชขึ้นอยู่กับแปลง ถ้ามีน้อยก็ใช้จอบกำจัดเพียง 1 ครั้งก่อนใส่ปุ๋ย ถ้ามีวัชพืช ขึ้นหนาแน่นอาจต้องกำจัดครั้งที่ 2 เมื่ออายุประมาณ 40-60 วัน
โรคและแมลง
โรคโคนเน่าเกิดจากความเชื้อราในดิน เกิดกับกระเจี๊ยบแดงบางแห่ง จะระบาดมากในที่ร้อนชื้น ควรหลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำที่เดิม ถ้ามีโรคระบาดและระบายน้ำไม่ให้ขังแปลงปลูกจะช่วยลดการระบาดของโรคได้
- แมลงที่เป็นศัตรูสำคัญ ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น ระบาดมากในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วง จะดูดกินน้ำเลี้ยงใบกระเจี๊ยบแดง ทำให้ใบหงิกงอบูดเบี้ยว
- วิธีการป้องกัน ฉีดสารเคมีอโซดริน หรือ ไดเมทไฮเอท ฉีด 1-2 ครั้ง จะช่วยลดการทําลายลง
การเก็บเกี่ยว
กระเจี๊ยบแดงจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ เมื่ออายุประมาณปลายเดือนที่ 5 -6 ซึ่งอยู่ราวๆ ปลายตุลาคม – กลางพฤศจิกายน (เริ่มปลูกกรกฏาคม)
จะตัดกิ่งหรือต้นกระเจี๊ยบที่มีกลีบดอก และกะเปาะเมล็ดรวมกัน ระยะนี้เมล็ดจะแก่ในกระเปาะควรแยกกลีบกระเจี๊ยบออกจากกระเปาะเมล็ดในระยะยังสดอยู่ การแยกกลีบใช้ด้ามร่มที่มีปลายเสี้ยมประมาณ 4-5 หลักกระทุ้งที่ฐานดอก กระเปาะเมล็ดจะถูกดัน ติดปลายเสี้ยม
ส่วนกลีบสดจะติดอยู่รอบด้ามร่ม นำไปตากแดดให้แห้ง 3-5 วัน สำหรับกระเปาะเมล็ดก็เช่นกัน เมื่อแห้งก็สามารถแยกเมล็ดในกระเปาะออกมาได้
คุณค่าทางโภชนาการ2
ใบกระเจี๊ยบแดง 100 กรัม ให้ พลังงาน 43 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
- เส้นใย 3 กรัม
- แคลเซียม 9 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม
- เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 10,833. IU.
- วิตามินบี1 0.11 มิลลิกรัม
- วิตามินบี2 0.24 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 44 มิลลิกรัม
ผลกระเจี๊ยบแดง 100 กรัม ให้ พลังงาน 39 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
- เส้นใย 4 กรัม
- แคลเซียม 174 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม
- เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 183 IU
- วิตามินบี1 0.11 มิลลิกรัม
- วิตามินบี2 0.24 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 10 มิลลิกรัม
สรรพคุณของกระเจี๊ยบแดง
ใบและยอด
ใบและยอด ช่วยละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบาย ใช้บำรุงธาตุ นำมาตำพอกฝี และต้มเอาน้ำ มาล้างแผล
กลีบเลี้ยง
กลีบเลี้ยง ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันการจับตัวของไขมัน ในเส้นเลือด ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว ลดการกระหายน้ำ ทำให้สดชื่น
สารอาหารที่สำคัญในกระเจี๊ยบมีอะไรบ้าง
เมนูจากกระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง เป็นฐานรองดอกที่มีรสชาติเหมือนผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
การบริโภค :
- ผลอ่อนและยอดอ่อนนำมาต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก
- ยอดอ่อน และใบอ่อนมีรสเปรี้ยว นำไปแกงส้ม
- กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงนำไปต้ม กับน้ำตาลเป็นน้ำกระเจี๊ยบ ทำแยมเยลลี่ และแต่งสีอาหาร
🍷น้ำกระเจี๊ยบแดง3
ส่วนผสม
- ดอกกระเจี๊ยบแห้งหรือสด 20 กรัม (7 ช้อนคาว)
- น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว) (ใช้สารให้ความหวานหรือน้ำตาลเทียมแทนได้)
- น้ำเปล่าสะอาด 200 กรัม (14 ช้อนคาว)
- เกลือเสริมไอโอดีน 2 กรัม (2/5 ช้อนชา)
วิธีทำ (แบบที่1)
- นำดอกกระเจี๊ยบแห้งหรือสดก็ได้ล้างทำความสะอาดใส่หม้อต้มจนเดือด แล้วลดไฟลงอ่อนๆ เคี่ยวเรื่อยๆ จนน้ำเป็นสีแดงเข้มข้น
- ช้อนเอาดอกกระเจี๊ยบออกจากหม้อ นำน้ำเชื่อมและเกลือใส่ลงไป ปล่อยให้เดือดอีก 1 นาที ยกลง เติมรสตามชอบ
- นำขวดแก้ว ล้างทำความสะอาด ต้มในน้ำเดือด 20 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคนำน้ำกระเจี๊ยบที่ได้มากรอก ปิดจุกให้แน่น เก็บไว้ในตู้เย็น
