3 ชนิดผักบุ้งที่นิยมทานในไทย

3 ชนิดผักบุ้งที่นิยมทานในไทย

ผักบุ้งเป็นผักที่นิยมทานในไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีใยอาหารสูง และวิตามินซีที่ช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้มีราคาไม่แพง หาง่าย และสามารถหาทานได้ทุกฤดูในไทย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากเมนู

ชนิดของผักบุ้งในไทยมี 3 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และ สารอาหารที่แตกต่างกัน รวมทั้งนำมาประกอบเมนูอาหารที่ต่างๆกัน

ผักบุ้งจีน

ชนิดของผักบุ้งจีน

ผักบุ้งจีนเป็นผักที่ปลูกเพื่อบริโภคส่วนของใบและลำต้น สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น  ผักบุ้งไฟแดง ทำสุกี้ยากี้

พันธุ์ผักบุ้งจีนที่ปลูกในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ

  • ชนิดใบแคบ มีลักษณะใบเรียวเหมือน ปลายหอก คือปลายใบแหลมเรียวสามารถปรับตัวได้ ดีในสภาพที่ดินมีความชื้นสูง
  • ชนิดใบกว้าง มีรูปร่างคล้ายหัวใจ มีส่วนกว้างและส่วนยาวใกล้เคียงกัน ให้ผลผลิตมากกว่าชนิดใบแคบถึง 2 เท่า คุณค่าทางอาหารสูง

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งจีน

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งจีน น้ำหนัก 100 กรัม ให้ พลังงาน 23 แคลอรี่

  • ไขมัน                0.3 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต  2.4 กรัม
  • เส้นใย              0.9 กรัม
  • โปรตีน            2.7 กรัม
  • แคลเซียม       51 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส      31 มิลลิกรัม
  • เหล็ก              3.3 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ       6.536 I.U.
  • วิตามินบี 1    0.02 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2    0.14 มิลลิกรัม

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อสามัญ: Chinese water convolvulus

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea aquatica Forsk.

ชื่ออื่น:ผักทอดยอด

ถิ่นกำเนิดของ: ผักบุ้งจีนอยู่ในเอเชียเขตร้อน

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของผักบุ้งจีน

  • ผักบุ้งจีนเป็นพืชล้มลุก ปลูกในแปลง ลำต้นตั้งตรงมีข้อ ปล้องไม่ทอดยอดตามพื้นดิน
  • ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ ใบเล็กเรียวยาว ออกตามข้อปล้อง
  • ดอกหลายสี: สีขาว สีม่วงหรือโคนสีชมพูปลายขาว
  • ผลมีลักษณะกลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล เมล็ดสีดำ
  • ชอบดินที่มีความชื้นสูง ร่วนซุยระบายน้ำได้ดี
  • ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี
  • ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
  • ระยะเวลาตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 25-30 วัน

🛒เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนคลิก▶️

+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
+
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

ผักบุ้งไทย

ชนิดของผักบุ้งไทย

ผักบุ้งไทยเป็นผักบุ้งที่มีใบใหญ่กว่า และลำต้นใหญ่กว่าผักบุ้งจีน และมียางมากกว่าผักบุ้งจีน มีก้านที่กรอบ นิยมปลูกเพื่อนำอาหารเช่น ไส่แกงเทโพ แกงส้ม แกงตัว ผัดพริกแกงกับหมู ใส่เย็นตาโฟ กินเป็นผักสด ลวก หรือลวกราดกะทิกินกับน้ำพริก

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งไทย

น้ำหนัก 100 กรัม ให้พลังงาน 24 แคลอรี่

  • ไขมัน                 0.3 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต   2.6 กรัม
  • เส้นใย               0.9 กรัม
  • โปรตีน             2.6 กรัม
  • แคลเซียม        19 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส       53 มิลลิกรัม
  • เหล็ก               1.5 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ         1.597 I.U.
  • วิตามินบี 1    0.11 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2    0.17 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี          14 มิลลิกรัม