- เมื่อต้องการดื่ม นำออกมาเติมในน้ำแข็งทุบ หรือปั่นกับน้ำแข็ง หรือผสมนํ้าเย็น ทีมได้ทันที
วิธีทำ (แบบที่ 2)
- นำดอกกระเจี๊ยบแห้งมาตากแดดให้แห้งสนิท บดเป็นผงให้ละเอียด
- นำผงกระเจี๊ยบ 1 ช้อนชา ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย หรือ 1 แก้ว (250 ซี.ซี.) ดื่มเป็นเครื่องดื่มร้อน
🧉แยมกระเจี๊ยบแดง
ส่วนผสม
- ผลกระเจี๊ยบ (ประมาณ 60 ดอกจะให้แยมขนาดกลาง 2 ขวด)
- น้ำตาล
- มะนาว
วิธีทำ
- เก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบในปริมาณที่ต้องการแล้วล้างในถัง
- แยกกลีบเลี้ยงสีแดงออกจากฝักเมล็ด แล้วล้างให้สะอาดแยกกัน
- วางฝักเมล็ดลงในหม้อขนาดกลาง เทน้ำลงให้เหนือระดับฝักเมล็ดในหม้อ ประมาณ 1 นิ้ว นำไปต้มและปรุงเป็นเวลา 30 นาที
- กรองและเก็บน้ำจากฝักเมล็ด
- นำ กลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบใส่ในน้ำที่ต้มจากฝักเมล็ด(ซึ่งมีเพคตินอยู่ด้วย)
- ต้มประมาณ 20 นาที
- ตวงปริมาตรของเนื้อที่ปรุงสุก เพื่อจะได้กะปริมาณของน้ำตาลที่จะใส่
- ใส่น้ำตาลทรายขาวในปริมาณเท่ากันแยมที่ต้มสุกแล้ว โดยการตวงปริมาณที่ได้จากข้อ 7 จากที่ทำตวงแยมที่ต้มสุกแล้วที่ยังไม่ใส่น้ำตาล(ถ้าตวงได้ 3 ถ้วยตวง ก็จะเติมน้ำตาลทรายลงไป 3 ถ้วยตวงเช่นกัน หรือจะลดปริมาณลงให้หวานน้อยลงตามต้องการ)
- เติมน้ำมะนาวหนึ่งลูกหรือมากกว่านั้นตามชอบ
- นำไปต้มจนแยมข้น
- เทลงในขวดที่ผ่านการต้มฆ่าเชื้อแล้ว และนำไปตากแห้งก่อน
- หลังจากที่แยมเย็นลง จึงนำเทใส่ภาชนะ แล้วให้นำเก็บไว้ในตู้เย็น
ข้อมูลอ้างอิง
- การปลูกกระเจี๊ยบแดง, ณรง เหล่าโชติ และเนาวรัตน์ เสริมศรี , นิตยสารกสิกร ปีที่ 60 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม -มิถุนายน 2530 , หน้า 221-223
- ผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน, นิดดา หงษ์วิวัฒน์, ทวีทอง หงส์วิวัฒน์, สุภาพรรณ เยี่ยมชัยภูมิ , สำนักพิมพ์แสงแดด, 2550 หน้า18
- น้ำผักผลไม้บำบัดโรค ล้างพิษ หุ่นดี, อังค์วรา , บริษัท ไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด(มหาชน), 2554 หน้า 84-85
สินค้าที่น่าสนใจ
ต้นโรสแมรี่เลื้อย
ต้นหญ้าหวาน|
69฿Original price was: 69฿.59฿Current price is: 59฿.ต้นเปปเปอร์มินต์ (Peppermint)
ต้นกะเพราแดง
ต้นพริกขี้หนู
ต้นสะระแหน่
ต้นวอเตอร์เครสเขียว
ต้นผักชีฝรั่ง
ต้นจิงจูฉ่าย
ต้นกระชายขาว
ต้นวอเตอร์เครสแดง
เมล็ดพันธุ์กะเพราแดง
เมล็ดพันธุ์โหระพา
เมล็ดผักสลัดบิ๊กเรดโอ๊ค
เมล็ดพันธุ์กะเพราป่า
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกท้อ
เมล็ดพันธุ์คะน้ายอด
เมล็ดพันธุ์แมงลัก เจียไต๋
เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ
เมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม
เมล็ดพันธุ์บวบงูสเน็กกี้
เมล็ดพันธุ์ผักกะหล่ำปลี
ปุ๋ยน้ำอินทรีย์น้ำทิพย์ชโลมพืช
ช่องาม อีเอ็ม(EM)
ไตรซาน ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม
สารชีวภัณฑ์เมทาซาน เมทาไรเซียม แอนิโซเพลีย
ชีวภัณฑ์บูเวริน บูเวเรีย บัสเซียน่า
น้ำส้มควันไม้ ทีพีไอ สูตรพรีเมียมโกลด์ ไร้กลิ่น
ไลซินัส พาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส
ไลท์นิ่งค์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส
บทความที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️
19 ของเหลือในครัว ทำปุ๋ยได้ง่ายแบบโฮมเมด
ดอกบานชื่นเป็นดอกไม้มงคลทานได้
ดอกบานชื่น มีคว...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ฟักทองพันธุ์ต่างๆและวิธีปลูก
ฟักทองยอดนิยมพั...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ปลูกแวววิเชียรให้ออกดอกทั้งปี
การบำรุงแวววิเช...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
เทคนิคการปลูกแววมยุราอย่างมืออาชีพ
เคล็ดลับการปลูก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น
ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️
มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน
มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️