ข้อมูลทั่วไป

  • ชื่อสามัญ: Thai Water Convolvulus
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ lpomoea aquatica Forsk. / Ipomoea reptans Poir
  • ชื่ออื่นๆ ของผักบุ้งไทย คือ ผักทอดยอด, ผักบุ้งแก้ว, ผักบุ้งเย็นตาโฟ (กรุงเทพฯ),กำจร (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ,โหนเตาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
  • ถิ่นกำเนิดของผักบุ้งไทยอยู่ในเอเชียเขตร้อน

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของผักบุ้งไทย

  • ผักบุ้งไทยเป็นพืชน้ำล้มลุก ต้นเลื้อยทอดไปตามน้ำ ลำต้นอวบกรอบ สีเขียว มีข้อปล้อง
  • ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ
  • ดอกผักบุ้งมีหลายสี สีขาว สีม่วงหรือโคนสีชมพูปลายสีขาว
  • ผลมีลักษณะกลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาลเมล็ดสีดำ
  • ให้ผลผลิตมากในช่วงฤดูฝน
  • ขึ้นได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป
  • ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือเถา

ผักบุ้งนา (ผักบุ้งแดง)

ชนิดของผักบุ้งนา

มีลักษณะก้านสีแดง นิยมนำผักบุ้งนามาประกอบอาหารเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก กินกับส้มตำ

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งนา

น้ำหนัก 100 กรัม ให้พลังงาน 30 แคลอรี่

  • ไขมัน                0.9 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต   2.2 กรัม
  • เส้นใย                1.3 กรัม
  • โปรตีน              3.2 กรัม
  • แคลเซียม        30 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส       45 มิลลิกรัม
  • เหล็ก               1.2 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ        5.834 I.U.
  • วิตามินบี 1    0.08 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2    0.09 มิลลิกรัม

ข้อมูลทั่วไป

  • ชื่อสามัญ Swamp cabbge, Swamp cabbage white stem, Water morning glory
  • ผักบุ้งนามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea aquatica Forsk
  • ชื่ออื่นๆ ของผักบุ้งนา คือ ผักบุ้งไทย (ภาคกลาง) ,ผักทอดยอด (กรุงเทพฯ), ผักบุ้งแดง กำจร (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), โหนเดาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
  • ถิ่นกำเนิดของ ผักบุ้งนาอยู่ในเอเซียเขตร้อน

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของผักบุ้งนา

ผักบุ้งนาเป็นพืชน้ำล้มลุก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามน้ำ หรือบนพื้นดิน

  • ลำต้นและยอดมีสีแดงปนเขียว ลำต้นเรียวเล็ก มีข้อปล้อง ยอดอ่อนกรอบ ยอดแก่ค่อนข้างเหนียว
  • ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหัวใจ (ขนาดของใบโดยประมาณ กว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร)
  • ดอกผักบุ้งมีหลายสี สีขาว สีม่วงหรือโคนสีชมพูปลายสีขาว
  • ผลมีลักษณะกลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล เมล็ดสีดำ
  • ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือเถา
  • ผักบุ้งนาขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่จะเจริญงอกงามได้ดี ในบริเวณที่มีน้ำมากๆ
  • ให้ผลผลิตมากในช่วงฤดูฝน
  • ปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย

ควรรู้วิธีการปลูกซึ่งปลูกไม่ยาก และมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกาย

Anndagarden ฝากกด like เพจด้วยนะคะ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆจากเรา

สินค้าที่น่าสนใจ

บทความที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆเพิ่มเติม▶️

ปลูกแวววิเชียรให้ออกดอกทั้งปี

การบำรุงแวววิเช...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

เทคนิคการปลูกแววมยุราอย่างมืออาชีพ

เคล็ดลับการปลูก...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

จิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

ผักใบเขียวปลูกง...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ปลูกช็อกโกแลตมิ้นต์ กลิ่นเย้ายวนหอมเย็น

ปลูกช็อกโกแลตมิ...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

มาร์จอแรมสมุนไพรรสละมุน

มาร์จอแรมเป็นสม...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ทำไมผักแพงในฤดูฝน?

ควรเลือกทานและป...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️

ผักร็อกเก็ตปลูกได้ทุกฤดู

ผักร็อกเก็ตดูเห...อ่านเพิ่ม▶️▶️▶️